Tops 10 Low-code platform

10 Low-Code Platform ยอดนิยมที่น่าสนใจในปี 2022

admin

11 May 2022 | 2 นาทีอ่าน

Low-Code Platform 2022 ที่น่าสนใจในปี 2022 มีอะไรบ้าง ? ทุกวันนี้เรามีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่แสนทันสมัยเข้ามาช่วยให้การใช้ชีวิตของเราง่ายขึ้นในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะในแวดวง Programming ตอนนี้ก็มีนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้การสร้างโปรแกรมที่เคยเป็นเรื่องซับซ้อนกลายเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญด้านการเขียนโปรแกรมมากมายด้วย Low-Code platform 

ความน่าสนใจของ Low-Code platform คือทำให้เราสามารถสร้างนวัตกรรมหรือแพลตฟอร์มของตัวเองสำหรับการบริหารจัดการและปรับปรุงธุรกิจแบบที่ไม่จำเป็นต้องหาทีมงานมาพัฒนามากมาย แถมยังประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายด้วย 

ในไม่กี่ปีให้หลังมานี้เอง Low-Code platform ก็เป็นที่นิยมอย่างล้นหลาม แต่วันนี้ Talance จะมาแนะนำ ตัวอย่าง Low-Code Platform ทั้งหมด 10 Platform ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น Low-Code platform ที่ดีที่สุดในปี 2022 ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

Visual Lansa

Visual Lansa เป็น IDE Low-Code platform ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถสร้าง Responsive applications ที่ตอบสนองกับทั้ง Window และเบราว์เซอร์ต่าง ๆ รวมถึง AWS สำหรับโทรศัพท์มือถือและ Azure Cloud architectures 

Feature :

  • เป็น  IDE Low-Code platform ที่มีจุดเด่นในด้านของการพัฒนา Desktop ,Web และแอปพลิเคชันบนมือถือ
  • มีระบบ UI ที่ยอดเยี่ยมทำให้ใช้งานง่าย แถมยังประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
  • สามารถบริหารจัดการ Application Life Cycle ได้อย่างครบครัน ตั้งแต่ Testing, Deployment ไปจนถึง Integration
  • สำหรับชาว Dev เองก็สามารถแทรกโค้ดที่เขียนขึ้นมาเองเข้าไปได้

Appian 

Appian น่าจะถูกใจสาย Data Integration เพราะจุดเด่นของ Appian นั้นอยู่ที่คุณเขามี Native deployment tools มาให้ใช้ แถมยังสามารถใช้งานร่วมกับ DevOps integration ด้วย ส่วนใหญ่แล้ว Appian จะเหมาะกับการสร้างแอปพลิเคชั่น BPM สำหรับช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจ ซึ่งสามารถใช้ได้กับบริษัททุกขนาด

Feature :

  • สามารถลากเครื่องมือเข้ามาวางได้
  • มีบริการ AI ในตัว Platform
  • ใช้ในการรวบรวมข้อมูลขององค์กร ระบบ และ Web Service ได้ 
  • ให้บริการระบบ No code AI/ML ผ่านทาง Google Cloud, AWS, และ Microsoft Azure

Mendix

Menndix อาจจะเป็นชื่อที่คุ้นหูคุ้นตาหลาย ๆ คน เพราะพี่แกเป็น Low-Code platform ที่โด่งดังอยู่ในวงการมานานแสนนาน Mendix ถูกสร้างขึ้นมาในปี 2005 เพื่อใช้ในการทดสอบ สร้าง และ Deploy แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ซึ่งธุรกิจกว่า 4,000 รายก็วางใจในการใช้ Mendix มาตลอด ในปัจจุบัน Mendix ได้ประบมาใช้  model-driven engineering (MDE) 

Feature :

  • สะดวกสบายด้วย Agile management technology
  • มีเครื่องมือสำหรับ Visula Modeling
  • สามารถใช้ Components ซ้ำได้

OutSystems

OutSystems นั้นบอกเลยว่าขึ้นชื่อเรื่องความครอบคลุมและปลอดภัยมาก ๆ เพราะนอกจากจะช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สร้างแพลตฟอร์มของตัวเองได้หลายแนว OutSystems ยังมี Real-time performance dashboards ที่แสดงให้เห็นความเคลื่อนไหวของแพลตฟอร์มแบบเรียลไทม์ และมาตรการด้านความปลอดภัยที่แข็งแรงมากด้วย

Feature :

  • มีระบบ Real-time mornitoring ที่คอยรายงานความเคลื่อนไหวของแอปพลิเคชั่นแบบวิต่อวิ
  • ปรับขนาดได้อย่างเต็มที่ด้วย APIs
  • มีฟังก์ชันด้านความปลอดภัยแบบจัดเต็ม
  • ใช้งานระบบ DevOps ได้อย่างอัตโนมัติ

Zoho Creator

Zoho Creator เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักการตลาด โดยเฉพาะเรื่องของการผลิต Product สาย Customer Relationship และยังเป็นที่รักสำหรับหลาย ๆ คน เพราะ Zoho Creator เป็นแพลตฟอร์มที่ค่อนข้าง User-Friendly ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านการเขียนโค้ดมากมายก็ใช้งานด้าน Visual ได้ แถมยังมีฟังก์ชั่นหลากหลายที่สามารถนำมาปรับแต่ง UI ได้ตามที่ต้องการ นอกจากนี้ผู้ใช้งานสามารถสร้างแอปพลิเคชันได้โดยการนำเข้าไฟล์ ฐานข้อมูล และข้อมูลที่เก็บไว้ใน Cloud ด้วย

Feature :

  • เร็วและยืดหยุ่น
  • มีเครื่องมือสำหรับ  AI-assisted migration 
  • สามารถสร้างแบบจำลองข้อมูล Visual และจัดโครงสร้างได้
  • มีระบบ AI-assisted อัตโนมัติ
  • มี Cross-functional analytics 

Kissflow

Kissflow เหมาะสำหรับการสร้างแพลตฟอร์มสำหรับบริหาร Workflow ที่จะทำให้องค์กรสามารถติดตามและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่น การดำเนินการสั่งงานหรืออนุมัติงานค้างโดยอัตโนมัติ ซึ่งเหมาะกับการใช้งานธุรกิจและอุตสาหกรรมทุกประเภท แถมยังเป็นมิตรกับผู้ใช้อีกด้วย

Feature :

  • ลาก Facilities ต่าง ๆ ไปวางใน Field ได้
  • สร้าง Form ให้เป็นดิจิทัลได้

Quickbase

Quickbase เป็น LCDP ในอุดมคติสำหรับการสร้างแพลตฟอร์มรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลเลยก็ว่าได้ เพราะแม้คุณจะไม่ได้มีความรู้การเขียนโค้ดมากมาย โดยเฉพาะการเขียนโค้ดแบบ Table-based programming ก็สามารถสร้างแอฟพลิเคชั่นในการใช้งานด้านนี้ได้อย่างง่ายดาย 

Feature :

  • รวม Solution ระบบ Cloud ที่มีความโดดเด่นอย่าง Quickbase รวมโซลูชันระบบคลาวด์ที่โดดเด่น เช่น NetSuite, Salesforce, Box และ Gmail
  • มีระบบรักษาความปลอดภัยที่หนาแน่น

Salesforce Lightning

ใครที่กำลังมองหาแพลตฟอร์มสำหรับการขายและสร้างความประทับใจให้ลูกค้า แน่นอนว่า Salesforce Lightning จะตอบโจทย์คุณได้ดีที่สุด เพราะ Salesforce Lightning เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการสร้างแอปพลิเคชั่นระดับองค์กร ซึ่งสามารถช่วยตั้งแต่การบริหาร Workflow ภายใน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี นับว่าเป็นแพลตฟอร์มที่น่าสนใจทีเดียว

Feature :

  • เหมาะสำหรับ Mobile app
  • มี AI ช่วยในการสร้างและจัดการระบบ
  • ส่งเสริมความปลอดภัยอย่างหนาแน่น
  • สามารถเสนอแนวทางการขายที่มีประสิทธิภาพให้ได้

Microsoft Power Apps

Microsoft ก็มี Low-Code platform เป็นของตัวเองเหมือนกัน ซึ่งก็คือ Microsoft Power Apps ซึ่ง Pwer Apps ตัวนี้เหมาะกับการสร้างแพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจ ทำให้ Workflow ในการทำงานสะดวกมากขึ้นด้วยระบบ E-form ที่จะช่วยในเรื่องของการเก็บข้อมูลและการรายงานผลได้ในเวลาที่รวดเร็ว ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้งธุรกิจรายย่อยไปจนถึงองค์กรใหญ่ ๆ เลย 

Feature :

  • มีระบบเช็กสต็อคสินค้าด้วยบาร์โค้ด
  • มีระบบควบคุมงบประมาณ
  • เชื่อมต่อไปยัง Connector ต่าง ๆ และ Azure ได้
  • รวดเร็วและง่ายต่อการใช้งาน

Nintex

อีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่เหมาะสำหรับการสร้างระบบบริหาร Workflow คงหนีไม่พ้น Nintex ที่สามารถสร้างระบบจัดการ Workflow อัตโนมัติ ซึ่งนับได้ว่าเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงในยุค Digital Transformation ในองค์กรเลย ที่น่าสนใจคือ Nintex ได้รับผลตอบรับที่ดีมากจากผู้ใช้งาน อ้างอิงจากรายงาน ROI ในเชิงบวกขององค์กรต่าง ๆ มากกว่า 10,000 รายจากอุตสาหกรรมที่หลากหลาย

Feature :

  • เข้าถึงระบบ Cloud ได้ด้วย Nintex gateway
  • สามารถควบคุมการค้นหาข้อมูลได้
  • เชื่อมต่อกับ Microsoft Team ได้
  • มี Web Request Display

สรุป

10 Low-Code platform ทั้งหมดที่เราเอามาแชร์ให้ทุกคนก็มีฟีเจอร์ที่เป็นประโยชน์มากมายหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกแพลตฟอร์มไหนไปใช้ แน่นอนว่าการเลือกใช้แพลตฟอร์มที่เหมาะสมที่สุดอาจไม่ง่ายเพราะทุกวันนี้มี Low-Code platform  ให้เลือกใช้เต็มไปหมด แต่ให้ลองคำนึงถึงความต้องการของเราและธุรกิจดูว่าต้องการอะไรมากที่สุด แล้วค่อยเลือกแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์เรามากที่สุด

เรื่องสำคัญอีกอย่างที่ต้องนึกถึงคือ  Low-Code platform ไม่สามารถเข้ามาแทน Software Development ได้ทั้งหมด เพราะแม้เราจะมี  Low-Code platform เป็นเครื่องทุ่นแรงสำหรับการสร้างโปรแกรม แต่ในการดำเนินการสร้างระบบต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ จะต้องมีทีม Developer ดี ๆ ในการดูแล Software solution อยู่ดี ดังนั้นเราควรมองหา Low-Code platform ไม่ใช่เพื่อมาแทน Life-cycle ทุกอย่างในทีม แต่ให้เอามาปรับใช้เพื่อสร้างความสะดวกด้านเวลา ทรัพยากร งบประมาณ และช่วยแบ่งเบา Workload ของทีมให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บทความที่เกี่ยวข้อง

อัปเดต 11 เทรนด์การออกแบบ UX UI ให้โดดเด่น ในปี 2023

ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์มีส่วนสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างมาก จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยี เว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ขึ้นมากมาย

Jo

09 May 2023 | 2 นาทีอ่าน

30 อาชีพเสริม ปี 2566 ที่เหมาะสำหรับมนุษย์เงินเดือนโดยเฉพาะ !

อยากหารายได้เสริม อยากมีรายได้เพิ่มขึ้น “แต่ไม่รู้ว่าตัวเองควรทำอะไร” เป็นปัญหาของใครหลายคนที่ต้องการมองหางานเสริมทำนอกเ

Jo

10 Feb 2023 | 4 นาทีอ่าน

Gig Economy ทิศทางใหม่ของตลาดแรงงานที่บริษัทควรทำความเข้าใจ

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Gig Economy มาหลากหลายช่องทางตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังโควิด-19 ที่ตลา

admin

09 Jun 2022 | 1 นาทีอ่าน