Hybrid Work Model

ทำไมบริษัทยุคใหม่ถึงสนใจ Hybrid work model

admin

30 May 2022 | 1 นาทีอ่าน

Hybrid Work Model คืออะไร แล้วทำไมจึงสำคัญกับองค์กร ? หลังจากที่พวกเราได้ฟันฝ่าวิกฤติการณ์โควิด-19 มาได้จนถึงปี 2022 สถานการณ์แวดล้อมของเราก็เริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ เด็ก ๆ เริ่มกลับไปโรงเรียน คนเริ่มกลับไปใช้ชีวิต ไปท่องเที่ยว หลายออฟฟิศก็เห็นแนวโน้มที่จะกลับมาเปิด On-Site ตามปกติ แต่ในทางกลับกันก็มีหลายคนที่เคยชินกับการทำงานแบบ Remote work (หรือที่เราคุ้นกันในชื่อ Work from home) ไปซะแล้ว ยังมีอีกหลาย ๆ องค์กรที่อยากจะกลับไปเปิดตามปกติ แต่ก็ยังกังวลเรื่องความปลอดภัยและไม่แน่นอนของสถานการณ์

ทำให้เจ้าลูกผสมอย่าง Hybrid working เกิดขึ้นมา

แม้ Hybrid working จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในไม่กี่ปีให้หลังนี้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าการนำการทำงานรูปแบบนี้ไปใช้จริงในองค์กรไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนที่วาดฝันเอาไว้เลย ทั้งนี้ทั้งนั้นบริษัทที่เปิดใจก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่าแต่ทำไมกันนะ ? เรามาดูกันดีกว่าว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้ Hybrid work model เป็นสิ่งที่คนทั่วโลกให้ความสนใจกันมากขนาดนี้

Hybrid working คืออะไร

Hybrid working นับได้ว่าเป็นคำยอดฮิตในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้เลย หลาย ๆ คนก็รู้จักเจ้ารูปแบบการทำงานตัวนี้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราจะมา Catch up สั้น ๆ กันว่า Hybrid working มันเป็นยังไง 

อย่างที่บอกไปว่าคุณ Hybrid working คนนี้เขาเป็นลูกครึ่ง เพราะพี่แกเกิดจากการผสมผสานกันของการทำงานแบบ Remote work และการทำงานในออฟฟิศ จึงทำให้เกิดความยืดหยุ่นให้ชีวิตการทำงานของคน และสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ให้กับโลกใบนี้ จน ครองตำแหน่งรูปแบบการทำงานที่เนื้อหอมสุด ๆ ไปเลย

ประเภท

ปัจจุบันมีอยู่ 5 แบบด้วยกัน ได้แก่

  1. At-Will and Remote-First Models
  2. Office-First Model
  3. Split-Week Model
  4. Week-By-Week Model
  5. Designated Teams Hybrid work model

แต่ละประเภทก็จะมีเกณฑ์แบ่งอีกทีตามปัจจัยแต่ละอย่าง คือ

เกณฑ์ที่ 1 สภาพแวดล้อมในการทำงาน

At-Will and Remote-First Models

Model นี้ถือว่าคงคอนเซ็ปต์ Working anywhere ที่แท้ทรู เพราะ At-Will and Remote-First Models ให้สิทธิ์พนักงานในการเลือกสถานที่ทำงานเองได้ พนักงานสามารถเข้าออฟฟิศหรือทำงานที่บ้าน หรือเลือกทำงานที่ไหนก็ได้ คืออยากจะมาออฟฟิศก็มานะ ออฟฟิศเปิดรับคุณเสมอ แต่จะไม่มาก็ไม่เป็นไร ขอแค่ทุกคนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็พอ เชื่อว่าพนักงานหลายคนชอบแบบนี้เพราะมันสามารถออกแบบชีวิตการทำงานเองได้แบบไร้ขีดจำกัดจริง ๆ

Office-First Model

Office-First Model คล้ายกับ Model แบบแรกตรงที่พนักงานสามารถเลือกจะเข้าออฟฟิศหรือไม่เข้าก็ได้เหมือนกัน แต่ความต่างคือ Office-First Model จะเน้นให้ความสำคัญกับการเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศมากกว่า ซึ่งมันมีข้อดีตรงที่บริษัทไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงานหรือเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้มากมาย อาจจะแค่ต้องเปลี่ยนนโยบาย และหาช่องทางที่จะทำให้พนักงานทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ดีที่สุด 

เกณฑ์ที่ 2 ตารางเวลา

Split-Week Model

การทำงานตาม Model นี้จะเปลี่ยนมาเป็นเรื่องของการจัดตารางเวลามากกว่า อย่างแบบแรก Split-Week Model จะเป็นการแบ่งเวลาเข้างานภายในสัปดาห์ เช่น แผนก A อาจจะเข้างาน 3 วันต่อสัปดาห์ แผนก B เข้า 4 วันต่อสัปดาห์ แผนก C เข้าวันเว้นวัน เป็นต้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการตกลงกันในแต่ละแผนกเพื่อที่จะให้ทุกฝ่ายยังสามารถทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้มีผลดีตรงที่จะช่วยไม่ให้จำนวนพนักงานในออฟฟิศแออัดเกินไป และจะช่วยเสริมสร้างการทำงานเป็นทีม เพราะทุกฝ่ายต้องคอยประสานงานกันอยู่เสมอ

Week-By-Week Model

อีกรูปแบบที่อยู่ในคอนเซ็ปต์ของเวลาคือ Week-By-Week Model จุดเด่นของ Model นี้คือการทำงานแบบสัปดาห์เว้นสัปดาห์ ก็คือในแต่ละสัปดาห์จะมีการวางตารางไว้ว่าฝ่ายไหนต้องเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศเพื่อรายงานผลงานในสัปดาห์นั้นอย่างใกล้ชิด และได้รับการ Assign งานต่อไปเพื่อที่จะเอากลับไปทำที่บ้านในสัปดาห์ต่อ ๆ ไปก่อนจะเอากลับมารายงานผลที่ออฟฟิศในสัปดาห์ที่กำหนดเวลาเอาไว้ ซึ่งจะมีประโยชน์มาก ๆ กับบริษัทที่มีพนักงานเยอะ และยังช่วยลดต้นทุนได้ดีอีกด้วย

เกณฑ์ที่ 3 หน้าที่ของพนักงาน

Designated Teams Hybrid work model

รูปแบบสุดท้ายคือ Designed Teams Hybrid work model ซึ่งจะเป็นการพิจารณาจากหน้าที่ของพนักงานแต่ละคนว่าใครสามารถทำงานนอกออฟฟิศได้ หรือใครจำเป็นที่จะต้องเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศ เช่นพนักงานฝ่ายผลิต ฝ่ายไฟฟ้า ฝ่ายซ่อมบำรุงต่าง ๆ ทำให้พนักงานที่ไม่จำเป็นต้องทำงานที่ออฟฟิศสามารถออกแบบสภาพแวดล้อมการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ ทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุนให้กับบริษัทได้อีก ถือว่าเป็นรูปแบบที่น่าสนใจมากจริง ๆ 

นอกจากนี้ เราเชื่อว่ายังมีสิ่งที่เกี่ยวข้องอีก 2 อย่างที่น่าจะผ่านหูผ่านตาทุกคนมาไม่น้อย นั่นก็คือ Hybrid workplace และ Hybrid workforce และทั้ง 3 อย่างนี้อยู่ใน Network ของ Hybrid work model นั่นเอง

Hybrid workplace

Hybrid workplace จะอยู่ในคอนเซปต์ของ Working anywhere ซึ่งจะเป็นรูปแบบการทำงานที่ทำให้เราสามารถเลือกสถานที่การทำงานได้ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ร้านกาแฟ Co-working space หรือออฟฟิศ โดยอาจจะมีการกำหนดให้เข้าออฟฟิศเป็นรายสัปดาห์ สลับกับอยู่บ้านแบบ At-Will and Remote-First Models และ Office-First Model 

การใช้ Hybrid workplace ในองค์กรจะช่วยส่งเสริมให้พนักงานพัฒนาประสิทธิภาพของตัวเองได้จากความยืดหยุ่น เพราะพนักงานมีเวลาในการพักผ่อนและเลือกทำงานในช่วงเวลาที่ดีที่สุดได้ ทั้งยังเป็นการฝึกให้พนักงานสามารถทำงานทางไกลได้ด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ ด้วย

Hybrid workforce

เมื่อ Hybrid workplace เข้ามาช่วยเรื่องความยืดหยุ่นในการเลือกสถานที่และเวลาทำงาน ก็จะทำให้องค์กรสามารถสร้าง Hybrid workforce ได้ ซึ่ง Hybrid workforce จะเป็นเรื่องของการจัดการทรัพยากรบุคคลในที่ทำงาน คือจากที่เราเคยจ้างคนมา On-site 100% ตอนนี้เราสามารถลดจำนวนคนที่จะมา On-site ซึ่งจะทำให้ Workflow ในองค์กรเปลี่ยนไป ทั้งยังเพิ่มโอกาสให้เราได้ไปเจอคนเก่ง ๆ จากทั่วโลกอีกด้วย

ทีนี้เรามาดูเรื่องที่น่าสนใจกว่านั้นกันดีกว่า

เปิดสถิติ Hybrid working ในปี 2022

และนี่คือผลสำรวจเกี่ยวกับการทำงาน Hybrid working ในปี 2022 เริ่มที่ในประเทศไทยของเราก่อนเลย

ซิสโก้ (Cisco) เปิดสถิติจากการสำรวจการทำงาน Hybrid working ในปี 2022 พบว่า

  • 85 % ของพนักงานไทยบอกว่า Hybrid Work ทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น 
  • 54 % บอกว่าเป็นเพราะตารางเวลายืดหยุ่นมากขึ้น 
  • 46 % บอกว่าเป็นเพราะไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปทำงาน
  • พนักงานไทยสัดส่วน 7 จาก 10 คน คิดว่าคุณภาพการทำงานดีขึ้น 
  • พนักงานไทยอีก 71% บอกว่ามีประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น 
  • 82% รู้สึกว่าทำงานนอกออฟฟิศตามหน้าที่ของตัวเองได้สำเร็จพอ ๆ กับทำงานในออฟฟิศ

Hybrid working ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับพนักงานโดยเฉลี่ยถึง 2.7 บาทต่อปีอีกด้วย

  • 87% บอกว่าคุณภาพการเงินของตัวเองดีขึ้น โดยสามารถประหยัดได้เฉลี่ย 270,000 บาทต่อปี
  • 84% เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าน้ำมันและการเดินทาง 
  • 64% เป็นค่าอาหารและความบันเทิง
  • 81% คิดว่าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายพวกนี้ได้ในระยะยาว

ในแง่ของสุขภาพและความสัมพันธ์ ซิสโก้ก็รายงานมาว่า

  • 83% เชื่อว่าสุขภาพของตัวเองแข็งแรงขึ้นเพราะการทำงานที่บ้าน 
  • 78% บอกว่า Hybrid working ช่วยปรับนิสัยการกินให้ดีขึ้น
  • 84% กล่าวว่าการ WFH ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวดีขึ้น 
  • 64% บอกว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองและเพื่อมีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

แต่น่าเสียดายที่ในขณะเดียวกันกลับมีการรายงานมาว่า

พนักงานไทยเพียง 37% เท่านั้น ที่คิดว่าบริษัทของตัวเอง ‘มีความพร้อมอย่างมาก’ สำหรับการ Hybrid working ในอนาคต

ดังนั้นองค์กรในไทยจึงควรที่จะสนใจและตระหนักถึงการปรับรูปแบบการทำงานให้มากขึ้น เพื่อสิ่งดี ๆ ที่จะย้อนเข้ามาสู่องค์กร แม้จะยังมีข้อจำกัดหลากหลาย แต่เราเชื่อว่าถ้าลองเอามาพิจารณาปรับใช้ก็น่าจะช่วยสร้างมิติใหม่ของการทำงานในองค์กรที่จะช่วยยกระดับ Workflow ได้ดีที่เดียว

ใครสนใจเรื่องสถิติ Hybrid working ในไทยจากซิสโก้เพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านได้ ที่นี่ 

สำหรับสถิติระดับโลกนั้น Wakefield Research ก็ได้ศึกษาและรายงานมาในเดือนเมษายน ปี 2022 ว่า

  • 47% ของพนักงานพร้อมที่จะลาออกหากองค์กรไม่ยินยอมให้ทำงานในรูปแบบที่ยืดหยุ่น (Flexible Working Model)
  • 77% ของบริษัทได้เลือกใช้ Hybrid working Model แล้ว
  • 56% ของบริษัทมีนโยบายให้พนักงานเลือกความถี่และวันเวลาที่จะเข้าออกออฟฟิศได้

และนี่คือสัดส่วนของรูปแบบการทำงานในปัจจุบันที่ Wakefield Research ได้รวบรวมมาให้แล้ว

Office Attendance Policy
ที่มา : envoy

ทำไมการทำงานในรูปแบบนี้ถึงเป็นที่สนใจ

สามารถทำงานในช่วงที่ Productive ที่สุดได้

คนเรามีช่วงเวลาตื่นตัวที่ต่างกัน บางคนจะ Active มาก ๆ ในตอนเช้า แต่บางคนมักจะหัวแล่นในตอนกลางคืน แต่วัฒนธรรมการทำงานที่เราเคยเจอกันมาก่อนหน้านี้มักจะบังคับให้เราเข้า-ออกงานตามเวลา ซึ่งมันอาจจะไม่ได้ Fit in กับทุกคนเสมอไป แต่การทำงานในรูปแบบนี้ช่วยทำให้เกิดรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น พนักงานจึงสามารถเลือกสภาพแวดล้อมการทำงานได้ ผลที่ตามมาคือได้ทำงานในจุดที่ Productive ที่สุด และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดนั่นเอง

คุณภาพชีวิตของพนักงานดีขึ้น

พอการทำงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น คนทำงานก็สามารถออกแบบตารางเวลาของตัวเองได้ ทำให้ได้พักในเวลาที่อยากพัก ได้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่อยากทำ เช่นเล่นกีฬา ดูแลตัวเอง ใช้เวลากับคนสำคัญ ทำงานอดิเรกที่ชอบ พอเป็นแบบนี้ก็จะทำให้พนักงานมีความสุขมากขึ้น และสนุกกับการทำงานมากขึ้นนั่นเอง

จ้างคนเก่งได้จากทั่วโลก

เมื่อขอบเขตด้านสถานที่และเวลาหายไป แน่นอนว่าเราก็ไม่จำเป็นต้องกังวลถึงข้อจำกัดในการจ้างคนอีกแล้ว เพราะในเมื่อเราสามารถ Working from anywhere / anytime เราก็สามารถทำงานร่วมกับคนเก่งได้จากทุกมุมโลกโดยไม่จำเป็นต้องให้เดินทางมาทำงานที่ออฟฟิศเลยก็ได้ ยิ่งในยุคที่มีเทคโนโลยีเข้ามาซัพพอร์ตการทำงานต่าง ๆ แล้ว การทำงานรูปแบบนี้ถือได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีในการจ้างงานคนเก่งเลยจริง ๆ

ลดความเสี่ยงในการสัมผัส

จริงอยู่ที่สถานการณ์การระบาดของโควิด -19 ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปี 2022 แต่จากการที่เราผ่านความไม่แน่นอนพวกนี้มาหลายครั้งหลายครา หลาย ๆ คนก็ไม่กล้าที่จะออกมาใช้ชีวิตข้างนอกอย่างเต็มที่จริง ๆ แต่การทำงานในรูปแบบนี้จะช่วยลดความแออัดในออฟฟิศ ทำให้พนักงานที่เข้ามาทำงาน On-site สบายใจ และสามารถทำงานได้อย่างไร้กังวล ทั้งยังลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับผู้ป่วยด้วย

สรุป

ในวันที่โรคร้ายอย่างโควิด – 19 กำลังจะผ่านไป เราทุกคนต่างก็ได้เรียนรู้ที่จะเตรียมตัวให้พร้อมในทุกสถานการณ์  Hybrid working Model จึงเข้ามาเพื่อผสาน “ความปกติ” ที่พวกเราโหยหา และ “การเปลี่ยนแปลง” ที่พวกเราพบเจอและเรียนรู้เข้าด้วยกัน ดังนั้น  Hybrid working Model จึงเป็นอีกหนึ่ง Model แห่งอนาคตที่จะช่วยให้เราพร้อมรับสถานการณ์ในวันข้างหน้าเสมอ 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตอบคำถามที่ HR ควรรู้ Employer Branding คืออะไร ? ทำแล้วได้อะไรบ้าง ?

ตลาดการจ้างงานในปัจจุบันกำลังเข้าสู่สภาวะวิกฤต เนื่องจากพนักงานหลายคนต่างพากันลาออกจนเกิดการ Turnover Rate ซึ่งถือเป็นเร

Jo

06 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

ปัจจัยที่ทำให้คนเก่งลาออกสูง!พร้อมแนวทางรักษาบุคลากร

ปัจจุบันอาชีพสาย IT เป็นอาชีพที่มีความต้องการสูงสวนกระแสการ Layoff พนักงาน โดยมีสถิติต่างๆที่น่าสนใจดังนี้:  

Jo

27 Jul 2023 | 1 นาทีอ่าน

ทำไมองค์กรยุคใหม่ต้องเป็น Data-Driven Organization และมีความสําคัญอย่างไร

ในยุคที่ดิจิทัลเติบโตและเกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การมีข้อมูลที่แม่นยำเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ

Jo

26 May 2023 | 1 นาทีอ่าน

รู้จักใช้ Digital Technology ถ้าอยากให้ธุรกิจชนะคู่แข่ง

พฤติกรรมของลูกค้ากำลังเปลี่ยนแปลงไปในทุกวัน จากการค้นหาและการแชร์ข้อมูลสู่การซื้อผลิตภัณฑ์ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ ทำให้บริ

Jo

12 Mar 2023 | 1 นาทีอ่าน

How To Be Scalable Software House

หากคิดถึงการเติบโตของธุรกิจ คงหนีไม่พ้นแนวคิดการ Scaleup Business ซึ่งเป็นแนวคิดขั้นพื้นฐานที่บริษัทด้าน Technology หรือ