พนักงานลาออกบ่อย

เคล็ดไม่ลับสำหรับองค์กร เพื่อลดจำนวนพนักงานลาออก !

Jo

11 Mar 2024 | 1 นาทีอ่าน

ในยุคที่ตลาดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนงานบ่อยของพนักงานก็เป็นสิ่งที่พบเจอได้บ่อยมากขึ้น การทำงานในบริษัทเดิมหลายปีเป็นสิ่งที่พบเจอได้ยากในพนักงานแต่ละคน พนักงานมักเปิดโอกาสให้ตัวเองได้พบเจอกับสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ

หัวหน้าจะต้องพบเจอกับความท้าทายในการรักษาพนักงานและป้องกันไม่ให้พนักงานมองหาโอกาสใหม่ที่อื่น และการเข้าใจเหตุผลที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนงานบ่อย การนำเสนอกลยุทธ์วิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันพนักงานลาออก เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจที่ต้องการ การรักษาจำนวนพนักงานให้มั่นคงไว้

เข้าใจ และเข้าถึงปัญหาที่พนักงานโบกมือลาออก

เราต้องเข้าใจในสถานการณ์ที่พนักงานในทีมของเราได้โบกมือลาจากเราเพื่อไปทำงานที่อื่น เพราะเป็นสถานการณ์ที่ตัวเราเองจะต้องพบเจอ และต้องหาทางแก้ และป้องกัน ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่เรา เพราะหากเราเข้าใจถึงปัญหาที่พนักงานลาออก เราก็จะแก้ไขปัญหานี้ได้ ทำให้องค์กรไม่ต้องสูญเสียพนักงานไป 

พนักงานมักเปลี่ยนงานเพื่อการเปลี่ยนแปลง 

พนักงานรุ่นใหม่ มักจะทำการเปลี่ยนงานทุก 2-3 ปี เพื่อตามหาการเปลี่ยนแปลง หรือ ดีลที่ดีกว่าจากบริษัทเดิม ในยุคนี้มีหลายข้อที่พนักงานนำมาตัดสินใจว่าจะอยู่ที่เดิมหรือไปหาสิ่งที่คุ้มค่าในที่ใหม่ เช่น

การได้ทำงานในระยะไกล แบบ Work From Home หรือ Hybrid Working

พนักงานหลายคนมองหาการทำงานที่ยืดหยุ่นกับการใช้ชีวิต ไม่ต้องเร่งรีบ หรือเหนื่อยเดินทางไปทำงาน เพื่อเลิกงานตอนเย็น และก็มาเจอกับรถที่ติด ความเหนื่อยล้ากับการเดินทางก็มีส่วนที่ทำให้พนักงานเปลี่ยนงานไปหาบริษัทที่สามารถทำงานที่บ้านได้ เข้าออฟฟิศแค่ 1-2 วันเท่านั้น

การหันมาให้ความสำคัญกับ Work-life balance

การทำงานแบบ Work-life balance เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน และอาจจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต พนักงานเริ่มมองหางานที่ปรับสมดุลกับชีวิตประจำวันมากขึ้น เพราะอยากหาเวลาไปใส่ใจสุขภาพ งานอดิเรก หรือเวลาพักผ่อนได้อีก เลยมองหางานที่เคารพเวลาส่วนตัว และงานที่ไม่ล้นมือเป็นงานที่ใคร ๆ ก็มองหา

การให้ความสำคัญต่อสุขภาพจิต

หากพบเจอกับการทำงานที่กระทบต่อสุขภาพจิตใจ หรือเพื่อนร่วมงานที่ทำให้เสียบรรยากาศการทำงาน หลาย ๆ คนก็มองหาที่ใหม่ สังคมใหม่ ดีกว่าทนอยู่กับที่เก่า เพราะสุขภาพจิตสำคัญกว่าสิ่งใดอยู่แล้ว

ตระหนักถึงความไม่มั่นคงในเศรษฐกิจ

หลังเจอเข้ากับ โควิด-19 พนักงานหลายคนก็เริ่มเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของโลก ไม่มีอะไรแน่นอน บริษัทที่เรามองว่ามั่นคงก็ได้รับผลกระทบไปเหมือนกัน หลายคนเริ่มหันมาพึ่งพาตัวเอง เปิดธุรกิจ การค้าขายออนไลน์เพิ่มขึ้น ไม่ได้ยึดติดภักดีต่อบริษัทที่ทำงานไปตลอด

มองหาทักษะพิเศษให้ตัวเองเพิ่ม

ทักษะเฉพาะในแต่ละตำแหน่งไม่พอแล้วในการทำงาน เพราะหลายองค์กรมองหาคนที่มีทักษะอื่นนอกจากทักษะตรงตามตำแหน่ง พนักงานหลายคนจึงพัฒนาทักษะให้ตัวเองมีทักษะหลากหลายเพื่อให้ตอบโจทย์บริษัทสมัยนี้ และเพื่อตัวพนักงานเองได้มีตัวเลือกที่หลายหลายในการเลือกที่ทำงานมากขึ้น

การเปลี่ยนงานบ่อย ๆ ของพนักงาน มีผลต่อธุรกิจ ?

การเปลี่ยนงานบ่อย ๆ ของพนักงาน อาจมีผลกระทบที่สำคัญต่อธุรกิจทั้งในด้านการเงินและด้านการดำเนินงานจัดหาพนักงานใหม่ หากเราเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือเป็นหัวหน้า ก็จำเป็นต้องรับรู้ผลกระทบและวางกลยุทธ์เพื่อลดผลกระทบดังกล่าวเอาไว้

การเปลี่ยนงานใหม่ การลาออกของพนักงาน ก็ทำให้บริษัทได้รับผลกระทบหลายอย่าง  ทำให้เกิดความล่าช้า หรือมีผลเสียต่อคนที่จะเข้ามาลงทุน และทำให้เกิดสถิติพนักงานลาออกเพิ่มขึ้น ซึ่งก็ไม่ดีต่อตัวองค์กร เพราะหมายถึงว่าเราดูแลพนักงานไม่ได้ หรือเสียความน่าเชื่อถือในทรัพยากรบุคคล

การเปลี่ยนงานบ่อย ๆ ของพนักงาน มีผลต่อทีม ?

การเปลี่ยนงานบ่อย ๆ ไม่เพียงแต่มีผลต่อความมั่นคงทางการเงินของธุรกิจ แต่ยังมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างทีมและอารมณ์ของคนที่ต้องอยู่ต่อภายในองค์กร

การเสียเพื่อนในทีมไปก็ทำให้เกิดความไม่สบายใจภายในทีม เพราะยิ่งหากเป็นหัวหน้าของเราที่ลาออกไปก็ยิ่งทำให้ขาดคนที่คอยแนะนำ ให้คำปรึกษา ทั้งงานที่ได้รับมอบหมายก็อาจหยุกชะงัก หรือมีการเปลี่ยนแปลงงานจนล้นมืออีก 

เหตุผลที่พนักงานมักลาออก 

พนักงานหลายคนที่เข้ามาทำงานในบริษัทก็มีความคาดหวังในความก้าวหน้าให้กับสายอาชีพของตัวเองทั้งนั้น หรือบางคนวางแผนให้กับชีวิตตัวเองแล้วว่า เมื่อถึงช่วงเวลาไหน เราจะไปตรงจุดใด ดังนั้นเรื่องของ “การลาออก” จึงถือเป็นเรื่องธรรมชาติของโลกการทำงาน ที่หัวหน้าจะต้องพบเจอ และเตรียมการรับมือ และทำความเข้าใจในเหตุผลของพนักงานที่จะนำมาลาออก 

กลยุทธ์ป้องกันพนักงานเปลี่ยนงาน

การลาออกของพนักงานถือเป็นสิ่งที่ควบคุมและคาดเดาไม่ได้ ทุกองค์กรจะต้องมีแผนเตรียมรับมือกับเหตุการณ์นี้ไว้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมโอนถ่ายงาน หรือเตรียมประกาศรับสมัครพนักงานใหม่ ทุกองค์กรนั้นย่อมมีปัญหาที่แตกต่างกันออกไป แต่ปัญหาที่ทุกองค์กรมีเหมือนกันคือ ปัญหาพนักงานลาออก ไม่ว่าจะเป็นพนักงานที่อยู่มานานหรือพึ่งเข้ามาทำงานได้ไม่กี่เดือน

สรุป

ปัญหาพนักงานลาออกไม่ใช่แค่หัวหน้าจะต้องเตรียมรับมือให้ดี แต่ต้องทำความเข้าใจว่าจะต้องพบเจอ เพื่อตั้งรับแก่การเปลี่ยนงานของพนักงาน เพราะในบทความข้างต้นเป็นเพียงแค่ยกตัวอย่างปัญหาที่จะต้องเจอ และวิธีป้องกัน แต่องค์กรต่าง ๆ มักพบเจอปัญหาที่แตกต่างกัน หวังว่าคนอ่านจะสามารถก้าวผ่านปัญหาขององค์กรตัวเองที่จะต้องพบเจอพนักงานโบกมือจากองค์กรตัวเองในอนาคต และหวังว่าคนอ่านจะได้ทางออกที่เหมาะสมกังองค์กรของตัวเอง เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่องค์กรได้ในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขข้อสงสัยทำไมหลายคนเลือกใช้ Recruitment Agency ในเมื่อหางานเองได้

“ ถ้าต้องการหางานใหม่ต้องใช้เวลานานแค่ไหน ? “ คำถามที่ผู้หางานหลายคนคิดกับตัวเอง แน่นอนว่าการค้นหางานที่เหมาะกับตัวเองเป

Jo

15 Mar 2024 | 1 นาทีอ่าน

กลยุทธ์ดึงดูดคนเก่งให้มาร่วมงานกับองค์กร

ในสภาวะที่ตลาดกำลังขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก บริษัทหลายแห่งแย่งกันยื่นข้อเสนอต่าง ๆ เพื่อดึงดูดคนเก่งให้เข้ามาร่วมงาน การเส

Jo

29 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

เจาะลึกการเตรียมตัวสัมภาษณ์งานยังไงให้มืออาชีพ

การได้เตรียมตัวก่อนไปสัมภาษณ์งานจะช่วยให้เราได้เป็นผู้สมัครที่มืออาชีพขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์งานครั้งแรก หรือไม่ใช่

Jo

29 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ด้วยรูปแบบ Job Sharing

การแบ่งงาน เป็นอีกวิธีที่ช่วยยืดหยุ่นการทำงานให้แก่พนักงานได้ดี สถานประกอบการใช้วิธีนี้ในการเข้ามาช่วยทำงานให้แก่พนักงาน

Jo

20 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน