กลยุทธ์ดึงดูดคนเก่งให้มาร่วมงานกับองค์กร

Jo

29 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

ในสภาวะที่ตลาดกำลังขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก บริษัทหลายแห่งแย่งกันยื่นข้อเสนอต่าง ๆ เพื่อดึงดูดคนเก่งให้เข้ามาร่วมงาน การเสนอแค่เงินเดือนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถดึงดูดคนเก่งได้อีกต่อไป ซึ่งนั่นถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับองค์กร ว่าจะหาวิธีการแบบไหนหรือวางกลยุทธ์ยังไงให้สามารถดึงดูดคนเก่ง ๆ มาร่วมงานได้

The Invisible Revolution ผลสำรวจจาก Talent ในปี 2023 พบว่า ”เงินเดือน” เป็นปัจจัยในการทำงานอันดับหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยกว่า 42% ยินยอมที่จะปฏิเสธการเลื่อนตำแหน่งหากมันส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต

Nikhil Jaiswal ผู้อำนวยการของ Michael Page India กล่าวไว้ว่า “เงินเดือนจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้พนักงานร่วมงานกับบริษัทเสมอ แต่ที่ควรรู้คือเงินไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ผู้สมัครพิจารณาเมื่อได้รับการเสนองาน”

พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ถึงแม้ Talent จะได้รับการเสนองานให้มากกว่า 1 ตำแหน่ง ก็ไม่ได้แปลว่าจะเลือกบริษัทที่เสนอเงินเดือนให้เยอะที่สุด แต่จะเลือกบริษัทที่รู้คุณค่าของเขาแทน

มอบโอกาสในการเติบโต

สำหรับผู้สมัครที่มีความสามารถสูงและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อพัฒนาทักษะของตนเองอยู่ตลอดเวลานั้น โอกาสในการเติบโตในสายอาชีพเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เมื่อต้องพิจารณาเข้าร่วมงานกับองค์กร

ในความเป็นจริง “ความก้าวหน้าในสายอาชีพ และโอกาสในการเลื่อนตำแหน่ง” เป็นปัจจัยอันดับ 2 รองจากเงินเดือนตามผลการสำรวจจาก The Invisible Revolution 2023 

ในประเทศไทยเองความก้าวหน้าในอาชีพถูกจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 2 ของปัจจัยที่ดึงดูดผู้มีความสามรถให้ร่วมงานกับองค์กรได้ ซึ่งขึ้นมาจากปี 2022 ถึง 5 อันดับ

ซึ่งหมายความว่าการมีผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ Career Path จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บริษัทสามารถดึงดูดคนเก่งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในองค์กรได้ นอกจากนี้การที่บริษัทให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงานยังเป็นการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้นานขึ้นอีกด้วย

เห็นได้ชัดจากรายงาน Talent Trends 2021 ว่าผู้สมัครจาก APAC ให้ความสนใจกับความก้าวหน้าทางอาชีพ หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้พนักงานลาออกคือองค์กรไม่สนันสนุนการพัฒนาทักษะของพนักงาน จนเป็นเหตุให้พนักงานเต็มใจที่จะลาออกโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งงาน

สำหรับประเทศไทย รายงาน Talent Trends 2022 ได้ระบุไว้ว่า 35% ของผู้ตอบแบบสอบถามลาออกเพราะขาดความก้าวหน้าในอาชีพ

โอกาสในการเติบโตทางสายอาชีพที่มาในรูปแบบของการให้คำปรึกษาถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการดึงดูด Talent ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากกลยุทธ์นี้ไม่ได้มีแค่พนักงานเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงองค์กรที่เป็นผู้มีส่วนร่วมสำคัญที่ให้คำปรึกษา ซึ่งจะช่วยส่งเสริม Employer Branding จนสามารถดึงดูดคนเก่งเข้ามาในองค์กรได้อีกด้วย

ความ Flexible เป็นสิ่งจำเป็น

หลังการระบาดของ COVID-19 รัฐบาลในหลายประเทศได้มีการสั่งล็อกดาวน์ทำให้บริษัทต่าง ๆ ได้เรียนรู้และปรับใช้รูปแบบการทำงานใหม่ที่เรียกว่า Hybrid Working ซึ่งมีความยืนหยุ่นมากกว่า 

“Flexible work is here to stay” Nilay Khandelwal กรรมการผู้จัดการของ Michael Page Singapore ได้พูดไว้ว่า “มันขึ้นอยู่กับความไว้วางในที่ถูกสร้างขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาของการทำงานในรูปแบบ Hybrid Working “

องค์กรต้องพิจารณาความยืดหยุ่นในการทำงานของพนักงาน อย่างไรก็ตามต้องขึ้นอยู่กับขอบเขตงาน และความแตกต่างของอุตสหกรรม ทางที่ดีองค์กรควรรอให้สถานการณ์ต่าง ๆ กลับมาเป็นปกติก่อน

  • 75% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าการทำงานแบบ Hybrid Working เป็นส่วนสำคัญของความ Flexible ในขณะที่อีก 75% ของผู้บริหารระดับสูงเองก็รู้สึกแบบเดียวกัน
  • 75% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า ชั่วโมงการทำงานที่มีความ Flexible มีความสำคัญที่สุด และอีก 75% ของผู้บริหารระดับสูงเองก็รู้สึกแบบเดียวกัน

จากรายงาน Talent Trends จะเห็นได้ว่าคนที่ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานนั้นไม่ได้มีแค่พนักงาน แต่ยังรวมไปถึงผู้บริหารระดับสูงอีกด้วย

“ความ Flexible จะต้องมีการปรับใช้ให้เหมาะกับแต่ละบุคคล และแต่ละอุตสหกรรม บางคนชอบที่จะได้เข้าออฟฟิศแต่บางคนกลับไม่ชอบ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมในการทำงานด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในฮ่องกงพนักงานส่วนใหญ่เลือกที่จะเข้ามาทำงานในบริษัทเนื่องจากที่อยู่อาศัยมีขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม ความยืดหยุ่นจะไม่ใช่ความยืดหยุ่นหากมันถูกกำหนดเอาไว้แล้ว ดังนั้นความยืดหยุ่นของพนักงานแต่ละคนจึงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง”- Khandelwal

องค์กรที่ยอมรับความ Flexible จะสามรถดึงดูดคนเก่งได้มากกว่า เพราะหลายคนไม่ต้องการทำงานในบริษัทที่มีความเข้มงวด แต่ต้องการทำงานในบริษัทที่ให้ความเชื่อใจในการตัดสินใจของพนักงานเอง และการที่องค์กรจะสามารถรักษาพนักงานได้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายความยืดหยุ่นที่ปรับให้เข้ากันได้ตามแต่ละบุคคล ไม่ใช่การกำหนดกฎเกณฑ์ที่บังคับใช้ทุกคน

 การใช้กลยุทธ์ที่ทำงานแบบ Hybrid Working เป็นจุดขายอาจจะไม่สามารถดึงดูดคนเก่งมาร่วมงานได้ทั้งหมดแต่การที่บริษัทมีความ Flexible จะทำให้ Talent เกิดความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

องค์กรที่ดีต้องมีวัฒนธรรมองค์กรดี

เมื่อพูดถึงวัฒนธรรมองค์กรคงเป็นเรื่องยากที่จะนิยามว่าวัฒนธรรมองค์กรนั้นเป็นแบบไหนจนกว่าจะได้มาพบเจอกับตัวเอง สำหรับองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการที่จะดึงดูดคนเก่งให้เข้ามาในองค์กร รักษาพนักงานให้อยู่ในองค์กรไปอีกนาน หรือต้องการเพิ่มความสามารถพนักงานในองค์กร ที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในระยะยาว จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรใหม่ เพื่อให้ตรงกับความคาดหวังของพนักงานที่ต้องการให้องค์กรมองในฐานะบุคลากรคนหนึ่งไม่ใช่ในฐานะเครื่องจักรทำเงิน

พนักงานทุกคนต้องการทำงานในองค์กรที่เต็มไปด้วยความไว้วางใจและให้เกียรติ ซึ่งการที่องค์กรมีวัฒนธรรมแบบนี้จะนำมาซึ่งผลตอบแทนที่เหมาะสมกับที่ได้กระทำลงไปแน่นอนทั้งในด้านของการช่วยเพิ่มกำลังใจให้คนในทีม รับปรุงการทำงานร่วมกัน และปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและประสิทธิภาพโดยรวม 

นำเสนอวัฒนธรรมองค์กร

คำถามคือ ผู้สมัครงานจะได้สัมผัสกับวัฒนธรรมขององค์กรก่อนที่พวกเขาจะรับข้อเสนองานได้อย่างไร 

สิ่งสำคัญคือต้องไม่มองข้ามการติดต่อกับผู้สมัครในทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่เมื่อมีการประกาศรับสมัครและอธิบายรายละเอียดงาน การติดต่อจากฝ่ายทรัพยากรบุคคลผ่านทางโทรศัพท์และการส่งเมลถึงผู้สมัคร ต้องมีการอธิบายขอบเขตบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน รวมถึงข้อเสนอต่าง ๆ ทั้งในเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการ

“ฝ่ายทรัพยากรบุคคลสามารถทำให้การสนทนามีความเป็นมิตรมากขึ้นได้ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ทำงานในองค์กรนั้น ๆ พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ชอบและประทับใจไม่เพียงแค่ในด้านของการทำงาน แต่เป็นในด้านของสังคมการใช้ชีวิต สิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญในการนำเสนอวัฒนธรรมในองค์กร” – Sonia Fernandez รองผู้อำนวยการของ Michael Page Thailand 

วิธีที่ง่ายที่สุดในการดึงดูดคนเก่งคือการบอกต่อ เพราะก่อนที่จะตัดสินใจร่วมงานกับบริษัทใดซักแห่ง Talent มักจะค้นหาเกี่ยวกับบริษัทนั้นผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงวัฒนธรรมภายในองค์กร และหากอยากให้การบอกต่อเป็นไปในทางที่ดี ก็ควรมีการจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างคนในทีม เช่น การทานอาหารร่วมกันในทีม การ Remote Working หรือแม้แต่การให้สวัสดิการลาคลอดเพิ่มเติม ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นการปลูกฝังวัฒธรรมเชิงบวกให้กับทุกคนในองค์กร

การมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีจะช่วยทำให้เกิด Employer Branding ที่จะทำให้บริษัทสามารถดึงดูดคนเก่งได้มากขึ้น จาก Statistical Reference Guide for Recruiters ในปี 2020 พบว่าพนักงานกว่า 93% พูดถึงวัฒนธรรมองค์กรที่พบเจอลงบนช่องทางออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีการเกิดเผยว่าองค์กรที่มีวัฒนธรรมองค์กรดีสามารถดึงดูดคนเก่ง ๆ ได้มีประสิทธิภาพกว่าการจ่ายเงินเดือนสูงถึง 6 เท่า

ยอมรับในความหลากหลาย

ความหลากหลายเองก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่องค์กรต้องคำนึงถึง เพราะในปัจจุบันบริษัทหลาย ๆ แห่งมีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความหลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ และจากรายงานของ Thomson Reuters พบว่าองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งมีการนำแนวคิดนี้ไปใช้ ยกตัวอย่างเช่น Gap, L’Oréal และ Nestlé นอกจากนี้ยังพบว่าบริษัทที่มีความหลากหลายทางเพศและความหลากหลายทางชาติพันธ์มีประสิทธิภาพมากกว่าที่อื่นถึง 21% ซึ่งเปอร์เซ็นต์เหล่านี้จะช่วยดึงดูดคนเก่งให้มาร่วมงานได้แน่นอน

Paludan พูดไว้ว่าในปัจจุบันมี Talent จำนวนมากที่มีการสอบถามเกี่ยวกับ DE&I ในระหว่างขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน คำถามมักจะเกี่ยวกับนโยบายเกี่ยวกับ DE&I ว่ามีความสอดคล้องกับองค์กรอย่างไร

*** DE&I (Diversity, Equity & Inclusion)  คือ ความหลากหลาย ความเสมอภาค และการผนวกรวม ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการให้บริษัทต่าง ๆ สนับสนุนความหลากหลาย ความเสมอภาค และยอมรับในความแตกต่าง

จากรายงาน Thailand Talent Trends 2022 พบว่า 52% ของผู้ตอบแบบสอบถามได้ถามหรือจะพิจารณาถามเกี่ยวกับนโยบาย DE&I ของบริษัทในการสัมภาษณ์งาน โดย 70% เป็น Baby Boomers, 60% เป็น Gen Z ในขณะที่ Millennials คิดเป็น 61% และ Gen X อีก 66% 

ที่น่าสนใจคือผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 33% จะสละสิทธ์ในการทำงานทันทีหากทราบว่าทางบริษัทไม่มีนโยบายเกี่ยวกับ DE&I คนส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะทำงานในองค์กรที่รับฟังและให้คุณค่า รวมถึงมอบโอกาสในการแสดงความคิดเห็น

ใช้ช่องทางการสรรหาที่แตกต่าง

การแย่งชิง Talent ในสาขาที่ขาดแคลนย่อมเป็นเรื่องยาก แต่หากพิจารณาผู้สมัครที่มีทักษะคล้ายกันแทนจะมีความเป็นไปได้มากกว่า Recruiter ส่วนใหญ่มักจะเลือกสรรหาคนจากในอุตสหกรรมนั้นโดยตรงซึ่งมันเป็นเรื่องยากที่จะดึงตัว Talent เพราะคงจะมีหลายบริษัทที่มีข้อเสนอที่ดีกว่า ดังนั้นการค้นหา Talent ผ่านทักษะที่ต้องการอาจเป็นทางเลือกที่ถูกต้องกว่า 

หากองค์กรต้องการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถ ต้องมีการปรับใช้วิธีการและช่องทางอื่นในการสรรหาเพื่อให้สามารถเข้าถึง Talent ได้ก่อนใคร

มอบประสบการณ์ที่ดีให้พนักงาน

สิ่งที่ขาดไม่ได้คือประสบการณ์ที่พนักงานได้รับ เช่น เงินเดือนที่เหมาะสม ความยืดหยุ่นในการทำงาน การมี Hybrid Working และโอกาสในการพัฒนาทักษะเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ

Toby Truscott กรรมการผู้จัดการของ Michael Page Japan ได้พูดไว้ว่า ”สิ่งสำคัญคือต้องอย่ามองข้ามผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานอย่างกระทันหัน เนื่องจากการแพร่ระบาด ถึงแม้ว่าบางคนจะรู้สึกมีความสุขที่ได้ทำงานจากระยะไกล แต่ก็มีบางคนที่ประสบปัญหาจากเรื่องนี้เช่นกัน ดังนั้นการใส่ใจและให้ความช่วยเหลือพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ”

เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การทำงานแบบ Hybrid Working และความ Flexible ไม่ใช่ข้อเสนอแต่กลายเป็นข้อบังคับเนื่องจากปัจจัยด้านสุขอนามัย

Talent ที่อยู่ใน APEC ต้องการความ Flexible แต่ความยืดหยุ่นในการทำงานของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน จึงเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดลักษณะความยืดหยุ่นในการทำงานที่ต้องการ

ให้ความสำคัญกับ Employer Branding

องค์กรขนาดใหญ่อาจพึ่งพา Agency ในการทำการตลาดเพื่อโปรโมท แต่กลยุทธ์นี้ไม่สามารถใช้ได้ในปัจจุบันเนื่องจากตลาดถูกขับเคลื่อนด้วยผู้สมัคร จากรายงาน Talent Trends 2023 พบว่าองค์กรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มคุณค่าให้องค์กรมากเกินไปเมื่อเทียบกับการดึงดูดคนเก่ง

“Company Brand คือสิ่งที่ทำให้โลกรู้จักคุณ และเป็นสิ่งที่บริษัทใช้เพื่อดึงดูดลูกค้า องค์กรที่มี Company Brand ที่ดีอาจคิดว่าสามารถดึงดูดคนเก่งได้เพราะองค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดี แต่ความจริงแล้วหากองค์กรยังมีความคิดแบบนี้อยู่จะไม่สามารถดึงดูดคนเก่งให้มาร่วมงานได้ถ้าไม่ได้มีการสร้าง Employer Branding” – Rhiannon Guilford ผู้อำนวยการของ Michael Page Philippines

ในโลกที่เงินไม่ใช่ปัจจัยเดียวสำหรับพนักงาน นอกจากที่องค์กรต้องสร้างวัฒธรรมองค์กรที่ดี และมอบประสบการณ์การทำงานที่ดีให้กับพนักงาน ยังต้องมีการสร้าง Employer Branding และมอบโอกาสในการเติบโตให้แก่พนักงานด้วย

สรุป

การที่จะดึงดูดคนเก่งให้เข้ามาร่วมงานในองค์กรนั้นสิ่งที่ต้องให้ความสนในไม่ได้มีแค่การเสนอเงินเดือนและสวัสดิการดี ๆ เท่านั้น แต่องค์กรเองก็จำ้ป็นต้องแสดงคุณค่าของตนเองออกมาให้ผู้สมัครเห็นด้วยเช่นกัน หวังว่าผู้อ่านจะสามารถนำกลยุทธ์ที่บอกไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้นะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขข้อสงสัยทำไมหลายคนเลือกใช้ Recruitment Agency ในเมื่อหางานเองได้

“ ถ้าต้องการหางานใหม่ต้องใช้เวลานานแค่ไหน ? “ คำถามที่ผู้หางานหลายคนคิดกับตัวเอง แน่นอนว่าการค้นหางานที่เหมาะกับตัวเองเป

Jo

15 Mar 2024 | 1 นาทีอ่าน

เคล็ดไม่ลับสำหรับองค์กร เพื่อลดจำนวนพนักงานลาออก !

ในยุคที่ตลาดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนงานบ่อยของพนักงานก็เป็นสิ่งที่พบเจอได้บ่อยมากขึ้น การทำงานในบริ

Jo

11 Mar 2024 | 1 นาทีอ่าน

เจาะลึกการเตรียมตัวสัมภาษณ์งานยังไงให้มืออาชีพ

การได้เตรียมตัวก่อนไปสัมภาษณ์งานจะช่วยให้เราได้เป็นผู้สมัครที่มืออาชีพขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์งานครั้งแรก หรือไม่ใช่

Jo

29 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

ทำไมกระบวนการ Onboarding ที่มีประสิทธิภาพถึงสำคัญกว่าที่คุณคิด

เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ไม่ว่าวิธีการทำงานจะเปลี่ยนไปขนาดไหน จะเป็นการทำงานแบบ Hybrid หรือ Flexible Work การมีพนักงานใหม่เข

Jo

23 Jan 2024 | 1 นาทีอ่าน

HR ห้ามพลาด! รวบรวมรูปแบบการให้โบนัสครอบคลุมสำหรับสาย Tech พร้อมวิธีคำนวณเพื่อนำไปปรับใช้ในองค์กร

เดินทางมาถึงสิ้นปีแล้ว มีพนักงานหลายคนที่กำลังรอคอยโบนัสสิ้นปีนี้จากบริษัทหลากหลายบริษัทอยู่ โบนัสเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้พ