เทรนด์ Software Development 2022

7 เทรนด์ Software Development ที่น่าสนใจในปี 2022

admin

22 Mar 2022 | 2 นาทีอ่าน

เทรนด์ Software Development 2022 ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง ? ในช่วงปี 2020 –  2021 เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงมากมายที่มากับ Digital Transformation ที่มากับวิกฤตการณ์โควิด – 19 ซึ่งทำให้หลายองค์กรหันมาสนใจและพัฒนาระบบการทำงานจนเกิดเป็นกระแสการทำงานยุคใหม่ขึ้นมา จนมาถึงปี 2022 ก็มีเทรนด์ใหม่ที่น่าสนใจเกิดขึ้นมากมายในวงการซอฟต์แวร์ 

ในวันนี้ Talance จึงนำ 7 เทรนด์ Software Development 2022 ที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าสำคัญและมาแรงในปีนี้มานำเสนอให้ทุกคนได้รู้กัน 

1. DevSecOps

พอพูดถึง DevSecOps หลายคนคงสงสัยว่ามันคืออะไร แล้วต่างจาก DevOps ยังไง สั้น ๆ ก็ คือ DevSecOps เป็นแนวคิดการทำงานแบบใหม่ที่พัฒนามาจาก DevOps ที่พูดถึงการทำงานร่วมกันของทีม Developer และทีม Operation ในการทำโปรเจกต์หรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ซึ่งเทรนด์ DevOps เป็นเทรนด์ที่มาแรงมากตั้งแต่ปี 2009 จนไม่กี่ปีให้หลังมานี้คนเริ่มหันมาสนใจเรื่องความปลอดภัย (Security) ในกระบวนการส่งมอบซอฟต์แวร์มากขึ้น  เลยมีเทรนด์ใหม่ที่ต่อยอดขึ้นมาจาก DevOps เป็น DevSecOps 

ความน่าสนใจของ DevSecOps อยู่ตรงที่ DevSecOps เป็นแนวคิดที่จะมาช่วยพัฒนาให้กระบวนการทำงานในแต่ละโปรเจกต์มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และรวดเร็วมากขึ้น เพราะ DevSecOps จะเน้นการแทรกกระบวนการทำ Security เข้าไปทุกส่วนของการทำงาน ซึ่งจะโฟกัสที่การร่วมมือกันระหว่าง Dev Team, Security Team, Operation Team 

ความสำคัญ

DevSecOps จึงเกิดขึ้นมาเพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ใน Cycle ที่จะช่วยอุดช่องว่างความไม่ปลอดภัยและการรั่วไหลของข้อมูลลูกค้า ด้วยการรวมฝั่ง 3 ฝั่งเข้าด้วยกัน เพื่อทำลายกำแพงที่ทำให้แต่ละทีมประสานงานกันลำบาก ลดระยะเวลาการรอฟีดแบคงานและทำให้กระบวนการทำงานไวขึ้น ทั้งยังเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับชิ้นงานตามคอนเซปต์ของ Security in Every Step ซึ่งจะช่วยป้องกันการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

2. API-led integration

โควิด-19 ทำให้รายได้ของหลาย ๆ บริษัทลดลง แต่การสร้างพื้นฐานด้าน IT ในองค์กรก็เป็นเรื่องจำเป็นมาก ดังนั้นการใช้บริการระบบจัดเก็บข้อมูลจึงเป็นทางออกที่ดีกว่าการสร้างระบบของตนเอง และ API-led integration ก็เกิดขึ้นมาเพื่อควบคุมระบบต่าง ๆ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันด้วย API สำหรับ SaaS (Software as a Service) เช่น cloud, on premise, other data source 

ความสำคัญ

ปัจจุบันการใช้เครื่องมือแบบเก่าที่ไม่มี API ไม่เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันอีกแล้ว  API-led integration จึงเป็นแนวทางใหม่สำหรับธุรกิจยุคดิจิทัลที่ต้องปรับตัวตลอดเวลา เพราะตอนนี้เราอยู่ในยุคที่องค์กรต่าง ๆ ต้องการความสะดวก รวดเร็ว ความยืดหยุ่นในการจัดการข้อมูล ดังนั้น แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์รองรับ API จะช่วยให้สามารถรวมข้อมูลจาก SaaS ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการปรับตัวในยุค Digital Transformation

3. Low Code for Pros

เทรนด์ Low Code เป็นอะไรที่มาแรงมากไม่แพ้กันเลย เพราะ Low Code เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยให้การสร้างสรรค์และพัฒนาระบบ รวดเร็วและใช้งานง่าย โดยจะมีการใช้งานโค้ดน้อยลงตามชื่อ 

จุดเริ่มต้นของเจ้า Low Code มาจากแนวคิดแบบ  Fourth-Generation Language (4GL) ที่เน้นการเขียนแอปพลิเคชั่นโดยใช้โค้ดให้น้อยลง เพื่อลดเวลากระบวนการทำงาน และทำให้สามารถใช้งานได้ง่าย ทำให้คนที่ไม่เคยมีความรู้หรือประสบการณ์ด้าน Programming มาก่อนก็สามารถสร้างระบบได้ด้วยตัวเอง ซึ่งในปัจจุบัน Low Code Development Platforms เป็นที่นิยมมาก ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มทำเว็บไซต์ที่เรารู้จักกันดีอย่าง WordPress, Wix, Squarespace, Webflow หรือ ระบบ Voice assistants อย่าง Voiceflow

ความสำคัญ

เหตุผลที่ Low Code เริ่มเป็นที่นิยมในวงการเทคโนโลยี เพราะจุดแข็งของมันที่เน้นความเร็วและใช้งานง่าย แต่สามารถรักษาประสิทธิภาพของชิ้นงานได้เหมือนเดิม ซึ่งประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย เพราะเมื่อระยะเวลาในการสร้างชิ้นงานน้อยลง เขียนโค้ดน้อยลง แล้วยังสามารถเปิดทางให้คนที่ไม่รู้ด้านโปรแกรมเข้ามาทำได้อีก

แน่นอนว่าจำนวน Developer ที่ใช้ในโปรเจกต์ก็จะน้อยลงด้วย ยังไม่หมด Low Code ยังรองรับโซลูกชั่นการทำงานที่หลากหลาย ทำให้สามารถใช้งานร่วมกันได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ซึ่งทำให้งานเสร็จเร็ว แถมยังไม่ทำให้การทำงานเป็นเรื่องน่าเบื่อ ลดช่องว่างให้คนที่รู้และไม่รู้ด้านโปรแกรมทำงานร่วมกันได้

ซึ่งอาจจะช่วยนำเสนอแนวคิดหรือการสร้างสรรค์ที่จะช่วยให้สามารถพัฒนาระบบได้ดีขึ้น  จึงนับได้ว่า Low Code เป็นเทรนด์ใหม่ที่ธุรกิจในยุค Digital Transformation ต้องเริ่มเรียนรู้และให้ความสำคัญ เพราะ Low Code จะช่วยให้คุณสามารถพัฒนาระบบการทำงานให้เร็วและดีขึ้นได้ในยุคที่เราต้องแข่งกับกระแสเวลาที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว

4. Cloud – native platforms

เชื่อว่าในปีนี้ Cloud – native platforms จะขยับเข้ามาใกล้ตัวเรามากยิ่งขึ้น เพราะทุกวันนี้แพลตฟอร์มยุคใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการประมวลผลในรูปแบบคลาวด์ (Cloud computing model) อย่าง Cloud – native platforms จะตอบโจทย์การทำงานในยุค New Normal เช่นรองรับความยืดหยุ่นตามขนาดของชิ้นงาน รองรับการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่าง Application หรือ API ได้ด้วย  

ความสำคัญ

ในยุคดิจิตอลองค์กรควรเริ่มใช้ Cloud – native เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพราะปัจจุบันเทรนด์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นไวมาก และหลาย ๆ องค์กรก็ต้องพัฒนาไปกับมันเพื่อให้ทันต่อความต้องการตลาด

Cloud – native จะทำให้องค์กรสามารถใช้ทรัพยากรน้อยกว่าเดิม เพราะเทคโนโลยี Container ทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังรองรับความยืดหยุ่นในการจัดเก็บขนาดชิ้นงาน (On demand work load) ซึ่งเหมาะกับธุรกิจที่ต้องการจ่ายงานของระบบตามความต้องการจริง (pay-as-you-go-model)

ไม่ใช่แค่นั้น Cloud – native ยังเพิ่มความเร็วในการส่งมอบงานหรือพัฒนานวัตกรรมออกสู่ตลาดด้วยการออกแบบแอปพลิเคชั่นแบบ Microservice ภายใต้การทำงานแบบ DevOps ซึ่งช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการพัฒนาโปรเจกต์ลง แถมยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดระบบล่มจากเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ Cloud – native platforms จึงเป็นนวัตกรรมแห่งยุค 2022 ที่ทุกคนควรจับตามอง 

5. DesignOps

ใน 2 – 3 ปีให้หลังนี้ หลายคนคงได้เห็นคำว่า DesignOps ผ่านหูผ่านตามาบ้าง ไม่ต้องแปลกใจ DesignOps เป็นตำแหน่งใหม่ที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานในโปรเจกต์มาก เพราะ DesignOps คือฝ่ายวางแผน กำหนด จัดการ กระบวนการดีไซน์ภายในองค์กร เพื่อเคลียร์ทางให้ทีมดีไซน์กับทีม Developer สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไหลลื่น มีประสิทธิภาพ ไม่ติดขัด ทั้งยังเป็นคนที่เมคชัวร์ว่าทีมดีไซน์จะป้อนงานเข้าสู่ Development Cycle ได้อย่างเหมาะสม

อย่างที่บอกไปว่า DesignOps เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญมา 3 ปีแล้ว หน้าที่หลักคือเชื่อมต่อระหว่างฝ่ายดีไซเนอร์กับทีม Developer ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความกลมกลืน มีกระบวนการชัดเจน ลดขั้นตอนยุ่งยากรวมถึงความผิดพลาดต่าง ๆ จากการทำโปรเจกต์ เหมือนเป็นจิ๊กซอว์ตรงกลาง เชื่อมการทำงานทุกฝ่ายเข้าด้วยกัน

คนที่มาเป็น DesignOps ต้องสามารถแปลภาษาของพวก Developer ให้ดีไซน์เนอร์เข้าใจได้ หรือบางครั้งถ้า Developer ไม่สามารถทำโปรเจกต์ได้ตรงตามที่ทีมดีไซน์เนอร์ออกแบบมาด้วยข้อจำกัดทางเทคนิค DesignOps ต้องทำหน้าที่ประสานให้แต่ละทีมเข้าใจกันเพื่อหาทางแก้ 

ความสำคัญ

ในวันที่องค์กรโตขึ้น ขนาดงานใหญ่ขึ้น ทีมงานมีมากขึ้น บทบาทเยอะขึ้น ความซับซ้อนของงานดีไซน์ก็ตามมา เลยต้องมี DesignOps เข้ามาช่วยจัดการ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการดำเนินงานดีไซน์ เครื่องมือ ความสะดวกในหารทำงานของทีม ค่าใช้จ่าย จำนวนคนและทักษะที่ต้องมี เรียงคิวงาน ดูแลทีมงาน เรียนรู้ทักษะเสริม ช่วยให้องค์กรเห็นคุณค่าของงานดีไซน์

ดังนั้นการมี DesignOps ในทีมช่วยให้การพัฒนาโปรเจกต์ไวขึ้น เพราะบางทีในการทำงานจริงทั้งสองฝั่งไม่ค่อยคุยกัน พองานติดขัดก็สื่อสารกันไม่เข้าใจ ทำให้ไม่สามารถส่งต่อไปถึงทีมอื่นที่เกี่ยวข้องกับโปรเจกต์ด้วย ซึ่งเป็นหน้าที่ของ DesignOps ที่จะเป็นตัวกลางในการสื่อสาร นอกจากนี้ DesignOps ยังช่วยตัดสินใจว่าควรรับสมัครคนทำงานตำแหน่งไหนเข้ามาเพิ่มในทีมดีไซน์ เพื่อที่จะได้ส่งงานทีม Developer ได้ตามเวลาที่กำหนดไว้

6. Universal Observability

แน่นอนว่าใครก็ตามที่ทำหน้าที่ดูแลระบบจะต้องเคยเจอกับปัญหาระบบล่มบ้าง ติดปัญหาต่าง ๆ บ้าง แต่ที่น่าปวดหัวกว่าคือ ไม่รู้ว่าต้องไปแก้ไขตรงไหนนี่สิ เพราะแบบนั้นเราถึงต้องมี Universal Observability ที่ว่าด้วยการดูแลระบบที่ผู้ดูแลสามารถชี้ให้เห็นถึงความผิดปกติได้ผ่านหน่วยวัดต่าง ๆ อย่าง Metrics. Logs และ Traces ซึ่งเป็นตัวเลขที่สามารถวัดได้จากระบบผ่านเครื่องมือต่าง ๆ อย่าง Up/Down monitoring, Metrics หรือ Timeseries database (TSDB), Log analytics, Event streaming, SIEM, UBA และ data lakes

ความสำคัญ

Universal Observability น่าสนใจตรงที่มันทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถบอกได้ถึงความผิดปกติของซอฟต์แวร์ผ่านตัวเลขได้เลย ไม่จำเป็นต้องรอให้มีคนบอกก่อนว่าระบบล่ม แล้วก็ไม่ต้องเสียเวลาหาว่าระบบไม่ดีตรงไหน เพราะเจ้าพวกหน่วยวัดทั้งหลายนี่แหละที่จะคอยบอกเราเองว่าระบบปกติดีไหม เกิดความเสียหายตรงไหน แถมยังช่วยรักษาความปลอดภัยของสถานะการทำงานได้แบบที่ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรและค่าใช้จ่ายด้วย ซึ่งตอบโจทย์กับการทำงานขององค์กรในยุคดิจิทัลมาก เพราะผู้ใช้สามารถเอา Observability pipeline ไปยกระดับการทำงานให้สมกับองค์กรแห่งยุค Digital Transformation ได้

7. PWA-First

PWA ที่ว่านี่ไม่ใช่การประปาส่วนภูมิภาคนะ  แต่มันคือ Progressive Web App ที่จะมาแทน รูปแบบเว็บไซต์ธรรมดา (Native Website) เพราะ PWA-First เป็นแนวคิดที่ว่าด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มต่าง ๆ ให้ใกล้เคียงกับแอปพลิเคชั่นทั้งในแง่ฟังก์ชั่นการใช้งาน รูปร่างหน้าตา ความเร็ว แต่สามารถรันบน Browser ได้ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Web – app นั่นแหละ ซึ่งแนวคิดนี้เกิดจากการใช้ชีวิตในโลกปัจจุบันที่ทุก ๆ อย่างขึ้นอยู่กับ Cloud และ User รูปแบบเว็บไซต์ธรรมดาอาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป PWA จึงเป็นเทรนด์ใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่ เพราะทั้งสะดวกกว่า เร็วกว่า ไม่ปวดหัวกับระบบปฏิบัติการที่บางครั้งไม่รองรับแอปพลิเคชั่นบางตัว แถมยังสามารถปรับการแสดงผลให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่เราใช้งานไม่ว่าจะเป็น PC Mobile หรือ Tablet 

ความสำคัญ

การเปลี่ยนแปลงจาก Native Website สู่ PWA ถือว่าเป็นการปฏิวัติวงการในระดับหนึ่งเลยทีเดียว เพราะ PWA-First เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ย่นระยะเวลาทำงานให้ Developer มาก นอกจากจะไม่ต้องทำแอปแยกกับตัวเว็บไซต์ให้มันรองรับระบบปฏิบัติการหลายๆแบบแล้ว ก็ไม่ต้องผ่านมาตรการของ store ที่ยุ่งยากด้วย แถมยังเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย เป็นมิตรกับผู้ใช้ PWA-First จึงเป็นเทรนด์ที่เราควรให้ความสนใจไม่แพ้กับเทรนด์อื่น ๆ เลย เพราะนอกจากจะทำให้คนใช้ Happy แล้ว ยังเป็นการนำร่องให้องค์กรของเราพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรยุคดิจิทัลอย่างเต็มที่ด้วย

ในวันข้างหน้าเราเชื่อว่าทั้ง 7 เทรนด์ Software Development 2022 นี้จะเป็นเข้ามามีบทบาทกับชีวิตการทำงานของคนทั้งโลกโดยเฉพาะกับวงการเทคโนโลยี เพราะงั้นเราถึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อที่จะพัฒนาไปข้างหน้าได้อย่างภาคภูมิใจ  

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บทความที่เกี่ยวข้อง

อัปเดต 11 เทรนด์การออกแบบ UX UI ให้โดดเด่น ในปี 2023

ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์มีส่วนสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างมาก จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยี เว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ขึ้นมากมาย

Jo

09 May 2023 | 2 นาทีอ่าน

30 อาชีพเสริม ปี 2566 ที่เหมาะสำหรับมนุษย์เงินเดือนโดยเฉพาะ !

อยากหารายได้เสริม อยากมีรายได้เพิ่มขึ้น “แต่ไม่รู้ว่าตัวเองควรทำอะไร” เป็นปัญหาของใครหลายคนที่ต้องการมองหางานเสริมทำนอกเ

Jo

10 Feb 2023 | 4 นาทีอ่าน

Gig Economy ทิศทางใหม่ของตลาดแรงงานที่บริษัทควรทำความเข้าใจ

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Gig Economy มาหลากหลายช่องทางตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังโควิด-19 ที่ตลา

admin

09 Jun 2022 | 1 นาทีอ่าน