gig economy thailand

Gig Economy ทิศทางใหม่ของตลาดแรงงานที่บริษัทควรทำความเข้าใจ

admin

09 Jun 2022 | 1 นาทีอ่าน

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Gig Economy มาหลากหลายช่องทางตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังโควิด-19 ที่ตลาดแรงงานภายในประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทำให้องค์กรต่าง ๆ เริ่มมองหาโซลูชั่นในการจ้างพนักงานชั่วคราวเข้ามาช่วยงานอย่างเร่งด่วน

หากใครอ่านมาถึงตรงนี้อาจจับประเด็นได้คร่าว ๆ แล้วว่าระบบเศรษฐกิจแบบ Gig เป็นอย่างไร แต่วันนี้ Talance จะพาคุณมาเจาะลึกให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น และเมื่ออ่านจบคุณจะสามารถเข้าใจได้แบบ end-to-end เลยทีเดียว

Gig Economy คืออะไร

Gig Economy หรือระบบเศรษฐกิจตลาดแรงงานเสรีที่เกิดขึ้นจากการจ้างงานแบบชั่วคราวหรืองานที่รับแล้วจบไป (a particular task or for a certain period of time) โดยส่วนใหญ่มักใช้กับพนักงานพาร์ทไทม์หรือฟรีแลนซ์ 

โดยเฉพาะช่วงปี 2019 ที่เกิดวิกฤตการณ์โควิด-19 ที่แพร่กระจายไปทั่วโลกและส่งผลให้มีการปลดพนักงานออกเป็นจำนวนมากทำให้คนออกมาทำงานอิสระกันมายากยิ่งขึ้นกลายเป็นฉนวนที่เร่งระบบเศรษฐกิจแบบ Gig ให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีเหตุการณ์ที่คล้ายกันอย่างวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ที่ทำให้พนักงานตกงานเป็นจำนวนมาก

การเติบโตของระบบเศรษฐกิจแบบ Gig ภายในประเทศไทยก็กำลังเติบโตไปในเชิงบวกอย่างมากในตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากการเปิดตัวเว็บไซต์และแพลตฟอร์มที่เป็นมิตรกับฟรีแลนซ์และพนักงานพาร์ทไทม์เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากให้ยกตัวอย่างที่เห็นภาพง่าย ๆ นั่นคือ “คนงานก่อสร้าง” นั่นเอง

ที่มาของ Gig Economy

จริง ๆ แล้วมาจากสองคำประกอบเข้าด้วยกันได้แก่ “Gig” และ “Economy” โดยคำว่า Gig มาจากคำแสลงของคำว่า งาน ที่มีการกำหนดช่วงเวลาที่ชัดเจนช่วงหนึ่ง (Project-based) 

ตั้งแต่ช่วง 1920 ที่นักดนตรีแจ๊ซไปเล่นตามงานคอนเสิร์ตต่าง ๆ ที่เรียกว่า play gig หรือ play concert นั่นเอง ส่วนคำว่า Economy ก็มีความหมายอย่างที่ทราบกันดีว่า “เศรษฐกิจ” 

แม้จะมีการเริ่มต้นมาจากนักดนตรีแจ๊สแต่ในช่วงเวลาต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงสายอาชีพไปตามช่วงเวลาโดยได้พัฒนาสู่กลุ่มคนที่ทำงานแบบใช้แรงงาน เช่น พาสุนัขไปเดินเล่น ขับรถส่งอาหาร แม่บ้านทำความสะอาด ก่อนที่จะขยับมาสู่กลุ่มอาชีพที่ทำงานทั้งใช้ความคิดหรือทักษะเฉพาะทางมากขึ้น และอยู่ในหลาย ๆ อุตสาหกรรมโดยมุ่งเน้นมาที่พนักงานแบบ High skill เช่น Developer, Consult, นักการตลาด และอื่น ๆ อีกมากมาย

งานเสรี + เศรษฐกิจ = ระบบเศรษฐกิจตลาดแรงงานเสรี

Gig Worker vs Freelance

Gig worker กับ Freelance แตกต่างกัน แต่ 1 คน สามารถเป็นได้ทั้งสองอย่าง โดยปัจจุบันต่างกัน “หลักๆ” ตรงที่ การหางาน (Custom acquisition) ซึ่ง Gig worker รับงานจาก Platform/Network เปรียบเสมือนเป็น ลูกจ้าง ที่ flexible ในแต่ละแพลทฟอร์ม รับงานมาทำและจบๆเป็นงานๆไป แต่ฟรีแลนซ์เปรียบเสมือนเจ้าของบริษัทตัวเอง (One-man business) ที่ต้องบริหารลูกค้าและหาลูกค้ามาเติมให้กับธุรกิจตัวเอง ขึ้นอยู่กับฟรีแลนซ์แต่ละคนใช้ช่องทางไหนในการหางาน

แม้ว่าในอดีตอาจจะมองว่า ต่างกันตรงที่ High Skill หรือ Low Skill หรือ Nature of Work ที่ปัจจุบันเรียกว่าการทำงานแบบ Remote หรือ Offline แต่ปัจจุบัน Gig worker มันอยู่ในหลายอาชีพมาก เช่น Developer, Content writer ซึ่งทักษะและการทำงาน ในปัจจุบันไม่ได้แตกต่างจากฟรีแลนซ์แล้ว

Gig Worker อยู่ในสายงานไหนบ้าง?

ฟรีแลนซ์และพนักงานพาร์ทไทม์มีอยู่ทั่วไปในทุกสายอาชีพทำให้การจำกัดความว่า Gig Worker อยู่ในสายอาชีพไหนเป็นเรื่องที่จะมองภาพได้กว้างขวางไปหน่อย อย่างไรก็ตามหากถามว่า Gig Worker ส่วนใหญ่มักอยู่ในสายอาชีพใดบ้างนั้นจะเป็นการมองภาพที่ง่ายกว่า

โดยวันนี้ Talance จะมานำเสนอสายงานและอาชีพยอดนิยม 5 อันดับแรกของชาว Gig Worker ให้ได้อ่านกัน

บัญชีและการเงิน 

หนึ่งในอาชีพยอดนิยมสูงสุดตลอดกาลของ Gig Worker เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่มักไม่จ้างพนักงานบัญชีเป็นพนักงานประจำขององค์กรเนื่องจากมักคิดว่า “งานบัญชีเป็นงานที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง” ก่อนที่จะจ้างพนักงานบัญชีเพื่อมาตรวจสอบเพื่อปิดงบประมาณประจำไตรมาสหรืองบประมาณประจำปี

การก่อสร้าง 

ไม่ว่าจะผ่านมากี่หลายสิบปีตลาดแรงงานก่อสร้างก็ยังคงชาว Gig Worker ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่อย่างที่ทราบกันดีว่า “แรงงานก่อสร้าง” มักไม่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนแต่มักได้รับเป็นรายวันหรือรายชั่วโมงแทน รวมถึงเรียกได้ว่า “จบงานหนึ่งครั้งก็รับเงินหนึ่งครั้ง” ทำให้อาชีพนี้ได้กลายเป็นอาชีพ Gig Worker ยอดนิยม

ศิลปะและการออกแบบ 

อีกหนึ่งสายงานที่ยอดนิยมไม่แพ้กันนั่นก็คือ “กราฟิกดีไซน์เนอร์” และ “นักวาด” ซึ่งรวมถึงนักออกแบบและนักเขียนอิสระด้วย ในปีที่ธุรกิจต่างต้องการช่วงชิงการตลาดอย่างเข้มข้น “ภาพ” และ “คำเขียน” ถือได้ว่าเป็นอาวุธสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจมีความโดดเด่นและอยู่เหนือคู่แข่งทางการตลาด 

งานเกี่ยวกับด้านการศึกษา 

ปัจจุบันเราได้เห็น Gig Worker มาในรูปแบบของติวเตอร์หรือผู้ช่วยอาจารย์เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการรับติวรายวิชาผ่านผู้เรียนแบบหนึ่งต่อหนึ่งหรือเป็นสถาบันติวเตอร์ที่เปิดรับติวเตอร์พาร์ทไทม์ ทำให้งานเกี่ยวกับด้านการศึกษาก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

โปรแกรมเมอร์และนักพัฒนา 

ขาดไม่ได้เลยกับโปรแกรมเมอร์ในยุคที่สตาร์ทอัพและธุรกิจแพลตฟอร์มมากมายกำลังรุ่งเรืองและได้เป็นยูนิคอร์น ปัจจุบันองค์กรและบริษัทต่าง ๆ เริ่มหันมาจ้างงานฟรีแลนซ์โปรแกรมเมอร์มากยิ่งขึ้นหลังจากวิกฤตการณ์โควิด-19 ทั้งนี้เพื่อลด long-term fix cost ที่เกิดขึ้น แม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ลดลงบ้างในช่วงเวลานี้แต่ยังมีการจ้าง Gig Worker อยู่เป็นจำนวนมาก

ทำไมถึงน่าสนใจ

หากถามว่าทำไมระบบเศรษฐกิจแบบ Gig ถึงน่าสนใจ หรือ อะไรคือสิ่งที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบ Gig มันตอบโจทย์บริษัทในยุคใหม่ เราควรมองกลับไปหาถึงแนวโน้มการจ้างงานในอนาคต

ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคระบาดโควิด-19 องค์กรได้ปรับตัวเพื่อให้ตอบโจทย์ต่องบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดมากยิ่งขึ้น โดยได้ lay-off พนักงานออกเป็นจำนวนมากเพื่อรักษารายจ่ายให้สอดคล้องกับรายได้ อย่างไรก็ตามปัญหาที่ตามมาคือการขาดพนักงานจำนวนมากทำให้องค์กรเริ่มมองหา Gig Worker มากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม Gig Worker ได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยงบประมาณที่ถูกกว่าการจ้างพนักงานประจำรวมถึงสามารถเลือกจ้างงานได้อย่างอิสระทำให้แม้จะผ่านช่วงการระบาดองค์กรยังคงเลือกทางเลือกในการจ้างงาน Gig Worker ต่อไป

Growth of the UK Gig Economy
ที่มา : StandOutCV

ทั้งนี้แนวโน้มของ Gig Worker ได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2016-2022 ทำให้สามารถสรุปคร่าว ๆ ได้ว่าพนักงานประจำเริ่มผันตัวมาเป็นพนักงานชั่วคราวมากยิ่งขึ้น โดยจากข้อมูลของ StandOutCV จะเห็นได้ว่า Gig Worker ของสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Gig Economy ตอบโจทย์หรือไม่

เชิงธุรกิจ : ช่วยประหยัดงบประมาณแบบ long-term fix cost เนื่องจากไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบผลประโยชน์แก้พนักงาน เช่น การลาป่วยและการประกันสุขภาพ และมักไม่ต้องจัดหาพื้นที่สำนักงาน อุปกรณ์ และการฝึกอบรมให้แก่พนักงาน ทั้งนี้ยังช่วยให้สามารถเลือกผู้เชี่ยวชาญได้ในราคาที่ต้องการ

เชิงคนทำงาน : จากมุมมองของคนทำงาน ระบบเศรษฐกิจแบบ Gig สามารถปรับปรุง work life balance และการทำงานได้เมื่อเทียบกับงานแบบเดิม ๆ โดยคนทำงานสามารถเลือกงานได้อย่างอิสระตามที่พวกเขาสนใจ ซึ่งให้โอกาสใหม่ ๆ รวมถึงเหมาะสมกับความชอบและตารางเวลาของพวกเขา โดยไม่ต้องถูกขังหรือต้องพึ่งนายจ้างคนเดียว

เชิงผู้บริโภค : ผู้บริโภคพบว่าระบบเศรษฐกิจดังกล่าวมีทางเลือกและความสะดวกมากขึ้น โดยพบว่าในหลายกรณีการบริการมีคุณภาพสูงแม้มีราคาที่ต่ำ นอกจากนี้ยังมีบริการที่ยืดหยุ่นมากขึ้นรวมถึงมีตัวเลือกมากขึ้นสำหรับผู้ให้บริการ

ข้อเสียที่ควรรู้

อย่างไรก็ตามแม้ว่าระบบเศรษฐกิจแบบ Gig จะมีความสำคัญในธุรกิจปัจจุบันอย่างมากแต่ก็ยังมีข้อเสียที่น่าสนใจ โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยขยายมุมมองขององค์กรต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

เชิงอรรถประโยชน์ : นี่อาจเป็นข้อเสียที่ใหญ่ที่สุด โดยทั่วไปแล้ว Gig Worker จะไม่มีสิทธิ์ได้รับการประกันสุขภาพหรือผลประโยชน์อื่น ๆ ที่พวกเขาจะได้รับในการทำงานเป็นพนักงานเต็มเวลา บริษัทมักไม่ต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำหรือค่าล่วงเวลาของพนักงานชั่วคราว

เชิงการทำงาน :  Gig Worker สามารถก่อกวนได้หากพนักงานไม่คุ้นเคยกับการจัดตารางเวลาของตนเอง ผู้ปฏิบัติงานที่ไม่มีประสบการณ์สามารถทำงานมากเกินไปได้อย่างง่ายดาย ซึ่งนำไปสู่การทำงานหนักเกินไปและความเหนื่อยหน่าย

เชิงความมั่นคง : แน่นอนว่า Gig Worker นั้นมีความไม่มั่นคงและรายได้ไม่คงที่ การมีงานทำเพียงพอที่จะรักษารายได้ให้มั่นคงนั้นเป็นความท้าทายในรูปแบบหนึ่ง

เชิงวัฒนธรรมการทำงาน : การจ้างพนักงานชั่วคราวที่เข้ามาในองค์กรทำให้ยากต่อการรักษาความสัมพันธ์ที่สม่ำเสมอระหว่างคนงาน นายจ้าง และลูกค้าในระยะยาว

การปรับใช้ร่วมกับองค์กร

การปรับใช้ Gig Economy สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ Process การจ้างแรงงานตั้งแต่หาคนหากองค์กรกำลังเผชิญหน้ากับจำนวนพนักงานที่ไม่เพียงพอหรือต้องการคนที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งองค์กรสามารถทำได้ด้วยตัวเองซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เวลายาวนานเท่ากับการหาพนักงานประจำ

หากต้องการปรับใช้ระบบเศรษฐกิจแบบ Gig ให้ Flow ที่สุดนั่นคือการค้นหาบุคลากรที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้งานต่าง ๆ ผ่านไปได้โดยไม่ติดปัญหาจำนวนมาก

ด้วยประสิทธิภาพการทำงานที่ตอบโจทย์กับองค์กรเป็นอย่างมากทำให้เมื่อจุดหนึ่งที่หมดสัญญากับ Gig Worker ทำให้บริษัทอาจต้องมองหาการจ้างงานในคุณภาพเดิมกับพนักงานประจำมากยิ่งขึ้น โดยบางองค์กรเลือกที่จะมอบสวัสดิการที่เพิ่มขึ้น เช่น ประกันสุขภาพหมู่ เงินค่าจ้างที่เพิ่มมากขึ้น หรือสวัสดิการลาพัก ซึ่งช่วยให้สามารถที่จะจ้าง Gig Worker ในรูปแบบฟรีแลนซ์ประจำได้แทนการจ้างงาน Full-time ได้

อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้ว Gig Worker มักมีกลุ่มหรือแพลตฟอร์มเป็นหลักเป็นแหล่งซึ่งทำให้องค์กรต่าง ๆ สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายในเวลาอันรวดเร็ว 

สรุป

ไม่ว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจแบบ Gig หรือ Gig Worker ล้วนแต่เป็นเทรนด์ที่น่าสนใจเป็นอย่างมากในอนาคตเนื่องจากตลาดแรงงานเสรีที่มีมากขึ้นและองค์กรไม่จำเป็นต้องสูญเสียเงินจำนวนมากหากเกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่คาดคิด ดังนั้นหากองค์กรคุณกำลังเผชิญหน้ากับสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ท้ายที่สุดแล้วระบบเศรษฐกิจแบบ Gig อาจเข้ามาตอบโจทย์และช่วยให้ผ่านพ้นด้วยโซลูชันต่าง ๆ ก็เป็นได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บทความที่เกี่ยวข้อง

อัปเดต 11 เทรนด์การออกแบบ UX UI ให้โดดเด่น ในปี 2023

ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์มีส่วนสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างมาก จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยี เว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ขึ้นมากมาย

Jo

09 May 2023 | 2 นาทีอ่าน

30 อาชีพเสริม ปี 2566 ที่เหมาะสำหรับมนุษย์เงินเดือนโดยเฉพาะ !

อยากหารายได้เสริม อยากมีรายได้เพิ่มขึ้น “แต่ไม่รู้ว่าตัวเองควรทำอะไร” เป็นปัญหาของใครหลายคนที่ต้องการมองหางานเสริมทำนอกเ

Jo

10 Feb 2023 | 4 นาทีอ่าน