5 วิธีในการเปลี่ยน Feedback เชิงลบให้เกิดประโยชน์

Jo

23 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

เคยหรือเปล่า ? เวลาที่โดน Negative Feedback จากเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า หรือคนใกล้ตัวแล้วเกิดความรู้สึกแย่ขึ้นมาและไม่รู้จะหาทางออกจากความรู้สึกนั้นได้ยังไง ต้องบอกก่อนว่ามันเป็นเรื่องปกติที่เมื่อได้เจอ Feedback ที่ไม่ดีแล้วจะรู้สึกหมดเรี่ยวหมดแรงและหมดกำลังใจ แต่อย่าพึ่งท้อใจไป เพราะในบทความนี้เราจะพามาดู 5 วิธีที่จะช่วยให้คุณรับมือกับ Negative Feedback ได้ดีขึ้น

ก่อนอื่นจะแนะนำให้รู้จักกับวิธีคิด 2 แบบนั่นคือ Growth Mindset VS Fixed Mindset คงสงสัยใช่ไหมว่ามันคืออะไร ? แล้วเกี่ยวข้องยังไงกับการรับมือกับ Negative Feedback 

ดร. แครอล เอส. ดเว็ค (Carol S. Dweck) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้เขียนหนังสือ Mindset: The New Psychology of Success เป็นคนที่ทำให้คำว่า Growth Mindset รู้จักในวงกว้าง โดยเธอได้ทำวิจัยโดยสังเกตพฤติกรรมกลุ่มเด็กที่มี Growth Mindset และ Fixed Mindset โดยผลสรุปได้นิยามไว้ว่า

กรอบความคิดแบบพัฒนาได้ หรือ Growth Mindset คือ ความเชื่อว่าตัวเองสามารถพัฒนาได้ด้วยความพยายาม ถึงแม้คนเราจะเกิดมาแตกต่างกันจากพรสวรรค์ ความถนัด ความสนใจ หรือนิสัยใจคอ แต่ทุกคนก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยความพยายามและประสบการณ์

ขณะที่กรอบความคิดแบบตายตัว หรือ Fixed Mindset คือ ความเชื่อว่าตัวเองไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะหลีกเลี่ยงความท้าทาย ไม่ชอบความลำบาก ยอมแพ้ง่าย มองว่าความตั้งใจและความพยายามไม่มีค่า กระทั่งไม่ได้ใส่ใจคำแนะนำตักเตือนที่มีประโยชน์จากคนอื่น

(ขอบคุณข้อมูลจาก : HREX.asia)

ฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องปรับคือ Mindset ขอแค่คุณมี Growth Mindset ไม่ว่าจะเจอ Negative Feedback ยังไง คุณก็จะสามารถข้ามผ่านและใช้ประโยชน์จากมันได้แน่

1. ใช้คำติชมเป็นแรงผลักดัน

เป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อได้ยินคำวิจารณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับตัวเองแล้วจะรู้สึกแย่ แต่ถ้ามองกลับกัน Negative Feedback ที่ถูกกล่าวออกมาก็เป็นเหมือนจุดอ่อนหรือข้อผิดพลาดที่ตัวคุณเองอาจจะยังไม่รู้ตัว การที่ได้รับทราบถึงจุดอ่อนของตัวเองนั่นหมายถึงคุณได้รับโอกาสที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือจุดด้อยนั้นให้ดีขึ้นและสามารถพัฒนาตัวเองได้มากขึ้นตามไปด้วย

2. เรียนรู้ที่จะรับฟัง

การรับฟังในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการรับฟังเพื่อให้ทราบเท่านั้น แต่เป็นการฟังเพื่อยอมรับในข้อผิดพลาดนั้น แม้หลายครั้งจะห้ามไม่ได้ที่จะเผลอสร้างกำแพงขึ้น หากรู้สึกว่าสิ่งที่ได้ฟังมันไม่เป็นความจริง หรือเรามีความคิดเห็นต่างออกไป แต่ไม่ว่ายังไงสิ่งที่ควรต้องทำคือการเปิดใจรับฟังดูก่อนส่วนจะจัดการอย่างไรค่อย ๆ ใช้เวลาพิจารณาทีหลังก็ไม่เสียหาย

3. ทำความเข้าใจกับ Feedback ที่ได้รับ

จะใช้ประโยชน์จาก Negative Feedback ได้อย่างแรกคือต้องเข้าใจมันซะก่อน เมื่อได้รับ Feedback มาแล้วหลายคนก็คงอยากลงมือแก้ไขทันที แต่ใครจะรู้สิ่งที่กำลังพยายามแก้ไขอาจจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ถึงจะแก้ไปแล้วแต่ก็ไม่ได้แปลว่าในอนาคตจะไม่เกิดข้อผิดพลาดนี้ขึ้นอีก สิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจกับ Feedback นั้นว่าปัญหามันคืออะไรกันแน่ เมื่อเข้าใจแล้วค่อยดำเนินการแก้ไขจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่า

4. ให้ Feedback กับตนเองบ้าง

ไม่ใช่แค่รอให้คนอื่นมา Feedback แต่คุณต้องให้ Feedback ตัวเองบ้างทั้งที่เป็น Positive Feedback และ Negative Feedback ถ้าคุณให้ Feedback กับตนเองแล้วคุณจะพบว่าสิ่งไหนที่คุณทำได้ดีและสิ่งไหนที่คุณต้องปรับปรุง เพราะการที่คุณได้เห็นทั้งด้านที่ดีและไม่ดีของคุณนอกจากจะช่วยให้คุณแก้ไขส่วนที่ไม่ดีได้แล้ว ยังทำให้คุณเห็นด้านดี ๆ ของตัวเอง อย่าพึ่งจมอยู่กับการตำหนิข้อผิดพลาดของจนลืมชื่นชมด้านที่ดีของตัวเองเลย

5. สร้างแรงจูงใจในการแก้ไขข้อผิดพลาด

เมื่อได้รับ Feedback มาแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้คือการหาวิธีที่จะแก้ไขมัน ก่อนอื่นก็มาวางเป้าหมายกันก่อน ต้องมีการคิดว่าปลายทางเมื่อแก้ไข Feedback นี้แล้วจะได้ผลลัพธ์เป็นอะไร แล้วจึงดำเนินการวางแผนเพื่อให้ผลลัพธ์สำเร็จตามเป้า และต้องทำตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัดเพื่อให้การแก้ไขตาม Feedback ครั้งนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สรุป

ถึงแม้ว่าสุดท้ายแล้วการทำตามคำแนะนำนี้จะไม่ได้ทำให้ความรู้สึกเศร้าจากการได้รับ Feedback หายไป แต่อย่างน้อยที่สุดเราหวังว่าคำแนะนำที่มอบให้จะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับ Negative Feedback และสามารถใช้มันให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บทความที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดไม่ลับสำหรับองค์กร เพื่อลดจำนวนพนักงานลาออก !

ในยุคที่ตลาดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนงานบ่อยของพนักงานก็เป็นสิ่งที่พบเจอได้บ่อยมากขึ้น การทำงานในบริ

Jo

11 Mar 2024 | 1 นาทีอ่าน

เจาะลึกการเตรียมตัวสัมภาษณ์งานยังไงให้มืออาชีพ

การได้เตรียมตัวก่อนไปสัมภาษณ์งานจะช่วยให้เราได้เป็นผู้สมัครที่มืออาชีพขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์งานครั้งแรก หรือไม่ใช่

Jo

29 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ด้วยรูปแบบ Job Sharing

การแบ่งงาน เป็นอีกวิธีที่ช่วยยืดหยุ่นการทำงานให้แก่พนักงานได้ดี สถานประกอบการใช้วิธีนี้ในการเข้ามาช่วยทำงานให้แก่พนักงาน

Jo

20 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

ทำไมกระบวนการ Onboarding ที่มีประสิทธิภาพถึงสำคัญกว่าที่คุณคิด

เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ไม่ว่าวิธีการทำงานจะเปลี่ยนไปขนาดไหน จะเป็นการทำงานแบบ Hybrid หรือ Flexible Work การมีพนักงานใหม่เข

Jo

23 Jan 2024 | 1 นาทีอ่าน