ฟรีแลนซ์ กับ สัญญา NDA

สัญญา NDA กับการจ้าง Freelance Developer สำคัญแค่ไหน

admin

16 Feb 2022 | 1 นาทีอ่าน

จ้าง Freelance Developer แล้วจะรักษาความลับของงานหรือโปรเจกต์ไม่ให้รั่วไหลได้อย่างไร? สัญญา NDA คือ อะไร? สิ่งนี้เป็นสิ่งที่บริษัทหรือองค์กรส่วนใหญ่ต่างกังวลเป็นอย่างมาก ยิ่งหากว่าซอฟแวร์หลักนั้นเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวหน้าและมีคู่แข่งในตลาดจำนวนมาก ยิ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง

แต่จริง ๆ แล้วนอกจากสัญญาการจ้งงานทั่วไปยังมีสัญญารักษาความลับ (NDA) หรือ Non-disclosure Agreement ที่จะคอยควบคุมไม่ให้ฟรีแลนซ์หรือคนที่รับงานไปทำนั้นนำความลับภายในบริษัทออกสู่บุคคลภายนอก เช่น การส่งไฟล์งาน ถ่ายภาพหน้าจอ หรือแม้กระทั่งจดจำเพื่อไปพัฒนาสู่บริษัทของตนเอง

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีการรักษาข้อมูลของบริษัทนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลของบริษัทถือเป็นทรัพย์สินที่สำคัญหากรั่วไหลหรือถูกนำไปเผยแพร่แล้วอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรงของคุณจนอาจสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงได้ ยิ่งหากข้อมูลดังกล่าวหลุดไปสู่คู่แข่งทางการตลาดของคุณแล้วนั้นเปรียบเสมือนได้ดั่ง Unique advantages ของคุณสูญหายทันที ดังนั้นการทำสัญญา NDA จะเป็นอีกช่องทางที่จะช่วยรักษาข้อมูลให้ปลอดภัยอยู่เสมอ

สัญญา NDA คืออะไร?

NDA (Non-disclosure Agreement) หรือ สัญญารักษาความลับ คือ สัญญาทางกฎหมายที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์จะดำเนินธุรกิจร่วมกัน โดยตกลงว่าจะไม่เปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลที่สามอันเป็นข้อมูลที่ได้รับความคุ้มครองโดยเฉพาะตามสัญญานี้ ซึ่งสัญญา NDA ออกแบบมาเพื่อปกป้องข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับกรรมสิทธิ์ที่อาจมีการแลกเปลี่ยนกันของทั้งสองฝ่ายนั่นเอง โดยข้อมูลในสัญญา NDA มักมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้

  • วันและสถานที่ทำสัญญา
  • ตัวตนของ “ผู้ให้ข้อมูล” และ “ผู้รับข้อมูล” (บางแห่งจะเรียก 1-way หรือ 2-way)
  • จุดประสงค์ของการทำสัญญา NDA
  • ความหมายของข้อมูลที่เป็นความลับ
  • ขอบเขตการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความลับ
  • ระยะเวลาที่มีผลบังคับใช้และคุ้มครองภายใต้สัญญา NDA
  • เงื่อนไขอื่น ๆ เช่น การเรียกร้องค่าเสียหายกรณีผิดเงื่อนไขสัญญา

นอกจากนี้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรขอเอกสารแสดงตัวตนจากอีกฝ่าย เช่น สำเนาบัตรประชาชนที่รับรองสำเนาถูกต้อง มาเก็บไว้ประกอบสัญญาเพื่อเป็นหลักฐานว่าคู่สัญญามีตัวตนจริง และควรจัดทำสัญญารักษาความลับเป็น 2 ฉบับหรือมากกว่าเพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้เก็บไว้อ้างอิงและใช้เป็นหลักฐานได้ โดยภายในสัญญาควรจะลงนามโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายและมีพยานร่วมลงนามด้วย

สัญญา NDA ช่วยบริษัทอย่างไร?

สัญญา NDA จะช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญของบริษัทจะไม่รั่วไปออกสู่ภายนอก ไม่ว่าจะเป็น สูตรยา กระบวนการพัฒนาซอฟแวร์ ซอร์สโค้ด และโมเดลธุรกิจ ซึ่งหากมีการทำสัญญา NDA แล้วจะสามารถป้องกันให้ผู้ไม่หวังดีนำความลับที่สำคัญไปเผยแพร่หรือใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ดีได้

ทั้งนี้หากคู่สัญญากระทำผิดต่อสัญญา NDA แล้วนั้น จะต้องชดใช้ค่าเสียหายตามที่ได้กำหนดในสัญญา หรืออาจมีความผิดตามกฎหมายตามมาอีกด้วย ยิ่งหากเป็นการกระทำผิดที่เข้าข่ายการเปิดเผยความลับที่ผิดต่อสิทธิบัตรหรือทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว โดยความผิดตามกฎหมายดังกล่าวนั้นจะเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายดังต่อไปนี้ 

  1. ประมวลกฎหมายอาญา หมวด 2 ความผิดฐานเปิดเผยความลับ มาตรา 322-325 ซึ่งมีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  2. พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 ได้บัญญัติคำนิยามคำว่าความลับทางการค้า (Trade Secret) หากข้อมูลที่เป็นความลับมีความหมายภายใต้คำนิยามนี้ ข้อมูลดังกล่าวก็จะอยู่ภายใต้กฎหมายด้วยเช่นกัน

หากขาดสัญญา NDA

แน่นอนว่าหากขาดสัญญา NDA นั้นย่อมมีผลกระทบตามมาต่อธุรกิจอย่างแน่นอนเนื่องจากอาจมีความเสี่ยงจากการถูกเผยแพร่ความลับสู่สาธารณชนหรือคู่แข่งทางการตลาด อีกทั้งยังอาจส่งผลต่อความปลอดภัยต่อข้อมูลของผู้ใช้งานที่จะผิดหลัก PDPA ในอนาคตอีกด้วย ซึ่งทำให้อาจมีการฟ้องร้องต่าง ๆ เกิดขึ้นตามมาและสร้างความเสียหายให้กับบริษัทเป็นอย่างมาก 

แต่ถึงจะทำสัญญา NDA แล้วก็ตามแต่หากเกิดข้อผิดพลาดในการทำสัญญาที่ไม่ละเอียดนั้นก็เปรียบเสมือนกับการขาดสัญญา NDA เช่นเดียวกัน ซึ่งผู้ไม่หวังดีอาจใช้ช่องโหว่ดังกล่าวในการสร้างความเสียภายในภายหลังได้ โดยวันนี้ Talance จะมาแชร์ 7 สิ่งที่ผู้ทำสัญญา NDA มักผิดพลาดกันเยอะที่สุด ได้แก่

ขาดการระบุที่ชัดเจนใน NDA

สิ่งที่สำคัญที่สุดของสัญญา NDA คือการตรวจสอบรายละเอียดเรื่องข้อมูลทั้งหมดให้รอบคอบ ไม่เช่นนั้นคุณจะไม่สามารถใช้เป็นข้อโต้แย้งในชั้นศาลได้หากเกิดเหตุการณ์ใดๆขึ้น

ขาดขั้นตอนการบังคับใช้

ไม่ใช่แค่รายละเอียดที่รัดกุมเท่านั้น การระบุขั้นตอนการบังคับใช้ก็สำคัญเช่นกัน จะเกิดอะไรขึ้นหากคู่สัญญาของคุณเกิดละเมิดกฎข้อนี้ขึ้นมา เพราะฉะนั้นอย่าลืมที่จะบังคับใช้เพื่อทำให้คู่สัญญายินยอมทำตามข้อตกลงอย่างตรงไปตรงมา

ไม่ระบุข้อยกเว้น

หลายครั้งที่ศาลไม่สามารถตัดสินเหตุการณ์ใดก็ตามที่ผิดแปลกไปจากปกติ ซึ่งนั่นหมายความว่าคุณจำเป็นจะต้องกำหนดข้อยกเว้นบางอย่างในสัญญาเพื่อปกป้องสิทธิที่ควรจะได้รับของคุณ เช่น อนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลที่เป็นสาธารณะอยู่แล้ว หรือข้อมูลใดๆที่ได้รับความเห็นชอบและเซ็นรับทราบจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง

ระบุไม่ได้ว่าอะไรคือความลับ

ความหมายของข้อสัญญา NDA คือการห้ามเปิดเผยข้อมูลอันเป็นความลับ แต่บางครั้งก็เกิดปัญหาว่า แล้วอะไรล่ะที่เรียกว่า”ความลับ” ดังนั้นคุณต้องระบุให้ชัดเจนในสัญญาเลยว่าข้อมูลอันเป็นความลับนั้นได้แก่อะไรบ้าง และควรร่างนโยบายของบริษัทให้มีความเด็ดขาด ชัดเจน ถ้าหากคุณมีการอนุญาตให้พนักงานนำข้อมูลกลับไปจัดการที่บ้านได้ หรือแม้กระทั่งสร้างสำเนาขึ้นมา ศาลอาจพิจารณาได้ว่าสัญญาของคุณมีความหละหลวมเกินไป

เอกสารผิดพลาด

เรื่องใหญ่ที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยอย่างการสะกดชื่อบริษัทผิด หรือแม้กระทั่งใช้คำย่อผิดนั้นส่งผลให้ข้อสัญญาของคุณไม่สมบูรณ์ จึงควรตรวจสอบให้ถี่ถ้วนในทุกๆครั้ง

ลงนามผิดชีวิตเปลี่ยน

ใน NDA ใดๆก็ตาม จะต้องลงนามด้วยชื่อของผู้ที่มีสิทธิพร้อมด้วยหน้าที่ในการตัดสินใจเรื่องนั้นๆ ไม่เช่นนั้นคุณจะเรียกร้องอะไรไม่ได้เลยหากมีใครพยายามละเมิดสัญญานี้ขึ้นมา

สัญญา NDA สูญหาย

เอกสาร NDA ก็เปรียบเสมือนเอกสารฉบับหนึ่งที่มีวันหมดอายุหรือวันที่สัญญานั้นไม่มีผลบังคับทางกฎหมายอีกต่อไป รวมไปถึงการสูญหายระหว่างการจัดเก็บด้วย คุณจึงควรแน่ใจว่าสัญญาที่อยู่ในมือนั้นมีสภาพสมบูรณ์และยังมีผลบังคับใช้อยู่จริงๆ การมีระบบจัดการเอกสารที่ดีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก

สรุป

NDA คือ สิ่งที่จะสามารถเข้ามาช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถจ้างฟรีแลนซ์ได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และจะช่วยให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยจากสถานการณ์ความลับรั่วไหลที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้ โดยหากคุณไม่ได้ NDA นั้นและกำลังมองหาทางเลือกอื่น ๆ นั้นก็ไม่อาจทำให้ “ความลับ” ของคุณรับประกันหรือการันตีได้อย่าง 100% แน่นอน ซึ่ง Talance ได้เตรียมสัญญา NDA ไว้สำหรับบริษัทต่าง ๆ แล้วเป็นที่เรียบร้อย

หากคุณอยากร่วมเดินทางไปกับเรา หาฟรีแลนซ์ หรือ สมัครเป็นฟรีแลนซ์ พร้อมก้าวเข้าไปกับแพลตฟอร์มสำหรับ Developer ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและตอบโจทย์มากกว่าที่เคยมีมากับเราได้แล้วที่นี่

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตอบคำถามที่ HR ควรรู้ Employer Branding คืออะไร ? ทำแล้วได้อะไรบ้าง ?

ตลาดการจ้างงานในปัจจุบันกำลังเข้าสู่สภาวะวิกฤต เนื่องจากพนักงานหลายคนต่างพากันลาออกจนเกิดการ Turnover Rate ซึ่งถือเป็นเร

Jo

06 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

ปัจจัยที่ทำให้คนเก่งลาออกสูง!พร้อมแนวทางรักษาบุคลากร

ปัจจุบันอาชีพสาย IT เป็นอาชีพที่มีความต้องการสูงสวนกระแสการ Layoff พนักงาน โดยมีสถิติต่างๆที่น่าสนใจดังนี้:  

Jo

27 Jul 2023 | 1 นาทีอ่าน

ทำไมองค์กรยุคใหม่ต้องเป็น Data-Driven Organization และมีความสําคัญอย่างไร

ในยุคที่ดิจิทัลเติบโตและเกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การมีข้อมูลที่แม่นยำเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ

Jo

26 May 2023 | 1 นาทีอ่าน

รู้จักใช้ Digital Technology ถ้าอยากให้ธุรกิจชนะคู่แข่ง

พฤติกรรมของลูกค้ากำลังเปลี่ยนแปลงไปในทุกวัน จากการค้นหาและการแชร์ข้อมูลสู่การซื้อผลิตภัณฑ์ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ ทำให้บริ

Jo

12 Mar 2023 | 1 นาทีอ่าน

How To Be Scalable Software House

หากคิดถึงการเติบโตของธุรกิจ คงหนีไม่พ้นแนวคิดการ Scaleup Business ซึ่งเป็นแนวคิดขั้นพื้นฐานที่บริษัทด้าน Technology หรือ