ตอบคำถามที่ HR ควรรู้ Employer Branding คืออะไร ? ทำแล้วได้อะไรบ้าง ?

Jo

06 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

ตลาดการจ้างงานในปัจจุบันกำลังเข้าสู่สภาวะวิกฤต เนื่องจากพนักงานหลายคนต่างพากันลาออกจนเกิดการ Turnover Rate ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าหนักใจ โดยเฉพาะกับ HR ที่มีหน้าที่ต้องตรวจสอบหาสาเหตุการลาออก และต้องเตรียมวิธีการรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น 

จากข้อมูลล่าสุดพบว่าในปี 2024 สาเหตุที่ทำให้เกิดการ Turnover Rate นั้นเกิดจากปัญหาหลายประการ มีตั้งแต่รูปแบบการทำงานที่ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป พนักงานไม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์กรได้เพราะขาดการ Onboarding ที่มีประสิทธิภาพ พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน Career Path ที่องค์กรมอบให้ไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังของพนักงานได้ ไปจนถึงบริษัทไม่รับฟังความคิดเห็นของพนักงาน

อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดปัญหาขึ้นสิ่งที่ชาว HR ต้องทำเป็นสิ่งต่อไปคือการเตรียมหาวิธีการเพื่อรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น และวิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยจัดการปัญหา Turnover Rate ได้นั่นคือการสร้าง Employer Branding ขึ้นมานั่นเอง แต่ Employer Branding คืออะไร แล้วจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ได้แค่ไหน มาร่วมศึกษาไปพร้อมกับ Talance กันเลย

Employer Branding คืออะไร?

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Employer Branding และอาจจะสงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่ Employer Branding หรือเรียกอีกอย่างว่า “การสร้างแบรนด์นายจ้าง” นั่นคือการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรและแสดงให้พนักงานและคนภายนอกรับรู้ ซึ่งภาพลักษณ์ที่ว่านั้นหมายถึง ค่านิยม (Value) วัฒนธรรมองค์กร (Culture) และคุณค่าที่พนักงานจะได้รับเมื่อร่วมทำงานในองค์กร (Employee Value of Preposition) พูดง่าย ๆ Employer Branding คือการสร้างภาพที่จะทำให้องค์กรกลายเป็นบริษัทในฝันที่ไม่ว่าใครก็อยากร่วมงานด้วย

ทำไมถึงต้องทำ Employer Branding?

แม้จะมีบางคนที่คิดว่าการทำ Employer Branding ไม่สำคัญ แต่จริง ๆ แล้ว การทำ Employer Branding จะทำให้พนักงานและบุคคลภายนอกเกิดภาพจำเชิงบวกเกี่ยวกับองค์กร ซึ่งนั่นหมายถึงหากมี Candidate ที่อยู่ระหว่างตัดสินใจเลือกงาน บริษัทที่มีภาพลักษณ์ดีและเป็นที่รู้จัก มีแนวโน้มที่จะถูกเลือกมากกว่า บริษัทอื่น ๆ 

การทำ Employer Branding นั้นนอกจากจะช่วยให้เกิดภาพจำเชิงบวกแก่บริษัทแล้ว ยังทำให้ทุกคนรู้จักและเข้าใจในบริบทของบริษัทมากขึ้น เพราะในการสร้าง Employer Branding ให้กับบริษัทนั้นจะมีการนำเสนอเกี่ยวกับบรรยากาศการทำงานภายในองค์กร กิจกรรมที่เปิดให้เข้าร่วม วัฒนธรรมภายในองค์กร ยิ่งมีการนำเสนอผ่านช่องทาง Social Media ร่วมด้วยก็ยิ่งทำให้คนจดจำและเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งมากขึ้นตามไปด้วย

ข้อดีของการสร้าง Employer Branding

พูดถึงเหตุผลว่าทำไมต้องสร้าง Employer Branding แล้ว ต่อไปก็มาดูผลลัพธ์หรือข้อดีที่เกิดจากการสร้าง Employer Branding กันบ้างดีกว่า 

1. ช่วยดึงดูดคนมีความสามารถให้มาร่วมงาน

อย่างที่บอกไปตอนแรกว่า ถ้าให้เลือกระหว่างบริษัทที่ที่ทำ Employer Branding จนเป็นที่รู้จัก มีภาพจำที่ดี กับบริษัทที่ไม่รู้อะไรเลยทั้งค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร ไม่ว่าใครก็เลือกอย่างแรกใช่ไหมล่ะ 

ลองมาดูตัวอย่างวิธีการใช้  Employer Branding เพื่อดึงดูดคนเก่ง ๆ มาร่วมงานกับองค์กรกัน

2. ช่วยลดอัตราการลาออก (Turnover Rate) 

สงสัยหล่ะสิว่าการทำ Employer Branding ที่เป็นการนำเสนอภาพลักษณ์ให้คนภายนอกเห็นเกี่ยวอะไรกับการลาออกของพนักงานภายใน ลองคิดดูดี ๆ ถ้าเป็นคุณจะเลือกลาออกจากบริษัทที่ใคร ๆ ก็มองว่าดี เป็นบริษัทในฝันหรือเปล่า ร้อยละ 99.99 คงตอบว่าไม่อย่างแน่นอน

จากข้อมูล LinkedIn ยังพบอีกว่า การสร้าง Employer Branding ที่ดี ช่วยให้พนักงานเต็มใจร่วมงานกับองค์กรได้ยาวนานขึ้น สามารถลดอัตราการลาออกของพนักงาน หรือ Turnover Rate ได้ถึง 28% และยังสามารถประหยัดต้นทุนในการจ้างงาน หรือ Save Cost Per Hire ได้ถึง 50% อีกด้วย

3. ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายให้กับบริษัท 

ถึงแม้เป้าหมายหลักของการทำ Employer Branding จะคือการนำเสนอภาพลักษณ์ของบริษัท แต่อีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือการดึงดูด Candidate ที่มีความสามารถสูงให้มาสมัครเพื่อเข้าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการที่มีผู้สมัครดำเนินการสมัครเข้ามาเองเป็นจำนวนมากนั้น คือการที่บริษัทได้ลดต้นทุนในการประกาศรับสมัครงานทั้งในด้านเวลาและด้านเงินลงทุน 

4. ช่วยให้ลูกค้าอยากสนับสนุนองค์กรต่อ

อย่างที่บอกว่าภาพลักษณ์ดี อะไรก็ดี ดูได้จากการที่หากมีบริษัทไหนที่มีการกระทำเรื่องที่ผิดศีลธรรม ปฏิบัติกับพนักงานอย่างไม่เป็นธรรม บริษัทแห่งนั้นมักจะโดนลูกค้าหรือผู้บริโภครวมกันคว่ำบาตร จนเกิดประเด็นร้อนในสังคมและนำไปสู่การสูญเสียทั้งชื่อเสียและรายได้มหาศาล แต่หากเป็นบริษัทที่มีภาพจำดี ๆ ผู้คนให้การสนับสนุน นั่นอาจเป็นทางลัดที่จะช่วยให้บริษัทสามารถเติบโตไปได้ไกลยิ่งขึ้น 

เทคนิคการสร้าง Employer Branding 

เห็นทั้งเหตุผลและข้อดีแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าการสร้าง Employer Branding ให้มีประสิทธิภาพต้องทำยังไง มาดูตรงนี้เลย

1. หา Value Proposition ของตัวเองให้เจอ

เริ่มจากการหา Value Proposition ของตัวเองก่อนเลย Value Proposition หรือ Core Values ของธุรกิจ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการทำ Employer Branding โดยปกติแล้วมักจะมีการใช้ค่านิยมในการขับเคลื่อนองค์กร ซึ่งค่านิยมนี้จะแตกต่างไปตามแต่ละบริษัทแต่ละองค์กร และค่านิยมนี้เองที่เป็นสิ่งที่เราจะใช้เพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ขององค์กรให้บุคคลภายนอกเห็นและรับทราบ ยกตัวอย่างค่านิยมขององค์กร  อาธิเช่น เรื่องของความเท่าเทียม ความหลากหลาย การสร้างนวัตกรรม ความโปร่งใส การเป็นองค์กรแห่งความรู้ การยึดเรื่องความซื่อสัตย์ แน่นอนว่าต้องเป็นค่านิยมที่ยึดตามจริง เพราะการปั้นแต่งเพื่อให้ตนเองดูดีมากจนเกินไปจะกลายเป็นข้อบกพร่องที่ส่งผลเสียแทน

2. ทำ Employer Brand Audit

หลายคนอาจสงสัยว่าการทำ Employer Brand Audit คืออะไร การทำ Employer Brand Audit คือการสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อบริษัท ทั้งจากพนักงานภายในองค์กร และบุคคลภายนอก โดยการสร้างแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการกล่าวถึง เพื่อนำความคิดเห็นนั้นมาปรับปรุงเพื่อให้บริษัทมี Employer Branding ที่ดีมากยิ่งขึ้น

3. ให้พนักงานมีส่วนร่วม

การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำ Employer Branding นั้นคือการทำให้พนักงานกลายเป็น Brand Advocate เช่น การให้พนักงานแบ่งปันความรู้สึกเกี่ยวกับองค์กรและการทำงาน จัดการบันทึกในรูปแบบวิดิโอ และแชร์ผ่านช่องทาง Social Media วิธีการนี้จะทำให้บุคคลภายนอกเกิดความรู้สึกด้านดี และเข้าในในตัวบริษัทมากยิ่งขึ้น

ยิ่งกับคนที่กำลังมองหางานใหม่ การที่ได้เห็นคลิปที่เป็นการแสดงความรู้สึกจากพนักงานต่อองค์กร ยิ่งทำให้ตัดสินใจสมัครเข้าร่วมได้ง่ายยิ่งขึ้น ถือเป็นการดึงดูดคนที่ดีอีกทางหนึ่งเลยทีเดียว

4. รับฟังความคิดเห็นของพนักงาน

การรับฟังความคิดเห็นของพนักงานภายในองค์กรเองก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในการทำ Employer Branding โดยเฉพาะความคิดเห็นด้านลบที่มีต่อองค์กรยิ่งไม่ควรปล่อยผ่าน สิ่งที่ต้องทำคือการนำความคิดเห็นเหล่านั้นมาพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้น อีกอย่างการรับฟังความคิดเห็นของพนักงานจะทำให้พนักงานอยากเป็นส่วนหนึ่งขององค์ก่อนไปอีกนาน และช่วยลดอัตราการ Turnover Rate อีกด้วย

5. สร้าง First Impression ให้ดี

ใครว่า  First Impression ไม่สำคัญต้องคิดใหม่ด่วน ๆ เลย โดยเฉพาะกับพนักงานใหม่ที่พึ่งเริ่มงานมาเป็นวันแรก เพราะถ้าหากพนักงานใหม่เกิดรู้สึกว่าองค์กรไม่ใส่ใจจนเกิดความรู้สึกเชิงลบตั้งแต่วันเเรก นั่นอาจจะทำให้พวกเขามีโอกาสในการหาตัวเลือกการทำงานที่ใหม่ได้ในทันที ดังนั้นคุณควรมีการวางแผนสำหรับต้อนรับพนักงานใหม่อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การ Orientation การต้อนรับพนักงาน การแนะนำทีมงาน และการ Onboarding ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้จะช่วยให้พนักงานรู้สึกดีและอยากร่วมงานกับองค์กรต่อไป

6. บอกเล่าเรื่องราวให้น่าประทับใจ

การบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวบริษัทเองก็เป็นจุดสำคัญที่ห้ามมองข้าม เพราะการทำ Employer Branding นั่นคือการนำเสนอภาพลักษณ์องค์กร การบอกที่มาที่ไปขององค์กรเลยสำคัญ ควรมีการสร้างหน้าเว็บไซต์เพื่อรับสมัครงานที่มีรายละเอียดอย่างชัดเจน มีการเล่าเรื่องราวของธุรกิจ คำอธิบายหน้าที่งาน รวมไปถึงสิ่งที่พนักงานจะได้รับหากได้รับเลือกเข้ามาทำงาน และกิจกรรมที่เปิดให้พนักงานเข้าร่วมด้วย 

7. ใช้ Social Media เป็นเครื่องมือ

Social Media ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำ Employer Branding เพราะเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุด และเป็นสิ่งที่บริษัทระดับโลกเลือกใช้เมื่อต้องทำ Employer Branding ทั้งในรูปแบบของโพสต์โปรโมทหรือคลิปวิดิโอก็สามารถใช้ได้ และเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ

8. สนับสนุนการเรียนรู้

เพราะชีวิตคือการเรียนรู้ หากอยากก้าวหน้าต้องมีการเรียนรู้และพัฒนาทักษะอยู่เสมอ ดังนั้นการที่บริษัทให้การสนับสนุนโดยการเสนอคอร์สเรียน หรือให้ความรู้ใหม่ ๆ แก่พนักงานจะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกดี และมีการพัฒนาทักษะเพื่อใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

9. ซื่อสัตย์และจริงใจ

แน่นอนว่าการนำเสนอภาพลักษณ์ของบริษัทที่ทำให้คนเกิดความรู้สึกดี ๆ ด้วยต้องเริ่มมาจากความจริงใจของผู้นำเสนอก่อนเลย มันไม่ผิดที่อยากเสนอแต่ด้านดี ๆ แต่การนำเสนอนั้นต้องเป็นไปด้วยความซื่อสัตย์ เพราะหากสิ่งที่นำเสนอออกไปกับความเป็นจริงไม่ตรงกัน จะทำให้เกิดความรู้สึกด้านลบแทน ซึ่งสิ่งนั้นไม่ดีต่อองค์กรเลยไม่ว่าจะทางไหนก็ตาม

Case Study

ถ้ายังไม่เห็นภาพก็ลองมาดูตัวอย่างการทำ Employer Branding ของบริษัทระดับโลกกัน 

Case 1 : Netflix

Netflix เป็นหนึ่งในแบรนด์นายจ้างที่ได้รับคะแนนสูงสุดใน Glassdoor ซึ่งบริษัทเป็นที่รู้จักในเรื่องของการสนับสนุนพนักงาน อย่างแรกพนักงานในบริษัท ไม่ได้ถูกจัดตารางการทำงานหรือแม้แต่กำหนดชั่วโมงขั้นต่ำในการทำงานต่อสัปดาห์ ซึ่ง Netflix ขอเพียงให้พนักงานสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสิ้นได้ก็พอ บริษัทยังเสนอเวลาพักผ่อนแบบไม่จำกัดให้กับพนักงาน โดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลในการลาพักร้อน นอกจากนี้บริษัทยังมีการสนับสนุนให้พ่อแม่มือใหม่สามารถลางานได 1 ปีเต็มเพื่อเลี้ยงดูบุตร

โดย Netflix กล่าวว่า “hire, reward and tolerate only fully-formed adults.” ซึ่งหมายความว่า Netflix ต้องการดึงดูดพนักงานที่มีความซื่อสัตย์ โดยที่ไม่ต้องการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดในการทำงาน ซึ่งบริษัทได้แสดงให้เห็นว่าการให้ความสำคัญกับพนักงาน เป็นอีกวิธีหนึ่งในการปฏิบัติต่อพวกเขาด้วยความเคารพและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน และนี่ก็เป็นเหตุผลที่ทำให้ Netflix เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีในการสร้างแบรนด์นายจ้าง

Case 2 : Marriott International

Marriott International (แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล ได้สร้างแบรนด์นายจ้างตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับพนักงาน ในการสร้างความพัฒนาและการเติบโตให้กับพนักงาน โดยให้ความสำคัญกับการศึกษาต่อ และสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพภายในบริษัท โดย Marriott ได้มีโปรแกรมสำหรับการฝึกอบรมแบบตัวต่อตัวให้กับพนักงานเพื่อสนับสนุนพนักงาน ซึ่งโปรแกรมเพื่อพัฒนาพนักงานเหล่านี้ เป็นการช่วยให้พนักงานได้เรียนรู้ทักษะด้านอารมณ์ เทคนิคการเป็นผู้นำ และจัดความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน

  • โปรแกรมที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ Voyage Global Leadership Development Program ซึ่งได้รับการออกแบบมา เพื่อช่วยให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย สามารถเริ่มต้นการทำงานในเครือ Marriott และเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตที่สดใสในอุตสาหกรรมการบริการ

เนื่องจากการมอบโอกาสมากมายและศักยภาพในการเติบโตให้กับพนักงาน บริษัทจึงเป็นที่รู้จักในฐานะ สถานที่ที่ดีในการเริ่มต้นและพัฒนาอาชีพ จากข้อมูลระบุว่า 17% ของพนักงาน Marriott ทำงานที่บริษัทเป็นระยะเวลามากว่า 20 ปี

(ขอบคุณข้อมูลจาก : WorkVenture)

สรุป

การสร้าง Employer Branding เพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรมีข้อดีมากมาย ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมก็จริง แต่สิ่งเหล่านี้ต้องเริ่มจากตัวองค์กรเองก่อน เพราะหากองค์กรไม่รับฟังและปรับปรุงข้อเสียที่มี ต่อให้จะทำ Employer Branding ออกมาได้ดีแค่ไหนก็ไม่สามารถได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการอยู่ดี ดังนั้นลองเริ่มจากการรับฟังความคิดเห็นจากพนักงานภายในองค์กรก่อน หากคุณปฏิบัติกับพนักงานดี เราเชื่อว่าคุณจะกลายเป็นบริษัทในฝันได้ในไม่ช้านี้อย่างแน่นอน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยที่ทำให้คนเก่งลาออกสูง!พร้อมแนวทางรักษาบุคลากร

ปัจจุบันอาชีพสาย IT เป็นอาชีพที่มีความต้องการสูงสวนกระแสการ Layoff พนักงาน โดยมีสถิติต่างๆที่น่าสนใจดังนี้:  

Jo

27 Jul 2023 | 1 นาทีอ่าน

ทำไมองค์กรยุคใหม่ต้องเป็น Data-Driven Organization และมีความสําคัญอย่างไร

ในยุคที่ดิจิทัลเติบโตและเกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การมีข้อมูลที่แม่นยำเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ

Jo

26 May 2023 | 1 นาทีอ่าน

รู้จักใช้ Digital Technology ถ้าอยากให้ธุรกิจชนะคู่แข่ง

พฤติกรรมของลูกค้ากำลังเปลี่ยนแปลงไปในทุกวัน จากการค้นหาและการแชร์ข้อมูลสู่การซื้อผลิตภัณฑ์ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ ทำให้บริ

Jo

12 Mar 2023 | 1 นาทีอ่าน

How To Be Scalable Software House

หากคิดถึงการเติบโตของธุรกิจ คงหนีไม่พ้นแนวคิดการ Scaleup Business ซึ่งเป็นแนวคิดขั้นพื้นฐานที่บริษัทด้าน Technology หรือ

Jo

19 Feb 2023 | 1 นาทีอ่าน

รู้จักกับ Total Experience (TX) กลยุทธ์การสร้างประสบการณ์แบบครบวงจร

เมื่อเอ่ยถึง Total Experience (TX) หลายคนอาจไม่คุ้นชินหรือรู้จักมันมากนัก แต่จริง ๆ แล้วใครจะรู้ว่าสิ่งที่เรียกว่า TX ได