แจ้งลาออก ต้องบอกล่วงหน้านานแค่ไหน ?

Jo

04 Sep 2023 | 1 นาทีอ่าน

พนักงานหลายๆคนอาจกำลังสงสัยว่าทำไมการลาออกจะต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน แล้วมันต้องแจ้งล่วงหน้ากี่วันจะสามารถลาออกได้ หรือจริงๆแล้วไม่ต้องแจ้งก็ลาออกได้เลย วันนี้เราจะพาทุกคนมาหาคำตอบกัน

อยากลาออกไม่แจ้งล่วงหน้าเป็นไรไหม ?

ถ้าเรานั้นอ้างอิงตามกฎหมาย ของทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน และ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน โดยพูดถึงไว้แบบนี้

มาตรา 17 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ลูกจ้างลาออกต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ถ้าไม่บอกกล่าวก่อน หรือออกไปทันที แม้ไม่ต้องรอให้นายจ้างอนุมัติ การลาออกก็ตาม หากเกิดความเสียหาย นายจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ และหากไม่เกิดความเสียหาย หรือนายจ้างพิสูจน์ไม่ได้ว่าเสียหายอย่างไร ศาลก็เพียงแต่ยกฟ้องเท่านั้น 

ฎีกาที่ 10614/2558 คือฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 อันเป็นเหตุให้นายจ้างมีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้แต่การกำหนดจำนวนค่าเสียหาย

สรุปสั้นๆแล้วคือเรานั้นต้องทำตามกฏของบริษัทหรือองค์กรที่เราเข้าไปทำงาน ซึ่งส่วนมากจะ 30 วัน เพราะถ้าเราลาออกไปนั้นไม่แจ้งล่วงหน้าและทางองค์กรเสียหาย เสียเวลา เขาเองก็สามารถฟ้องเราได้เช่นกันนั้นเอง จะต้องแจ้งหรือไม่ต้องแจ้งนั้นก็ขึ้นกับกฏของบริษัทที่เรานั้นทำงานอยู่ด้วย

ทำไมบริษัทต้องให้แจ้งล่วงหน้า 30 วัน

ในหนึ่งบริษัททุกตำแหน่งนั้นมีความสำคัญ และการที่บริษัทรับตำแหน่งนี้มา คงคำนวณและคิดมาแล้วว่าการแจ้งล่วงหน้า 30 วันจะเหมาะสม เพราะการที่เราลาออกทำให้เขาจะต้องหาคนมาเพื่อทดแทนหน้าที่ตรงนั้น ซึ่งแต่ละตำแหน่งก็ไม่ได้หากันได้ง่ายๆเลย บางตำแหน่งอาจต้องใช้เวลานาน ซึ่งถ้าเราออกไปเลย เราอาจจะต้องถ่ายโอนงานในส่วนของเราที่เหลือให้แก่เพื่อนร่วมงานคนอื่น 

แบบนี้ถ้าเราลาออกไปเลยเราอาจสร้างความเสียหายให้แก่บริษัทได้ ซึ่งเราอาจจะโดนแบลคลิสต์ในบริษัทเดิม

อยากลาออกจากงานตอนไหนก็ได้ ทำได้จริงหรอ ? 

ต้องขอบอกว่าไม่ใช่เรื่องที่ทำได้เสมอไป ถึงจะบอกว่าบางบริษัทไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน แต่การเข้าทำงานในแต่ละที่นั้นจะมีสัญญาที่เราพบเจอกันอยู่ 2 แบบ ซึ่งหากคุณยังไม่ทราบเราจะพาไปรู้จักสัญญาสองแบบนี้ที่สรุปมาสั้นๆให้เข้าใจง่ายดังนี้

สัญญาแบบกำหนดระยะเวลา 

เราจะเคยได้ยินกันแบบว่า สัญญาจ้าง 6 เดือน , สัญญาจ้าง 10 เดือน ถ้าทำงานครบแล้วเราก็จะหมดสัญญาไม่ต้องไปทำงานอีก แต่ถ้าเกิดเราลาออกหรือยกเลิกก่อนระยะเวลา เราก็จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ทางองค์กร ซึ่งค่าเสียหายนั้นก็ขึ้นอยู่กับที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างนั้น

สัญญาแบบไม่มีระยะเวลา

ที่เราเรียกกันว่า “พนักงานประจำ” ไม่มีระบุเอาไว้ว่าทำงานนานแค่ไหน เราและก็นายจ้างก็สามารถยกเลิกได้ตลอด เท่ากับว่าเราจะลาออกเมื่อไหร่ก็ได้

ก่อนลาออก ควรรู้ข้อควรระวังในการลาออก

เราคิดว่าการแจ้งเจ้านายปากเปล่าว่าลาออกแล้วนั้นจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ แต่จริงๆแล้วเราควรทำเป็นลายลักษณ์อักษร ทำได้แม้ไม่ต้องรอให้นายจ้างอยู่อีกด้วย แถมยังทำให้การลาออกของเรานั้นเสร็จสมบูรณ์

หลังจากเรายื่นใบลาออกแล้ว เราจะต้องคำนึงถึงงานที่ค้างคาที่จะต้องจัดการให้เสร็จหรือการโอนถ่ายงานไปให้เพื่อนๆร่วมงานในทีม และสวัสดิการของบริษัทที่เรามีอยู่นั้นจะหายไปพร้อมกับใบลาออก ก่อนลาออกเราจะต้องคำนึงถึงตรงนี้ว่าสวัสดิการของบริษัทยังจำเป็นกับเราอยู่ไหม และงานที่เราค้างอยู่สามารถโอนให้เพื่อนร่วมทีมได้ไหม หรือต้องเสียเวลาทำหลังลาออกให้หมดอีกด้วย

ลาออก มีสิทธิอะไรบ้างที่ควรต้องรู้ ?

แม้จะตัดสินใจลาออกเอง หรือถูกยกเลิกจ้าง แต่ยังคงต้องรักษาสิทธิ์ ผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิ์ที่เราจะได้เช่น

1. ใช้สิทธิ์ประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน

ไม่ว่าเราจะถูกยกเลิกจ้าง หรือลาออกด้วยตัวเอง แต่เรายังใช้สิทธิ์ประกันครบทั้ง 7 กรณีเหมือนเดิม ได้แก่ การได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ และว่างงาน ภายใน 6 เดือนหลังจากลาออกจากงานได้

2.รับสิทธิ์ประโยชน์กรณีว่างงาน ตามกรณีต่าง ๆ ดังนี้

หากถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินทดแทน 50 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน

ถ้าลาออกด้วยตัวเอง หรือสิ้นสุดสัญญา ได้รับเงินทดแทน 30 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

หากเกิดเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่ได้ทำงานจะได้รับเงินทดแทน 50 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน

หากเราไม่ได้ถูกไล่ออก ปลดออก ให้ออกเพราะทำความผิด หรือเราละทิ้งหน้าที่เกิน 7 วันไม่มีการติดต่อผู้จ้าง เราจะได้รับสิทธิเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน และยังมีสิทธิอื่นๆให้ลูกจ้างอย่างเราๆได้ศึกษาเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของกระทรวงแรงงานในเรื่อง สิทธิของผู้ ประกันตนมาตรา33และ39

ถ้าแจ้งลาออกน้อยกว่า 30 วัน จะติดแบลคลิสต์ที่บริษัทอื่นด้วย จริงไหม?

หากในสัญญานั้นระบุไว้ว่าต้องแจ้ง 30 วันจึงจะลาออกได้ นั่นก็คือเราอาจจะผิดทำให้ต้องไปฟ้องร้องค่าเสียหายกันในศาล ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับศาลตัดสิน 

แต่หากในสัญญามีการเขียนไว้ว่า หากแจ้งลาออกน้อยกว่า 30 วัน จะต้องติดแบลคลิสต์ โดยจะมีการส่งหนังสือเวียนไปตามบริษัทต่าง ๆ อีก และบริษัทจะจ่ายค่าตอบแทนล่าช้า 45 วัน แบบนี้จะเข้าข่ายผิดกฏหมายแรงงาน ในด้านกฏหมาย PDPA ข้อมูลจาก Page Facebook : กฏหมายแรงงาน

กฏหมาย PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลและนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ และไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน นั่นคือนายจ้างหรือบริษัทไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของเราได้ หรือนำไปติดแบลคลิสต์ที่บริษัทอื่นได้นั่นเอง

สรุป

เราจำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วันไหม นั่นก็ขึ้นอยู่กับสัญญาของบริษัทที่เรานั้นเข้าไปทำงาน เราเองก็ต้องศึกษาก่อนที่จะลาออก และคำนึงถึงหลังตอนลาออกว่าจะเกิดปัญหาอะไรตามมาหรือไม่ ซึ่งหากบางบริษัทนั้นกำหนดไว้ก็จะต้องแจ้งล่วงหน้าเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองด้วยและเพื่อไม่ให้เกิดการฟ้องร้องค่าเสียหายตามมาภายหลัง และหากคุณกำลังคิดจะลาออกแต่ถูกรั้งไว้ด้วย Counter Offer ที่ทำให้ลังเล เราจะพาคุณไปดูบทความที่จะช่วยในการตัดสินใจกับการลังเลในครั้งนี้ได้ คือบทความ อยากลาออก แต่เจ้านายรั้งไว้ด้วย Counter Offer แบบนี้ควรรับไหม ?

บทความที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดไม่ลับสำหรับองค์กร เพื่อลดจำนวนพนักงานลาออก !

ในยุคที่ตลาดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนงานบ่อยของพนักงานก็เป็นสิ่งที่พบเจอได้บ่อยมากขึ้น การทำงานในบริ

Jo

11 Mar 2024 | 1 นาทีอ่าน

เจาะลึกการเตรียมตัวสัมภาษณ์งานยังไงให้มืออาชีพ

การได้เตรียมตัวก่อนไปสัมภาษณ์งานจะช่วยให้เราได้เป็นผู้สมัครที่มืออาชีพขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์งานครั้งแรก หรือไม่ใช่

Jo

29 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ด้วยรูปแบบ Job Sharing

การแบ่งงาน เป็นอีกวิธีที่ช่วยยืดหยุ่นการทำงานให้แก่พนักงานได้ดี สถานประกอบการใช้วิธีนี้ในการเข้ามาช่วยทำงานให้แก่พนักงาน

Jo

20 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

ทำไมกระบวนการ Onboarding ที่มีประสิทธิภาพถึงสำคัญกว่าที่คุณคิด

เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ไม่ว่าวิธีการทำงานจะเปลี่ยนไปขนาดไหน จะเป็นการทำงานแบบ Hybrid หรือ Flexible Work การมีพนักงานใหม่เข