เริ่มงานใหม่อย่างไร ? ให้ประสบความสำเร็จ!!!

Jo

15 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับการเริ่มงานใหม่ของทุกคนด้วยนะคะ แน่นอนว่าการเริ่มงานใหม่ก็เหมือนกับการเริ่มต้นใหม่ ต้องเจอกับสภาพแวดล้อมใหม่ เพื่อนร่วมงานใหม่ หัวหน้าคนใหม่ รวมถึงความท้าทายใหม่ ๆ ที่มาพร้อมความก้าวหน้าในอาชีพที่มากขึ้น และความรับผิดชอบที่มากขึ้นตามไปด้วย แต่ถึงแม้ว่าจะได้เริ่มงานใหม่แล้วก็อย่าพึ่งวางใจ เพราะสิ่งที่ต้องทำต่อจากนี้คือการประสบความสำเร็จในที่ทำงานใหม่ และในบทความนี้ Talance มีคำแนะนำที่จะทำให้การเริ่มงานใหม่ของทุกคนประสบความสำเร็จ

1.แนะนำตัวและสร้างความคุ้นเคย

สิ่งแรกที่ต้องทำคือการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเริ่มงาน ทั้งคำพูดที่ใช้แนะนำตัวและเตรียมตอบคำถามที่อาจต้องเจอ ให้ความสนใจกับการสำรวจสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ทักทายและสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานที่พบเจอ รับฟังเรื่องราวที่เกี่ยวกับบริษัท พนักงาน อาคาร สภาพแวดล้อม ทำความรู้จักและจดจำชื่อบุคคลสำคัญหรือผู้บริหารระดับสูง ทางที่ดีควรจดบันทึกสิ่งสำคัญไว้เพื่อป้องกันการหลงลืม แต่ถ้าเกิดว่าคุณดันลืมชื่อผู้ร่วมงานขึ้นมาจริง ๆ ก็ไม่ต้องตกใจไปเพราะถึงยังไงก็เป็นเรื่องยากที่จะจำชื่อของทุกคนได้ในครั้งเดียว

2.ตั้งคำถามจากสิ่งที่สงสัย

ในการเริ่มงานใหม่เป็นปกติที่จะมีความไม่คุ้นชินจากทั้งสภาพแวดล้อมและรูปแบบการทำงาน จนทำให้คุณเกิดคำถามและข้อสงสัยขึ้น สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรกคือการจดบันทึกคำถามและข้อสงสัยที่มีเอาไว้ก่อน ถ้ามีคำถามเยอะและต้องใช้เวลาควรมีการนัดหมายเพื่อพูดคุยกัน วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถเข้าใจกระบวนการทำงานได้ดีขึ้น

3.ทำความรู้จักเพื่อนร่วมงานให้มากขึ้น

เคยมีคนบอกว่าคนเราจะสนิทกันมากขึ้นถ้าได้ใช้เวลาร่วมกันในชีวิตการทำงานเองก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน และเวลาที่เหมาะสมในการทำความรู้จักกันก็คงไม่พ้นช่วงพักทานอาหาร ถ้าคุณอยากเพิ่มความสนิทสนมให้มากขึ้นก็ลองชวนเพื่อนร่วมงานไปทานขนมหรือจิบกาแฟด้วยกันสักแก้วสิ รับรองได้เลยว่าเพื่อนร่วมงานจะมีความประทับใจที่ดีกับคุณมากขึ้นแน่นอน

4.ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

ทางที่ง่ายที่สุดที่จะช่วยให้คุณปรับตัวเข้ากับที่ทำงานใหม่ก็คือการที่คุณรู้จักและคุ้นเคยกับเพื่อนร่วมงานนั่นเอง ในสัปดาห์แรกของการทำงานคุณควรพยายามทำความรู้จักและพบเจอเพื่อนร่วมงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมขององค์กร โครงสร้างบริษัท หน้าที่ความรับผิดชอบในแต่ละแผนก อาจจะดูน่าปวดหัวแต่ถ้าคุณทำได้มันจะจะช่วยให้คุณสามารถปรับตัวและกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ได้ดีขึ้น

5.แสดงผลงานให้เร็ว

เป็นธรรมดาที่คนมาใหม่มักจะโดนจับตามองจากคนอื่น ๆ ยิ่งในบริษัทที่มีการเเข่งขันสูงแล้วด้วย แต่อย่าพึ่งกังวลไปเพราะสิ่งที่คุณต้องทำก็มีแค่ตั้งใจทำงานให้ดีที่สุด แสดงศักยภาพของคุณออกมาอย่างเต็มที่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด นำเสนอจุดแข็งของตัวเองออกมาเป็นผลงานให้คนอื่นเห็น ไม่จำเป็นต้องเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่มากจนกลายเป็นการกดดันตนเอง แค่ทำให้เต็มที่ก็เพียงพอแล้ว

6.ตอบรับความคาดหวังในหน้าที่

เพื่อให้การเริ่มงานใหม่ของคุณประสบความสำเร็จ ควรเริ่มจากการตอบรับความคาดหวังที่หัวหน้าหรือองค์กรคาดหวังให้ได้ก่อน อย่างแรกคือต้องรู้เป้าหมายของบริษัทก่อนว่าบริษัทต้องการอะไรและคาดหวังอะไรจากคุณ เพื่อให้คุณสามารถวางแผนการทำงาน และดำเนินการไปตามเส้นทางที่ถูกต้อง มันจะช่วยให้คุณสามารถเติบโตทั้งในด้านประสบการณ์การทำงานและความก้าวหน้าในสายอาชีพ

7.เปิดกว้างรับทุกความคิดเห็น

ความเข้ากันได้กับวัฒนธรรมองค์กรเองก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ตัดสินว่าคุณจะสามารถประสบความสำเร็จในงานใหม่หรือไม่ ดังนั้นคุณควรพยายามทำความเข้าใจในจุดนี้ หากคุณไม่เข้าใจในส่วนไหน การถามกับผู้รู้หรือเพื่อนร่วมงานเองก็คงจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง ที่สำคัญเลยคือความยืดหยุ่นและทัศนคติที่เปิดกว้าง พร้อมรับฟังและเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับแต่ละสถานการณ์ ถ้าคุณทำได้เชื่อเถอะว่าคุณจะประสบความสำเร็จในงานใหม่ได้อย่างแน่นอน

8.กำหนดเป้าหมายและขอบเขตในการทำงาน

ในฐานะพนักงานใหม่โดยเฉพาะคนที่ยังไม่ผ่านช่วงทดลองงาน ควรมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน และสร้างเป้าหมายที่ต้องทำให้สำเร็จ ไม่ควรมีการทำงานอื่นที่นอกเหนือขอบเขตความรับผิดชอบ เพราะการผิดชอบงานที่มากเกินไป อาจทำให้รู้สึกกดดันจนเป็นผลให้ศักยภาพในการทำงานลดลง ถ้าคุณรู้สึกว่าสิ่งที่ทำไม่ใช่หน้าที่ของคุณ คุณแค่ต้องรู้จักปฏิเสธอย่างอ่อนโยนเพียงเท่านั้น ต้องอย่าลืมว่าคุณเองก็มีเป้าหมายของตัวเองอยู่แล้ว ที่ต้องทำก็มีแค่การทำให้เป้าหมายของตนสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

9.ตรวจสอบผลลัพธ์การทำงานในไตรมาสแรก

หลังผ่านการทำงานอย่างหนักหน่วงในช่วงแรกมาแล้ว นั่นหมายถึงคุณผ่านช่วงทดลองงานมาแล้ว คุณควรตรวจสอบและติดตามผลการทำงานของตัวเองในตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร พูดคุยและขอคำแนะนำจากหัวหน้าที่รับผิดชอบดูแลคุณ ถึงประสิทธิภาพการทำงานและผลลัพธ์จากการทำงานที่ผ่านมา ว่าสามารถตอบสนองต่อความคาดหวังที่มีต่อคุณได้หรือยัง ถ้าหากคุณทำได้ดีแล้วการได้รับคำติชมจะทำให้คุณมีกำลังใจมากขึ้น หรือหากยังทำได้ไม่ดีพอการได้รับฟังข้อผิดพลาดจะช่วยให้คุณสามารถปรับปรุงตัวและแก้ไขความผิดพลาดได้ดีขึ้น

10.เผชิญหน้ากับข้อผิดพลาด

ถึงจะพยายามอย่างสุดความสามารถแล้วก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่เกิดข้อผิดพลาดขึ้น ยิ่งถ้าเป็นงานใหม่ที่พึ่งได้รับผิดชอบ การจะทำให้ประสบความสำเร็จทันทีแบบ 100% คงเป็นเรื่องที่เกินมือไปหน่อย ดังนั้นอย่าพึ่งท้อแท้กับปัญหาที่พบเจอ ให้โฟกัสไปที่เป้าหมายจะดีกว่า หาวิธีและกลยุทธ์ที่จะทำให้เป้าหมายของคุณประสบความสำเร็จ เพราะถึงยังไงสิ่งนี้ก็ถือเป็นความท้าทายที่ได้มาจากการทำงานใหม่ และมันจะทำให้อนาคตของคุณสดใสอย่างแน่นอน

สรุป

การเริ่มงานใหม่และปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่อาจเป็นเรื่องยาก แต่ก็เป็นเส้นทางที่จะทำให้คุณได้ค้นพบประสบการณ์ใหม่และความท้าทายใหม่ที่น่าตื่นเต้นด้วยเช่นกัน ขอแค่คุณมีเป้าหมายที่ชัดเจนและมีความพยายามที่จะทำให้เป้าหมายนั้นประสบความสำเร็จ เราเชื่อว่าการเริ่มต้นงานใหม่ของคุณในครั้งนี้ต้องประสบความสำเร็จแน่นอน 100%

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขข้อสงสัยทำไมหลายคนเลือกใช้ Recruitment Agency ในเมื่อหางานเองได้

“ ถ้าต้องการหางานใหม่ต้องใช้เวลานานแค่ไหน ? “ คำถามที่ผู้หางานหลายคนคิดกับตัวเอง แน่นอนว่าการค้นหางานที่เหมาะกับตัวเองเป

Jo

15 Mar 2024 | 1 นาทีอ่าน

แนะนำ 7 ทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงาน ถ้าอยากก้าวหน้าในอนาคต

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น ทำให้พนักงานต้องเรี

Jo

05 Mar 2024 | 1 นาทีอ่าน

ทำไมกระบวนการ Onboarding ที่มีประสิทธิภาพถึงสำคัญกว่าที่คุณคิด

เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ไม่ว่าวิธีการทำงานจะเปลี่ยนไปขนาดไหน จะเป็นการทำงานแบบ Hybrid หรือ Flexible Work การมีพนักงานใหม่เข

Jo

23 Jan 2024 | 1 นาทีอ่าน

เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง! แนะนำตัวในการสัมภาษณ์งานยังไง ให้ HR อยากสัมภาษณ์ต่อ

การสัมภาษณ์งานเป็นเหมือนด่านเเรกที่เราต้องเผชิญเมื่อเข้าสู่ชีวิตการทำงาน การที่จะเป็นผู้ถูกเลือกหรือไม่ขึ้นอยู่กับขั้นตอ

Jo

29 Dec 2023 | 1 นาทีอ่าน