อยากลาออก แต่เจ้านายรั้งไว้ด้วย Counter Offer แบบนี้ควรรับไหม ?

Jo

08 Sep 2023 | 1 นาทีอ่าน

Counter Offer คืออะไร ?

ข้อเสนอที่บริษัทปรับให้ เช่นเงินเดือนสวัสดิการต่างๆที่เคยมีให้เพิ่มขึ้นจากเท่าเดิม มีไว้ไม่ให้พนักงานคนนั้นลาออก ซึ่งจะทำให้พนักงานเกิดความลังเลหรือตัดสินใจไม่ถูก และสร้างความกดดันต่อพนักงาน  ทาง HR มักใช้ข้อเสนอนี้เพราะถ้าหาพนักงานใหม่อาจต้องสอนงานกันใหม่ เริ่มจากการอดทนใหม่และอาจเสียเวลาในการตามหาอีก  บริษัทจึงเลือกตัดปัญหาการลาออกด้วยการเสนอ Counter Offer เพื่อรั้งพนักงานไว้ให้ทำงานต่อองค์กรต่อไป

ทำไมเจ้านายต้องรั้งไว้ด้วย Counter Offer

เหตุผลหลักๆคือการรั้งคนเก่งไว้ไม่ให้ออกจากองค์กร การรั้งพนักงานที่มีความสามารถและไม่ต้องคอยสอนงานกันใหม่ไว้ องค์กรเองก็ไม่ต้องเสียเวลาไปตามหาพนักงานใหม่เพิ่ม เพราะกว่าจะหาคนได้นั้นอาจใช้เวลาถึงหลายเดือน และก็ไม่ต้องเสียเงินจ้างพนักงานใหม่ที่ต้องจ่ายเงินเดือนมากกว่าเดิมอีกด้วย พนักงานเก่าก็จะมีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมขององค์กร อดทนต่อความกดดันได้ดีกว่า ซึ่งปกติมักใช้กับพนักงานที่มีความสำคัญกับองค์กร เช่น พนักงานตำแหน่งระดับสูง ตำแหน่งที่มีคนมาแทนได้ยาก หรือตำแหน่งที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่สำคัญก็คือ ทุก ๆ การลาออกส่งผลกระทบรุนแรงต่อบริษัท 

เป็นการรักษาผลประโยชน์ขององค์กร เพราะจะไม่เสียเวลาในการจัดหาพนักงานใหม่

การหาพนักงานใหม่แต่ละครั้งอาจใช้เวลานาน บางตำแหน่งอาจใช้เวลาถึง 2 เดือน และเมื่อหาคนใหม่มาแทนก็จะต้องมีการสอนงานกันใหม่และปรับตัวกันใหม่ นั้นทำให้กว่าจะได้พนักงานที่ตรงใจและไม่ต้องเพิ่มตำแหน่งมาแทนพนักงานที่ลาออกไปนั้นทำได้ยากมาก องค์กรจึงอยากรักษาผลประโยชน์ทางเวลาตรงนี้ไว้ 

องค์ยังคงทำงานต่อไปได้อย่างไม่สะดุด

เมื่อคุณตัดสินใจลาออกไปนั้นทำให้งานที่ได้รับมอบหมายไว้นั้นต้องหยุดลง หรืออาจมีการโอนย้ายให้กับเพื่อนร่วมงานคนอื่น แต่ก็ทำให้เกิดการสะดุดในงานนั้น และอาจทำให้ส่งงานให้กับลูกค้าล่าช้า องค์กรก็จะต้องมานั่งหาคนทำงานในส่วนนั้นแทน บางงานอาจต้องปิดจบโดยที่ยังคงไม่เสร็จสมบูรณ์ 

หากคุณรับ Counter Offer ไว้ อาจต้องเจอสิ่งนี้

1.ความภักดีต่อองค์กรของคุณหายไป

ภาพจำที่คุณนั้นทำงานแบบถวายหัวให้บริษัทจะหายไปทันทีที่เรานั้นแจ้งลาออก ก็จะถูกแทนที่ด้วยความไม่แน่นอนที่เจ้านายมองมาว่าคุณจะยังไงต่อเพราะถ้ามีการยื่นลาออกครั้งแรกก็อาจมีครั้งที่สอง เขาอาจปฎิบัติกับคุณเช่นเดิมแต่ก็มีการเผื่อใจไว้เช่นกันว่าคุณอาจจะลาออกอีก ซึ่งหากมีการปรับตำแหน่งเขาอาจปรับให้กับคนที่ไม่เคยคิดจะลาออก คุณอาจไม่อยู่ในรายชื่อนั้นด้วยความไม่ไว้ใจและความไม่แน่นอนว่าคุณจะอยู่คู่บริษัทนี้อีกนานไหม

2.เกิดการผิดใจในหมู่พนักงาน เมื่อคนอื่นรู้ว่าพนักงานที่ได้รับข้อเสนอได้สิทธิประโยชน์เหนือกว่า

หากเพื่อนร่วมงานรู้ข่าวที่คุณลาออก คุณจะพบกับความอึดอัดใจในการทำงาน  และเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่ถูกนินทาในเรื่องข้อเสนอที่คุณได้รับ ซึ่งอาจจะเป็น “สิทธิพิเศษ” ที่ได้มากกว่าเพื่อนร่วมทีมของคุณอีกด้วย เหนื่อยกับงานคงไม่เท่าไหร่แต่หากต้องมาเหนื่อยกับคนการลาออกอาจเป็นการตัดสินใจที่ดีกว่าเพื่อไปเจอสังคมใหม่ๆ

3.ปัญหาเดิมๆยังคงอยู่ แม้จะได้รับข้อเสนอที่ดีกว่าเดิม 

การได้รับข้อเสนอใหม่ๆอาจไม่ได้ช่วยในการยุติปัญหาในที่ทำงานที่เป็นเหตุที่ทำให้คุณนั้นลาออกได้ ข้อเสนออาจเป็นเพียงความน่าสนใจชั่วคราวที่เข้ามา แต่หากคุณลองคิดดูดีๆ ปัญหาหนักใจอันเป็นเหตุที่ทำให้คุณนั้นตัดสินใจลาออกจะยังคงอยู่ต่อแม้ว่าคุณจะตอบตกลงรับข้อเสนอนั้นไปแล้ว 

4.การเลื่อนตำแหน่งของคุณอาจเป็นเพียงการพูดปากเปล่า

“หากเป็นเพียงแค่คำพูดปากเปล่าไม่ได้มีการทำเป็นลายลักษณ์อักษรมันอาจจะไม่เกิดขึ้นจริง” บางทีคุณอาจต้องรอนานเป็นปีกว่าเขานั้นจะเลื่อนตำแหน่งให้อีกด้วย คุณอาจจะต้องทนอยู่กับปัญหาหนักใจของคุณ กับภาระงานเท่าเดิม เงินเดือนเท่าเดิม แถมไม่มีวี่แววในการเลื่อนตำแหน่ง

5.บริษัทไม่ได้ให้ความสำคัญกับคุณตั้งแต่แรก

หากทางบริษัทเห็นคุณค่าของคุณตั้งแต่แรกจะทำการเลื่อนตำแหน่งให้คุณตั้งนานแล้ว ไม่รอให้เรานั้นตัดสินใจลาออก หรือรอให้เราสุดจะทนจริงๆถึงได้มีการเลื่อนให้  อีกอย่างค่าเฉลี่ยเงินเดือนที่เราทำอยู่อาจทำกว่าท้องตลาดที่เขานั้นให้กัน คุณอาจจะต้องเปรียบเทียบเงินเดือนตำแหน่งเดียวกันแค่คนละบริษัทได้แล้ว 

สรุป

ทุกการตัดสินใจของคุณนั้นควรคิดให้ดีและรอบคอบเพราะทุกกการตัดสินใจนั้นมีความเสี่ยง หากตัดสินใจพลาดอาจทำให้เรานั้นพลาดโอกาสดีๆที่เรานั้นตัดสินใจอยู่ต่อ เพียงเพราะติด Comfort Zone ของที่ทำงานเก่า เพราะ HR เขารับรู้วิธีในการแก้ไขปัญหานี้ แต่ตัวเรานั้นหากต้องเจอกับปัญหาที่เกิดจากการตัดสินใจผิดๆนั้น เราจะทำเช่นไร แต่ทาง Talance เชื่อว่าทุกคนนั้นมีวิธีปรับตัวและเอาตัวรอดกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอนอยู่แล้ว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บทความที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดไม่ลับสำหรับองค์กร เพื่อลดจำนวนพนักงานลาออก !

ในยุคที่ตลาดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนงานบ่อยของพนักงานก็เป็นสิ่งที่พบเจอได้บ่อยมากขึ้น การทำงานในบริ

Jo

11 Mar 2024 | 1 นาทีอ่าน

เจาะลึกการเตรียมตัวสัมภาษณ์งานยังไงให้มืออาชีพ

การได้เตรียมตัวก่อนไปสัมภาษณ์งานจะช่วยให้เราได้เป็นผู้สมัครที่มืออาชีพขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์งานครั้งแรก หรือไม่ใช่

Jo

29 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ด้วยรูปแบบ Job Sharing

การแบ่งงาน เป็นอีกวิธีที่ช่วยยืดหยุ่นการทำงานให้แก่พนักงานได้ดี สถานประกอบการใช้วิธีนี้ในการเข้ามาช่วยทำงานให้แก่พนักงาน

Jo

20 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

ทำไมกระบวนการ Onboarding ที่มีประสิทธิภาพถึงสำคัญกว่าที่คุณคิด

เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ไม่ว่าวิธีการทำงานจะเปลี่ยนไปขนาดไหน จะเป็นการทำงานแบบ Hybrid หรือ Flexible Work การมีพนักงานใหม่เข