UX/UI Designer

UX/UI Tips to Reduce Users’ Cognitive Overload and Burnout 

Jo

18 Jan 2023 | 1 นาทีอ่าน

UX/UI Designer หรือนักออกแบบเว็บไซต์ เป็นอีกหนึ่งในสายงาน Tech ที่ท้าทายความสามารถของนักออกแบบ และมีความกดดันในเรื่องการออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะกับ User ที่จะเข้ามาใช้บริการ แต่ถึงอย่างไรก็ตามสายงานนี้ก็ยังคงเป็นหนึ่งในสายงานที่มีผู้สนใจทำเป็นจำนวนมาก อีกทั้งเป็นสายงานที่มีความต้องการสูงในตลาด IT อีกสายงานหนึ่งเลยก็ว่าได้

แน่นอนว่าทุกๆสายงาน มักพบกับอุปสรรคระหว่างกระบวนการทำงาน การเป็น UX/UI Designer ก็สามารถพบเจอปัญหาเหล่านี้ได้เช่นกัน 

ยกตัวอย่าง 

  • ไม่รู้ว่าจะหา User need ที่ถูกต้องได้อย่างไร 
  • ตีโจทย์การทำเว็บไซต์นั้นๆ ได้ไม่ดีพอ
  • มีการสื่อสารระหว่างคนในทีมที่ไม่ดีทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน

ถ้าเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น การออกแบบเว็บไซต์ของเราจะเกิดการติดขัดในระหว่างการทำงาน และเว็บไซต์ที่ได้อาจจะทำให้ User ที่เข้ามาใช้งาน เข้าใจผิดจากวัตถุประสงค์เดิมที่เราตั้งใจเอาไว้ หรือ User ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจตัวเว็บไซต์ของเรา ทำให้อาจจะต้องมานั่งตอบคำถามให้กับ User ว่าการใช้เว็บไซต์ที่ถูกต้องของเรานั้นเป็นอย่างไร

ปัญหาหลักที่ UX/UI Designer ต้องพบเจอ

การออกแบบเว็บไซต์ที่สามารถตอบโจทย์ User ได้อย่างเหมาะสมนั้น สามารถทำได้โดยต้องคำนึงถึง มุมมองของ User ที่เข้ามาใช้บริการเป็นหลัก แม้ว่าเราจะสามารถออกแบบเว็บไซต์ให้มีความสวยงาม สะดุดตา แต่ถ้ามี interface ที่เยอะเกินความจำเป็น หรือมีขั้นตอนต่างๆที่ซับซ้อนกว่าจะสำเร็จในแต่ละขั้นตอน สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุให้ User เกิดภาวะ “Cognitive Overload” ได้

Cognitive Overload คืออะไร

Cognitive Overload คือ ภาวะการทำงานของสมองที่ทำงานหนักเกินไป ในแง่ของ User ที่มีการใช้งานเว็บไซต์ สมองจะเริ่มกระบวนการเรียนรู้ทุกครั้งที่เยี่ยมชมเว็บไซต์ ทุกฟังค์ชั่นที่ User เห็น 

สมองจะมีการบันทึกและตีความอยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกัน สมองก็จะพยายามจดจำจุดประสงค์ของการเข้าชมเว็บไซต์ และประมวลผลโดยอัตโนมัติ หาก UX/UI Designer มีการออกแบบเว็บไซต์ที่ต้องให้ User คิดและประมวลผลมากเกินไปในแต่ละกระบวนการ หรือให้ใส่ข้อมูลที่เยอะเกินความจำเป็นก่อนเริ่มใช้งานเว็บไซต์ 

สิ่งเหล่านอกจากจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Cognitive Overload แล้ว ยังมีความเสี่ยงในเรื่อง อารมณ์ ความรู้สึกของ User ที่ก่อให้เกิดภาวะการ Burnout หรือการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ อันเกิดจากความเครียดสะสม ระหว่างการใช้งานตัวเว็บไซต์ได้เช่นกัน  

วันนี้เราจะพาทุกท่านไปดูเทคนิคการลดปัญหาภาวะการ Cognitive Overload และภาวะการ Burnout ของ User เพื่อเป็นการป้องกันและรับมือกับปัญหากวนใจเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด จะมีอะไรบ้างนั้น ตามมาดูด้านล่างได้เลย !!

4 Tips สำหรับ UX/UI Designer เพื่อลดการ Cognitive Overload และ Burnout ของ User

1. Reduce Product Complexity

การลดความซับซ้อนของตัวเว็บไซต์ สามารถช่วยเรื่องการประมวลผลข้อมูลของ User ให้มีระยะเวลาสั้นลง ลดความสับสนในแต่ละขั้นตอนที่ใช้บริการเว็บไซต์ อาจจะเป็นการซ่อนฟังก์ชั่นที่ไม่จำเป็นเพื่อเพิ่มพื้นที่เนื้อหาที่สำคัญๆแทน หรือการรวบรวมการแจ้งเตือนไว้ทีเดียว เพื่อไม่ให้ขัดจังหวะในขณะที่ User ใช้งานอยู่

ตัวอย่าง ฟีเจอร์การชำระเงินของ Shopee pay ที่มีการโชว์ขั้นตอนทีละขั้นจนสำเร็จกระบวนการ User ไม่จำเป็นต้องสลับหน้าจอไปมา เพื่อเปิดแอพพลิเคชั่นธนาคารในการชำระเงิน สามารถดำเนินการใน Shopee ได้เลยในครั้งเดียว

2. Reward Small Steps

ให้รางวัลกับก้าวเล็กๆกับ User เมื่อสำเร็จขั้นตอนในแต่ละขั้น การทำสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มกำลังใจให้กับการใช้บริการที่มีระยะเวลาดำเนินการนานๆ หรือต้องรอคอยการตรวจสอบจากผู้อนุมัติ ซึ่งการให้รางวัลกับ User สามารถทำได้หลายวิธี จะเป็นในรูปแบบข้อความให้กำลังใจ, การใช้ Icon หรือสัญลักษณ์ต่างๆ หรือแม้กระทั่ง ปรับแต่งหน้าจอแสดงผลให้มีความสวยงาม ให้มีความแตกต่างจากเดิม

ตัวอย่าง Tinder เป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับหาคู่ เมื่อ User ต้องใช้เวลาในการ match กับคนที่ถูกใจ 

ในระหว่างรอก็จะมีข้อความส่งถึงตัว User ในเชิงให้กำลังใจในการรอคอย และแนะนำวิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการ matching อยู่ตลอด

3. Earn Users’ Trust

การสร้างความเชื่อใจให้กับ User แสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์ของเรามีระบบการป้องกันข้อมูลที่ดี ปลอดภัยและไว้ใจในการใช้บริการได้ ในแต่ละเว็บไซต์ก็จะมีวิธีการสร้างไว้วางใจที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของเว็บไซต์นั้นๆ

ตัวอย่าง การ Login เข้า Microsoft Team ในต่างอุปกรณ์ที่มีการใช้งานอยู่เดิม จะต้องยืนยันตัวตนผ่าน Authenticator เพื่อป้องกันผู้แอบอ้าง และรักษาข้อมูลต่างๆภายในให้แก่ User

4. Use Specific Language

การใช้ภาษาที่มีความเฉพาะเจาะจงในเนื้อความ สามารถลดความหงุดหงิด หรือการข้องใจให้กับ User ได้เมื่อมีปัญหาในการใช้งานเว็บไซต์ แทนที่จะใช้คำห้วนๆ กำกวมๆ อย่างเช่น ‘คำขอของคุณไม่ถูกต้อง’ หรือ ‘มีบางอย่างเกิดข้อผิดพลาด’ ถ้าเปลี่ยนเป็นคำที่ระบุถึงปัญหาที่ User ผิดพลาดไปเลย ด้าน User เองจะได้รู้ถึงสาเหตุที่แท้จริง และทำการแก้ไขได้ถูกจุด

ตัวอย่าง การหน้าสร้างบัญชีของ Dropbox จะให้คำแนะนำด้านการดำเนินการได้ทันที เมื่อเกิดข้อผิดพลาด พร้อมบอกการแก้ไขข้อผิดพลาดในแบบฟอร์ม เป็นการลดเวลาการดำเนินในการแก้ไขปัญหาของ User ที่ไม่ต้องไปหาข้อผิดพลาดด้วยตัวเอง

ไอเดียการดีไซน์แอพพลิเคชั่นที่ช่วยลดการ Burnout ของ Yerbo

แพลตฟอร์ม Yerbo ได้มีการออกแบบเครื่องมือประเมินภาวะการ Burnout มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พนักงานในองค์กร ที่มีแรงกดดันสูงมีสุขภาพจิตที่ดี มีการรวบรวมคะแนนภาวะการ Burnout ของทีม เพื่อให้ผู้จัดการคาดการณ์ถึงกำลังใจในการทำงาน และปัญหาภาระงานของแต่ละคนได้ โดยทาง Yerbo จะไม่เปิดเผยชื่อก่อนการรวมคะแนนการประเมินด้านต่างๆ เมื่อรวมคะแนนเสร็จแล้วจึงจะนำส่งให้กับผู้จัดการทำการวิเคราะห์ทันที 

เมื่อเจอพนักงานที่มีความเสี่ยงเกิดการ Burnout ขั้นตอนแรกจะมีการเริ่มโปรแกรมที่ประกอบด้วยแบบฝึกหัดแนะนำตนเองที่ปรับให้เหมาะกับอาการของแต่ละบุคคล ซึ่งแบบฝึกหัดนี้จะใช้เวลาประมาณ 15 นาที และให้พนักงานทำให้เสร็จในระหว่างวันทำงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เที่ยงตรง

เนื่องจากเป็นช่วงที่พนักงานมีความเสี่ยงต่อพฤติกรรมและความเครียดที่กระตุ้นให้เกิดการ Burnout มากที่สุด

หลังจากนั้น พวกเขาจะได้รับการแจ้งเตือนกิจกรรมที่ต้องทำทุกสัปดาห์เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป หากการวิเคราะห์ระบุว่า ความเครียดยังอยู่ภายใต้การควบคุม พนักงานคนนั้นก็สามารถกลับไปทำงานได้ แต่ในทางกลับกัน ถ้าผลตรวจออกมาว่า มีแนวโน้วจะเกิดความเครียดมากกว่าเดิม จะถูกส่งตัวไปทำกิจกรรมบางอย่าง ที่สามารถบรรเทาอาการความเครียดลง โดยระหว่างการประเมินผลในแต่ละขั้นตอน จะมีข้อความเชิงบวกจะปรากฏที่ส่วนท้ายของแต่ละส่วน เพื่อกระตุ้นให้พนักงานมีกำลังใจในการทดสอบต่อไป ตัวอย่างข้อความที่ส่งให้ เช่น ‘คุณรู้สึกดีขึ้นแล้ว!’ ‘คุณเสร็จสิ้นการเดินทางแล้ว!’ เป็นต้น

สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากมีแพลตฟอร์มนี้ คือ สุขภาพจิตของพนักงานดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สามารถทำงานได้อย่างมีความสุขและลดความเครียดที่เกิดจากการใช้งานระบบขององค์กรลง ทางองค์กรเองก็สามารถรู้ถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเครียดของพนักงาน และทำการแก้ไขอย่างถูกจุด

เช่น ทีม Product มีพนักงานได้รับความเครียดจากการยุ่งยากในใช้ฟีเจอร์ค้นหา และเกิดการสับสนของภาษาที่ใช้ในระบบ ทางบริษัทจึงมีการสร้างหน้าเว็บไซต์เฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละงาน และปรับปรุงภาษาที่ใช้ในเว็บไซต์มีความเข้าใจง่ายมากขึ้น

สรุป

ปัญหาหลักๆของ UX/UI Designer ที่สามารถป้องกันได้อย่าง Cognitive Overload และการ Burnout ของ User นั้น ควรได้รับการใส่ใจเมื่อต้องออกแบบเว็บไซต์ชนิดหนึ่งให้ผู้คนใช้งาน เพราะนอกจากจะลดความเครียดอันเกิดจากการมีฟังก์ชั่น หรือข้อมูลที่เยอะเกินความจำเป็นแล้ว ตัวเว็บไซต์ของเราก็จะมีระบบจัดการเนื้อหาที่คล่องตัวไม่สับสนในข้อมูล ย่นระยะเวลาการดำเนินการให้กับ User ได้อย่างดี ทั้งหมดนี้ส่งผลให้เว็บไซต์ที่เราทำมีความน่าสนใจ ดึงดูดให้ User มาใช้บริการเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญยังทำให้เว็บไซต์ของเรามีคุณภาพมากกว่าเว็บไซต์ทั่วไปอย่างแน่นอน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บทความที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดไม่ลับสำหรับองค์กร เพื่อลดจำนวนพนักงานลาออก !

ในยุคที่ตลาดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนงานบ่อยของพนักงานก็เป็นสิ่งที่พบเจอได้บ่อยมากขึ้น การทำงานในบริ

Jo

11 Mar 2024 | 1 นาทีอ่าน

เจาะลึกการเตรียมตัวสัมภาษณ์งานยังไงให้มืออาชีพ

การได้เตรียมตัวก่อนไปสัมภาษณ์งานจะช่วยให้เราได้เป็นผู้สมัครที่มืออาชีพขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์งานครั้งแรก หรือไม่ใช่

Jo

29 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ด้วยรูปแบบ Job Sharing

การแบ่งงาน เป็นอีกวิธีที่ช่วยยืดหยุ่นการทำงานให้แก่พนักงานได้ดี สถานประกอบการใช้วิธีนี้ในการเข้ามาช่วยทำงานให้แก่พนักงาน

Jo

20 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

ทำไมกระบวนการ Onboarding ที่มีประสิทธิภาพถึงสำคัญกว่าที่คุณคิด

เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ไม่ว่าวิธีการทำงานจะเปลี่ยนไปขนาดไหน จะเป็นการทำงานแบบ Hybrid หรือ Flexible Work การมีพนักงานใหม่เข