เตรียมความพร้อมก่อน”ย้ายงาน” ให้ได้งานใหม่ที่ดีกว่าเดิม

Jo

21 Dec 2023 | 1 นาทีอ่าน

ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่หลายคนมักมองหาโอกาสในการเติบโตทั้งด้านความรู้ สวัสดิการเงินเดือน และโบนัส และสิ่งที่ทำให้สิ่งเหล่านั้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากที่สุดคือ ”การย้ายงาน” ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์การทำงานที่กำลังมาแรงในหมู่คนรุ่นใหม่อย่าง Job Hopper 

จากการสำรวจโดยบริษัทจัดหางาน Robert Half พบว่า ในปี 2022 พนักงานออฟฟิศกว่า 64% ต่างมีพฤติกรรมแบบนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มมิลเลนเนียลส์ที่อายุน้อยกว่า 34 ปี มีมากถึง 75% ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนถึง 22%  พวกเขารู้สึกว่าการเปลี่ยนงานแบบนี้ช่วยยกระดับรายได้และตำแหน่งงานของตัวเองมากที่สุด (ขอบคุณข้อมูลจาก : GQ Thailand )

แต่การจะย้ายงานหรือเปลี่ยนงานใหม่นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายๆด้าน ทั้งด้านการเงิน การมองหางานใหม่ การสมัครงานหรือการเตรียมตัวสัมภาษณ์งานก็ตาม จึงควรมีการวางแผนอย่างรัดกุมเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้น และวันนี้เราจะมาช่วยคุณเตรียมความพร้อมก่อนย้ายงาน เพื่อให้คุณได้งานใหม่ที่ดีกว่าเดิม

การเตรียมตัวก่อนออกจากงานปัจจุบัน

ก่อนจะออกจากงานเองก็มีเรื่องที่ต้องเตรียมตัวหรือจัดการเยอะเหมือนกัน ทั้งเรื่องงานค้างที่ยังสะสางไม่เรียบร้อย การโยกย้ายผู้รับผิดชอบงานในมือ หรือจะเป็นการจัดการความสัมพันธ์ของเพื่อนร่วมงานเอง ก็จะพลาดไม่ได้เหมือนกัน เพราะการรักษาความสัมพันธ์อันดีเอาไว้ อาจทำให้เกิดประโยชน์ในอนาคตได้อีกด้วย

การประเมินสถานการณ์ทางการเงิน

ประเมินสถานะทางการเงินปัจจุบัน

เริ่มจากการประเมินสถานะทางการเงินในปัจจุบันก่อนเลย ส่วนนี้ต้องนับรวมตั้งแต่ค่าใช้จ่ายรายเดือน เงินออม หรือแม้แต่หนี้สินที่ต้องพิจารณาว่าหากรายได้มีการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบในการชำระหนี้หรือไม่ รวมไปถึงการเปรียบเทียบรายได้และสวัสดิการของปัจจุบัน และของที่ใหม่ด้วย

วางแผนการเงินช่วงเปลี่ยนงาน

หากเป็นการย้ายงานที่มีงานใหม่มารออยู่แล้วคงไม่เป็นปัญหา เเต่ถ้าไม่ใช่ล่ะก็ควรวางแผนการเงินให้ดี ต้องมีการจำกัดงบประมาณ และคำนวนค่าใช้จ่ายใหม่ ทั้งเรื่องที่อยู่อาศัยและค่าเดินทางที่อาจมีเพิ่มเข้ามา หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินก็ต้องเตรียมเงินสำรองไว้ แน่นอนว่าต้องคำนวนเผื่อในช่วงที่ขาดรายได้ด้วย ไม่อย่างงั้นหากไม่สามารถหางานใหม่ได้โดยเร็วคงทำให้ใช้ชีวิตลำบากขึ้นเยอะมากแน่

กองทุนฉุกเฉินและประกันสังคม

กองทุนฉุกเฉินที่ดีต้องสามารถซัทพอร์ทค่าใช้จ่ายของคุณได้อย่างน้อย 3-6 เดือน โดยจะคลอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่มี ในระหว่างช่วงที่ขาดรายได้จากกระบวนการย้ายงาน  รวมถึงวางแผนลดภาระทางการเงินที่ไม่จำเป็นด้วย นอกจากนี้ อย่าลืมใช้สิทธิ์เงินที่คุณควรจะได้ คือเงินทดแทนระหว่างว่างงานจากประกันสังคม 

ในกรณีที่ลาออกต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อรับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาท จะได้รับเงินเดือนละ 4,500 บาท และยังมีสิทธิคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน ใน 4 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร เสียชีวิต

นอกจากนี้เงินประกันสังคมที่คุณจ่ายไปทุกเดือน ส่วนหนึ่งนำไปสะสมเป็นเงินออมชราภาพ คุณสามารถเข้าไปเช็กยอดเงินได้ที่เว็บหรือแอปของประกันสังคม โดยสามารถขอคืนได้ตอนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ส่วนจะได้รับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาส่งเงินเข้าประกันสังคม หลังจากลาออกภายใน 6 เดือนคุณควรยื่นสมัครเป็นสมาชิกประกันสังคมต่อแบบผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 เพื่อมีสิทธิประโยชน์คุ้มครองรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ และรักษาสิทธิเงินออมชราภาพ

(ขอบคุณข้อมูลจาก : SCB ไทยพาณิชย์)

การจัดการกับงานปัจจุบัน

ระยะเวลาที่ควรแจ้งล่วงหน้า

กฎหมายของทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน และ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน กำหนดไว้ว่าต้องแจ้งลาออกล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ซึ่งในบริษัทแต่ละแห่งใช้สัญญาจ้างงานต่างกัน หลัก ๆ มี 2 ประเภทได้แก่ สัญญาแบบกำหนดระยะเวลา และ สัญญาแบบไม่มีระยะเวลา ลูกจ้างต้องทำตามกฎที่ระบุไว้ในสัญญา ถ้าหากไม่ได้มีระบุไว้ก็สามารถลาออกได้ตามความประสงค์ แต่ถ้าจะให้ดีแนะนำให้แจ้งล่วงหน้าก่อนจะดีกว่า เพื่อจะได้มีเวลาในการส่งมอบงานและป้องกันความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นโดยไม่จำเป็นด้วย

ทำงานที่ค้างไว้ให้เสร็จ

การย้ายงานหรือเปลี่ยนงานใหม่ไม่ได้แปลว่าจะสามารถทิ้งงานเดิมได้ เพราะหากยังไม่สิ้นสุดกระบวนการลาออกก็ยังถือว่าเป็นพนักงานในองค์กร ควรรับผิดชอบหน้าที่ในส่วนของตนให้ดีที่สุด นอกจากการสะสางงานที่คั่งค้างแล้วการโยกย้ายงานหรือการสอนงานให้ผู้ที่จะเข้ามารับผิดชอบในส่วนนี้ต่อเองก็เป็นเรื่องที่ต้องทำให้เรียบร้อย เพราะการทำแบบนี้นอกจากจะทำให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกดีแล้วยังทำให้ภาพลักษณ์ของตนเองดีขึ้นอีกด้วย

รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

คนที่ทำงานด้วยกันมานานมักมีความผูกพันกันเป็นธรรมดา ก็ถือว่าเป็นเรื่องดีที่เป็นความรู้สึกในด้านบวก เพราะปฎิเสธไม่ได้เลยว่าความสัมพันธ์ส่วนตัวของคนในที่ทำงานก็ส่งผลต่อความก้าวหน้าในการเติบโตของสายอาชีพเช่นกัน ดังนั้นหากสามารถ Keep Contact เอาไว้ได้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากในอนาคตข้างหน้า

การพิจารณาทางกฎหมายและสัญญา

การตรวจสอบสัญญาและข้อตกลง

ในการย้ายงานแต่ล่ะครั้งต้องคำนึงถึงข้อตกลงและสัญญาที่ได้มีการตกลงกันไว้ ไม่ว่าจะเป็นสัญญารักษาความลับ NDA (Non-disclosure Agreement) สัญญาห้ามทำการค้าแข่งกับนายจ้าง Non-Competition Clause สัญญาห้ามชักชวนพนักงานไปทำงานกับคู่แข่ง Non-Solicitation Clause และอีกมากมาย ซึ่งสัญญาเหล่านี้บางคนอาจจะลืมไปแล้วจนไม่ได้ใส่ใจ ทั้งที่ความจริงสัญญาเหล่านี้มีรายละเอียดยิบย่อยมากมายที่ต้องปฏิบัติตาม หากลืมตัวไปแหกกฎที่ระบุไว้แล้วหล่ะก็ เตรียมตัวรับหมายศาลพร้อมค่าปรับมหาศาลได้เลย ดังนั้น ก่อนจะย้ายงานต้องมีการตรวจสอบสัญญาให้ที่เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมาเสียใจภายหลัง

เตรียมพร้อมสำหรับงานใหม่

เพื่อให้เเน่ใจว่าที่ใหม่จะดีกว่าที่เก่าจะต้องมีการเตรียมตัวเองให้พร้อม และตรวจสอบให้ชัดเจนทั้งในเรื่องของข้อมูลของบริษัท หน้าที่ความรับผิดชอบ ความก้าวหน้าในการทำงาน เงินเดือน สวัสดิการ วัฒนธรรมองค์กร ไปจนถึงบรรยากาศในการทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถเข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรได้อย่างไม่มีปัญหา

ศึกษาข้อมูลไว้ก่อนจะดีกว่า

ข้อมูลของบริษัทใหม่

คงไม่มีใครที่จะเข้าทำงานในบริษัทที่ไม่รู้จักหรอกจริงไหม ดังนั้นการหาข้อมูลบริษัทไว้ก่อนจะทำให้คุณได้รู้จักบริษัทมากขึ้นทั้งในด้านสภาพแวดล้อมภาพในองค์กร และความสามารถในการเติมโต รวมไปถึงข้อดีข้อเสีย เอาไว้ใช้ประกอบการตัดสินใจ

Job Description 

หน้าที่ความรับผิดชอบก็เป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้คนย้ายงาน หากต้องการย้ายไปบริษัทแห่งใหม่ต้องตรวจสอบให้ดีว่าเป็นงานที่อยากทำจริง ๆ หรือเปล่า หรือเป็นงานที่สามารถพัฒนาทักษะได้ใากขึ้นไหม และการรับผิดชอบหน้าที่นี้จะช่วยให้สามารถต่อยอดสิ่งใดไปได้อีกรึป่าว เพราะถ้าย้ายงานแล้วยังไม่ได้งานที่อยากทำตามความต้องการก็ไม่รู้จะย้ายไปทำไมจริงไหม

ความก้าวหน้าของตำแหน่ง

ทุกคนมักมองหาความก้าวหน้าในตำแหน่ง ตำแหน่งงานที่ใหญ่ขึ้นมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่มากขึ้นและโอกาสที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้าเราได้โอกาสในการเติบโตจะทำให้สามารถวางแผนความก้าวหน้าในอนาคตได้มากยิ่งขึ้น

รายได้และสวัสดิการ 

เรื่องของรายได้เป็นเรื่องที่ต้องดูในระยะยาว เพราะบริษัทเดิมเราอาจจะได้เงินเดือนน้อยกว่าแต่ปรับเงินเดือนใหม่ทุกปี ในขณะที่บริษัทใหม่อาจให้เงินเดือนเราเยอะกว่าที่เดิมก็จริง แต่อาจปรับเงินเดือนได้น้อยกว่าที่เดิม หรือสวัสดิการบ้างอย่างที่ที่เดิมมีแต่ที่ใหม่ไม่มี หากจะให้เลือกก็ต้องพิจารณาหลายอย่างร่วมด้วย

ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น

ภาระค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหลังย้ายงานก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจ บางกรณีอาจเป็นแค่ค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นในกรณีที่ที่ทำงานอยู่ไกลจากที่พักอาศัยในปัจจุบัน อาจต้องมีการซื้อพาหนะสำหรับใช้เดินทาง หรือต้องย้ายที่พักไปเลย แต่ไม่ว่าจะแบบไหนหากเป็นการสร้างภาระค่าใช้จ่ายที่มากเกินไป การปัดตกบริษัทนั้นไปคงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

ผลกระทบต่อเป้าหมายชีวิต

เดิมทีการย้ายงานควรเป็นหนึ่งในเป้าหมายชีวิต แต่หากการย้ายงานที่เกิดขึ้นทำให้เกิดผลกระทบอย่างอื่นที่ทำให้การไปให้ถึงเป้าหมายยากขึ้น คงต้องลองคิดกันดูอีกที ยกตัวอย่างง่าย ๆ หากเป้าหมายคือการได้อยู่กับครอบครัว แต่การย้ายงานทำให้ต้องอยู่ไกลและไม่มีเวลาให้ครอบครัว การเปลี่ยนที่ไปเลยก็เป็นทางเลือกที่ดี

ช่องทางการหางาน

การหางานใหม่ต้องเริ่มจากการจากเว็บไซต์ของบริษัทที่สนใจก่อน หรือถ้าง่ายกว่านั้นก็คงจะเป็นการหาบน Job Platform หรือทาง Social Media ต่าง ๆ เช่น  LinkedIn, Twitter , Facebook , Job Thai , JobDB เป็นต้น แต่ถ้าใครที่ได้รับการชักชวน หรือมีการแนะนำมาก็ต้องขอแสดงความยินดีก้วยเพราะโอกาสดี ๆ ได้เข้ามาหาคุณแล้ว

เตรียมตัวสมัครและสัมภาษณ์งาน

Resume ต้องดีไว้ก่อน

สิ่งแรกที่จะทำให้บริษัทรู้จักเราคือ Resume ดังนั้นต้องทำให้ Resume มีความน่าสนใจ มีข้อมูลครบถ้วนต้องไม่ลืมแสดงข้อมูลติดต่อเป็นอันขาด ระบุทักษะและจุดเเข็งที่มี เพราะเป็นการส่งใบสมัครเพื่อย้ายงานไม่ใช่เพื่อสมัครงานครั้งแรกสิ่งที่ควรโฟกัสไม่ใช่ประวัติการซึกษาแต่เป็นประสบการณ์ที่มี ต้องแสดงผลงานที่เคยทำว่าทำประโยชน์อะไรให้องค์กรบ้าง จะทำให้ Resume ของคุณน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

สัมภาษณ์งานด้วยความมั่นใจ

อย่างที่เคยบอกว่าการสมัครงานครั้งนี้ไม่ใช่ First Job สิ่งที่ต้องพกไปไม่ใช่ความประหม่า แต่เป็นความมั่นใจ คุณอาจเจอคำถามที่ว่า “เพราะอะไรจึงย้ายงาน” หรือ “มีปัญหาอะไรกับเพื่อนร่วมงานหรือเปล่า” แม้กระทั่ง “คุณคิดว่าบริษัทที่คุณเคยอยู่เป็นยังไง”  เลยต้องมีการเตรียมตัวตอบคำถามสัมภาษณ์ไปให้ให้ดี นอกจากคำถามประเภทนี้แล้วก็คงจะเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับบริษัท และเป้าหมายในอนาคต ถ้าสามารถตอบคำถามทั้งหมดได้อย่างเหมาะสมก็ไม่มีอะไรที่จะต้องกังวลแล้ว

เจรจาเงินเดือนและสวัสดิการ

การเจรจาเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมก็เป็นขั้นตอนที่ควรให้ความสำคัญ จุดประสงค์อย่างแรกที่อยากได้จากการย้ายงานในครั้งนี้คือความก้าวหน้าทางอาชีพและค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นจะพลาดการเจรจาเพื่อรักษาผลประโยชน์ไม่ได้เด็ดขาด อย่างแรกที่ต้องมีคือความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง ต้องเสนอคุณค่าของตนเองออกไปให้มากที่สุด หากองค์กรเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับหากมีคุณมาร่วมงานด้วยก็จะเสนอผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกันให้คุณเช่นเดียวกัน

สรุป

การย้ายงานก็เป็นความก้าวหน้าอย่างหนึ่งในชีวิต แต่ใช่ว่าย้ายแล้วจะดีเสมอไปทุกอย่างมีข้อดีข้อเสียของตนเอง ดั้งนั้น หากไม่อยากให้การย้ายงานของคุณกลายเป็นเรื่องที่เสียเปล่า ก็อย่าลืมเอาคำแนะนำของเราไปใช้ในการตัดสินใจเผื่อจะช่วยให้คุณได้ทำงานในที่ใหม่ที่ดีกว่าเดิม

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขข้อสงสัยทำไมหลายคนเลือกใช้ Recruitment Agency ในเมื่อหางานเองได้

“ ถ้าต้องการหางานใหม่ต้องใช้เวลานานแค่ไหน ? “ คำถามที่ผู้หางานหลายคนคิดกับตัวเอง แน่นอนว่าการค้นหางานที่เหมาะกับตัวเองเป

Jo

15 Mar 2024 | 1 นาทีอ่าน

แนะนำ 7 ทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงาน ถ้าอยากก้าวหน้าในอนาคต

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น ทำให้พนักงานต้องเรี

Jo

05 Mar 2024 | 1 นาทีอ่าน

เริ่มงานใหม่อย่างไร ? ให้ประสบความสำเร็จ!!!

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับการเริ่มงานใหม่ของทุกคนด้วยนะคะ แน่นอนว่าการเริ่มงานใหม่ก็เหมือนกับการเริ่มต้นใหม่ ต้องเจอ

Jo

15 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

ทำไมกระบวนการ Onboarding ที่มีประสิทธิภาพถึงสำคัญกว่าที่คุณคิด

เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ไม่ว่าวิธีการทำงานจะเปลี่ยนไปขนาดไหน จะเป็นการทำงานแบบ Hybrid หรือ Flexible Work การมีพนักงานใหม่เข

Jo

23 Jan 2024 | 1 นาทีอ่าน

เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง! แนะนำตัวในการสัมภาษณ์งานยังไง ให้ HR อยากสัมภาษณ์ต่อ

การสัมภาษณ์งานเป็นเหมือนด่านเเรกที่เราต้องเผชิญเมื่อเข้าสู่ชีวิตการทำงาน การที่จะเป็นผู้ถูกเลือกหรือไม่ขึ้นอยู่กับขั้นตอ