ทำยังไงให้ได้งาน โดยไม่ต้องสมัครสักงาน ฉบับ  LinkedIn 

Jo

09 Jan 2024 | 1 นาทีอ่าน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า LinkedIn เป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งมีจุดประสงค์ในการใช้งานเพื่อประกาศรับสมัครงาน หรือใช้สำหรับหางาน เพราะเป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมในทุกสาขาอาชีพ และทุกตำแหน่งงาน แน่นอนว่าสาย Tech อย่างเรา ๆ ก็นิยมใช้ LinkedIn ในกระบวนการสรรหาเช่นเดียวกัน พูดได้เลยว่าหาก Software Developer กำลังหางานใหม่ก็เพียงแค่สร้าง  LinkedIn Profile เอาไว้เดี๋ยวก็มี Recruiter เข้ามาเสนองานเอง

แต่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับการเสนองานที่ต้องการเสมอไป อย่างที่บอกว่า Recuiter จะเข้ามาเสนองานหลังจากที่เห็น LinkedIn Profile ดังนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าจะดึงดูด Recuiter ให้เข้ามาได้จะต้องสร้าง LinkedIn Profile ให้ดี แต่จะทำยังไง ต้องใส่ข้อมูล อะไรบ้าง แล้ว Recuiter จะหาเราพบได้ยังไง วันนี้ Talance จะช่วยเอง ถ้าพร้อมแล้วก็เริ่มกันเลย

LinkedIn คืออะไร ?

LinkedIn คือแพลตฟอร์ม Social Media ชนิดหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อธุรกิจโดยเฉพาะ โดยเฉพาะการใช้งาน LinkedIn Jobs เช่น การลงประกาศหาคนมาทำงานในองค์กร หรือในทางกลับกันก็สามารถใช้ LinkedIn หางานได้เช่นกันเพราะผู้สมัครสามารถนำประวัติการทำงานที่น่าสนใจมาสร้างโปรไฟล์ไว้ เผื่อเปิดโอกาสให้บริษัทยักษ์ใหญ่ที่อาจจะกำลังหาคนที่มีคุณสมบัติตรงกับคุณอยู่ สามารถพบเจอคุณและติดต่อคุณได้

จากการสำรวจของ LinkedIn Statistics พบว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้งานแอปพลิเคชันกว่า 766 ล้านคน มีผู้ใช้งานที่ยังแอคทีฟสูงถึง 310 ล้านคนต่อเดือน และทุกวินาทีมีการส่งใบสมัครงานเข้ามาที่ LinkedIn ถึง 55 ใบสมัครต่อ 1 วินาที นอกจากนี้ผลสำรวจของ We Are Social ระบุว่า แม้จะมีผู้ใช้งานที่เป็นคนไทยอยู่เพียง 3.2 ล้านคน แต่เป็นผู้ใช้งานที่มีคุณภาพสูงกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ

Recuiter หาเราเจอได้ยังไง ?

ต้องรู้ก่อนว่า LinkedIn มีฟีเจอร์ที่ไว้สำหรับการหา Candidate ที่มีชื่อว่า Recruiter Lite ฟีเจอร์นี้จะช่วยกรองเพื่อหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามต้องการ ทั้ง Job Titles , Locations , Skill , Companies , Industries หรือเเม้แต่ Experience และอีกจุดสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ Keywords ซึ่งตัวกรองเหล่านี้จะช่วยกรองหาข้อมูลจาก LinkedIn Profile ของผู้ใช้ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในตอนค้นหา

หลังจากที่จากนั้นจะทำการคัดเลือกจากข้อมูลเบื้องต้นแล้ว Recruiter จะทำการ ตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมจาก LinkedIn Profile เป็นรายบุคคล และหลังจากตรวจสอบคุณสมบัติที่เหมาะสมแล้วจึงจะดำเนินการเสนองาน

จะเห็นได้ชัดว่าการที่ Recruiter จะหาเราเจอหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่าในหน้า LinkedIn Profile ของเรามีคุณสมบัติตรงกับที่ Recruiter ค้นหาหรือไม่ ดังนั้น เราควรใส่รายละเอียดต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการทำงานหรือทักษะเอาไว้จะได้ไม่พลาดโอกาสดี ๆ ที่ลอยมาหาถึงที่ไปนั่นเอง

LinkedIn Profile แบบไหนที่ Recuiter ไม่มองข้าม

ตอนนี้รู้แล้วว่า Recruiter หาเราเจอได้ยังไง ขั้นต่อไปคือทำยังไงให้ Recruiter สนใจและติดต่อเรามาเอง สำหรับ Software Developer แล้วการที่จะดึงดูดให้ Recruiter เข้ามาเสนองานนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลยซักนิด ด้วยความที่ตลาดแรงงานด้านไอทีที่ขาดแคลนกำลังคนอยู่ตลอด ซึ่งสวนทางกับความต้องการมนการพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้ทั้ง HR และ Recruiter ต้องทำงานหนักและแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงตัวคนเก่งไปร่วมงาน สำหรับ Candidate แล้วสิ่งที่ต้องทำมีแค่การ Present ตัวเองออกมาให้มากที่สุดผ่านทาง LinkedIn Profile ก็เท่านั้น เชื่อสิว่าเดี๋ยวงานก็ลอยมาหาคุณเองโดยไม่ต้องทำอะไรเลย

มาเริ่มจากส่วนแรกกันก่อน เริ่มจากใส่ชื่อจริง นามสกุลจริง สามารถใช้ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ถ้าให้แนะนำควรใช้ภาษาอังกฤษแทนจะดีกว่า เผื่อว่าบางทีคุณอาจมีโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัทข้ามชาติก็ได้ ต่อมาคือ Job Titles ที่จะเป็นตัวระบุตำแหน่งที่คุณทำหรือสามารถทำได้ เช่น Frontend Developer , Backend Developer , Fullstack Developer และอื่น ๆ ส่วนนี้จะทำให้ Recuiter หาคุณได้ง่ายขึ้น ที่ขาดไม่ได้เลยคือ Location หลายครั้งที่ Recuiter ใช้สถานที่เป็นตัวค้นหาถ้าหากคุณใส่ Location ละเอียดเท่าไหร่ก็อาจช่วยให้คุณสามารถได้ทำงานในสถานที่ที่ต้องการได้ สำหรับบางคนคงจะช่วยประหยัดงบในการเดินทางไปได้เยอะเลย

 แต่จะมีในบางกรณีที่ Candidate ต้องการไปทำงานในสถานที่อื่นที่ไม่ใช่ที่อยู่ปัจจุบัน อาจจะเป็นต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ ถ้าเป็นแบบนั้นแนะนำให้ตั้ง Location เป็นสถานที่ปลายทางดีกว่า เพราะ Recruiter มักจะเริ่มหาจากคนในพื้นที่ใกล้เคียงก่อน การทำแบบนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้งานที่ถูกใจได้มากเลยล่ะ

ส่วนต่อไปที่จะพูดถึงคือ About อธิบายเกี่ยวกับตัวเองสั้น ๆ ว่าตัวเองมีตำแหน่งอะไร มีประสบการณ์ในการทำงานกี่ปี คุณมีความเชี่ยวชาญด้านไหนเป็นพิเศษให้อธิบายลงไป ไม่จำเป็นต้องยาวมากเน้นภามรวมจะเหมาะสมกว่า

ต่อมาคือประสบการณ์ในการทำงาน ถ้าแค่ About มันบอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวคุณไม่พอ ก็ให้มาใส่ใน Experience แบบจัดเต็มได้เลย ถ้าเขียนเป็น Bullet จะอ่านได้ง่ายกว่า สามารถใส่ได้ตั้งแต่งานแรกที่ทำจนถึงงานปัจจุบัน ว่าได้ร่วมงานกับบริษัทอะไร ตำแหน่ง ณ ตอนนั้น หน้าที่ความรับผิดชอบว่าเคยได้มีส่วนร่วมหรือเป็นผู้นำทีม ถ้าเคยควบคุมโปรเจกต์ก็ใส่ไปด้วย ต้องอย่าลืมใส่ Skill ที่ใช้ในการทำงาน เพราะนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ Recruiter ใช้ตัดสินว่าคุณมีคุณสมบัติตามที่ต้องการหรือไม่ 

ป.ล.บางคนอาจจะไม่รู้แต่เราสามารถเพิ่ม Portfolio ผลงานได้ในแต่ละงานด้วยนะ

Education ก็ความหมายตรงตัวให้ใส่ประวัติการศึกษา สถาบันที่จบ ปีที่ใช้ในการศึกษา สาขาวิชาที่เรียน บางที่หากสาขาที่คุณเรียนขึ้นชื่อว่ามีแต่คนเก่งมีความสามารถ อาจมีคนมาเสนองานให้คุณแบบไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ

Skill คือทักษะความสามารถทั้งหมดที่คุณมี ทั้ง Soft Skill และ Hard Skill เช่น ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทักษะในการใช้งาน Tool หรือจะเป็น Programming Language เช่น Java, C#, Python, Ruby,HTML, CSS, and JavaScript,AWS, Azure, Flutter และอื่น ๆ ยิ่งมีความสามารถเยอะก็ยิ่งทำงานได้หลากหลายมากขึ้นใช่ไหมล่ะ

ที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือ Certifications เพราะมันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าคุณเป็นที่มีความกระตือรือร้นและพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ แถมยังเป็นสิ่งที่ยืนยันว่าคุณเป็นคนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ อีกด้วย

ส่วนสำคัญอีกอีกหนึ่งส่วนก็คือ Projects นั่นเอง สิ่งที่ควรใส่คือผลงาน Projects ที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็น Projects ที่คุณมีโอกาสได้เข้าร่วมและทำให้ Projects นั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี หรือจะเป็น Projects ส่วนตัวที่คุณใช้เวลาในการพัฒนามาด้วยตัวเอง หากใครที่มี Projects ส่วนตัวเยอะอยู่แล้วต้องอย่าลืมเอามาใส่ให้หมดนะเพราะมันจะช่วยการันตีความสำเร็จของคุณได้ แต่ถ้าใครที่ยังไม่มี Projects ส่วนตัวต้องรีบทำแล้วนะ เพราะนอกจากจะเป็นตัวช่วยในการการันตีความสามารถแล้ว การทำ Projects ส่วนตัวจะช่วยให้คุณได้พบความท้าทายใหม่ ๆ และจะทำให้ความสามารถของคุณพัฒนาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

มาถึงส่วนสุดท้ายแต่ไม่ท้ายที่สุดแล้ว นั่นก็คือ Languages บางคนอาจมีความสามารถด้านภาษามากกว่าหนึ่งก็ควรใส่ลงไป ถ้าจะให้ดีควรระบุด้วยว่ามีความเชี่ยวชาญในระดับไหน เพราะยิ่งสามารถสื่อสารได้หลายภาษานั่นก็หมายถึงโอกาสในการเติมโตอย่างไร้ขีดจำกัด จนถึงขั้นที่ว่าได้ร่วมงานกับบริษัทระดับโลกก็ไม่ไกลเกินเอื้อม 

ใกล้ครบแล้วสินะ Interest คือความสนใจ ส่วนนี้อาจไม่สำคัญสำหรับ Recruiter เท่าไหร่ แต่ใครจะรู้บางทีคุณอาจได้พบเพื่อนที่มีความสนใจในด้านเดียวกัน และสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้ มันจะทำให้คุณได้รับประโยชน์มากขึ้นอย่างเเน่นอน

สุดท้ายแล้วจริง ๆ ไม่ว่าคุณจะเขียน LinkedIn Profile ออกมาดีแค่ไหน หรือมีความสามารถมากเท่าไหร่ แต่ถ้า Recruiter ติดต่อคุณไม่ได้ก็จบกัน ดังนั้น อย่าลืมใส่ข้อมูลติดต่อที่สามารถติดต่อหาคุณได้หลายช่องทางทั้ง Mail และเบอร์โทรศัพท์ เพื่อที่คุณจะได้ไม่พลาดโอกาสดี ๆ ที่มาหาถึงที่ไปยังไงล่ะ

สรุป

ถึงจะบอกว่าถ้าเขียน LinkedIn Profile ดีแล้ว Recuiter จะมาเสนอโอกาสดี ๆ ให้เองก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโอกาสนี้จะเหมาะกับทุกคน สิ่งแรกที่ต้องมีก่อนคือความสามารถและความตั้งใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อให้ตัวเองเป็นคนที่เก่งว่าเดิม เพราะฉะนั้น อย่าลืมหาเวลาไปพัฒนาทักษะของตัวเองนะ เพราะเราเชื่อว่าโอกาสจะมาหาคนที่เหมาะสมกับมันเสมอ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บทความที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดไม่ลับสำหรับองค์กร เพื่อลดจำนวนพนักงานลาออก !

ในยุคที่ตลาดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนงานบ่อยของพนักงานก็เป็นสิ่งที่พบเจอได้บ่อยมากขึ้น การทำงานในบริ

Jo

11 Mar 2024 | 1 นาทีอ่าน

เจาะลึกการเตรียมตัวสัมภาษณ์งานยังไงให้มืออาชีพ

การได้เตรียมตัวก่อนไปสัมภาษณ์งานจะช่วยให้เราได้เป็นผู้สมัครที่มืออาชีพขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์งานครั้งแรก หรือไม่ใช่

Jo

29 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ด้วยรูปแบบ Job Sharing

การแบ่งงาน เป็นอีกวิธีที่ช่วยยืดหยุ่นการทำงานให้แก่พนักงานได้ดี สถานประกอบการใช้วิธีนี้ในการเข้ามาช่วยทำงานให้แก่พนักงาน

Jo

20 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

ทำไมกระบวนการ Onboarding ที่มีประสิทธิภาพถึงสำคัญกว่าที่คุณคิด

เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ไม่ว่าวิธีการทำงานจะเปลี่ยนไปขนาดไหน จะเป็นการทำงานแบบ Hybrid หรือ Flexible Work การมีพนักงานใหม่เข