
Soft Skills ก็สำคัญ ! วิธีสร้าง Emotional Intelligence ในการทำงาน
Emotional Intelligence นั้นสำคัญไฉน! เวลาองค์กรจะพิจารณารับคน ๆ หนึ่งเข้ามาทำงาน ก็ใช่ว่าจะพิจารณาแต่เรื่อง Hard Skills หรือทักษะความสามารถในสายงานอาชีพเท่านั้น เพราะเขายังมีการคำนึงถึง Soft Skills หรือลักษณะอุปนิสัยของคน ๆ นั้นด้วยเช่นกัน
ในบทความนี้ Talance จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ Emotional Intelligence หรือ ความฉลาดทางอารมณ์ โดยอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ Berkeley Boot Camps หากพร้อมแล้วมาเริ่มทำความเข้าใจกันเลย
สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า Hard Skills คืออะไร และ Soft Skills คืออะไร ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก เทรนด์ Skills สำคัญที่ Developer ต้องมีในปี 2022 อย่าลืมไปทำความเข้าใจกันก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านเนื้อหาด้านล่างนะ
ทำความรู้จักกับ Emotional Intelligence
เพราะการทำงานไม่ใช่แค่พื้นที่ที่ให้เราแสดงทักษะความสามารถในอาชีพเท่านั้น แต่ยังจำเป็นที่จะต้องแสดงทักษะในการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่น ๆ ด้วย
Emotional Intelligence คืออะไร
Emotional Intelligence หรือ ความฉลาดทางอารมณ์ คือ ทักษะความสามารถของบุคคลที่จะรับรู้และจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง สามารถที่จะวางตัวและแสดงออกต่อคนอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นความฉลาดทางอารมณ์นี้จึงถือเป็นทักษะในการเข้าสังคมที่สำคัญมาก
อาจฟังดูเหมือนเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย แต่จริง ๆ แล้วก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องมีการ Challenge กับตัวเองอยู่เหมือนกัน เพราะกว่าที่เราจะสามารถสร้างทักษะนี้ให้เป็นนิสัยติดตัวได้นั้นล้วนต้อง “ใช้เวลาและการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ”
แล้วทำไม ความฉลาดทางอารมณ์ ถึงสำคัญ
ความที่มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม การเข้าสังคมและการติดต่อสื่อสารกันถือเป็นเรื่องปกติที่เราทำ ความฉลาดทางอารมณ์จึงเป็นทักษะที่จะช่วยเสริมบุคลิกภาพของเราในการอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ ในสังคม ทำให้เราดูเป็นคนที่น่าคบหาพูดคุย และจะช่วยให้สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ ได้อย่างมีความสุขมากขึ้น
จริง ๆ แล้วทักษะ ความฉลาดทางอารมณ์ นี้ไม่ได้เป็นประโยชน์แค่สำหรับใครที่กำลังทำงานอยู่เท่านั้น แต่เรียกได้ว่า มันคือทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อทุกคน และจะส่งผลดีต่อการใช้ชีวิตโดยรวมในทุก ๆ ด้าน ซึ่งถือเป็นเรื่องเดียวกันกับ Emotional Quotient หรือที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า “EQ” เพราะเป็นทักษะในด้านการจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกเช่นเดียวกัน
จากการศึกษาของ careerbuilder ที่ได้ทำการเก็บข้อมูลกับ Hiring Manager จำนวน 2,600 คน พบว่า มี 71% ที่คิดว่า EQ เป็นสิ่งสำคัญกว่า IQ และพวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะเลือกรับพนักงานที่มีระดับ EQ สูงมาร่วมงานด้วย เพราะเชื่อว่า “EQ เป็นสิ่งที่ทำให้คนเราสามารถเติบโตในสายงานอาชีพได้มากกว่า และเราจะไม่สามารถเติบโตในสายงานได้แลย หากยังขาดทักษะในด้าน EQ อยู่”

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ดีกว่ามาก หากเราเป็นคนที่มีทักษะในการทำงานที่ดีอยู่แล้ว และมีการพัฒนาทักษะ ความฉลาดทางอารมณ์ รวมถึงทักษะ Soft Skills ด้านอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย เพราะทั้ง 2 สิ่งนี้ถือเป็นเรื่องที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน อันจะช่วยเข้ามาเติมเต็มให้ชีวิตของเราประสบความสำเร็จทั้งในเรื่องของการทำงานและการใช้ชีวิตนั่นเอง
IQ + EQ = SUCCESS
สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วเกิดมีข้อสงสัยว่า ในเมื่อทักษะความฉลาดทางอารมณ์สำคัญกับเราขนาดนี้ ถ้าอยากมีทักษะนี้บ้างจะต้องเริ่มจากตรงไหน เราขอเสนอแนวทางสั้น ๆ ง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถไปปฏิบัติตามได้ จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
ฝึกตัวเองยังไงให้เป็นคนที่มี Emotional Intelligence
สำหรับแนวทางการฝึกฝนตัวเองเพื่อสร้างทักษะ ความฉลาดทางอารมณ์ เราจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย
- Emotional Self-Awareness
- Emotional Self-Management
- Social-Emotional Awareness
- Relationship Management
ถ้าพร้อมแล้ว มาเริ่มทำความเข้าใจเนื้อหาในแต่ละส่วนกัน
1. Emotional Self-Awareness
“รู้เท่าทันอารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง”
แนวทางในการฝึกฝนในการสร้างทักษะ ความฉลาดทางอารมณ์ จะเริ่มต้นจาก Emotional Self-Awareness หรือ การสร้างความสามารถในการรู้เท่าทันความรู้สึกของตัวเอง
Tip & Trick
- หมั่นสำรวจความรู้สึกของตัวเองอยู่เสมอ
- ถามตัวเองว่า ทำไมเราถึงตัดสินใจทำแบบนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ ขึ้น
- สังเกตคนรอบข้างว่าพวกเขามีท่าทีต่อเรายังไงบ้าง
ข้อดี
- ทำให้เรารู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง
- สามารถพัฒนาจุดแข็งได้อย่างตรงจุด
- สามารถกำจัดจุดอ่อนได้อย่างรวดเร็ว
2. Emotional Self-Management
“จัดการกับปัจจัยที่มากระตุ้นอารมณ์และความรู้สึก”
ในขั้นตอนถัดมาของการสร้างทักษะ ความฉลาดทางอารมณ์ เมื่อเราผ่านการทำความเข้าใจกับอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองมาแล้ว ทีนี้ก็ต้องมารู้จักกับ Emotional Self-Management หรือ การจัดการกับสิ่งที่มากระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของเรากันต่อ
Tip & Trick
- หาวิธีเฉพาะตัวที่ช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลายเวลาเจอเรื่องแย่ ๆ
- ฝึกความอดทน
- คิดก่อนพูดเสมอ
ข้อดี
- ทำให้เป็นคนมองโลกในแง่ดี มีทัศนคติเชิงบวก
- สามารถยอมรับกับความท้าทายหรือการเปลี่ยนแปลงได้
- กล้าที่จะคิดริเริ่ม
- ส่งผลให้คนรอบข้างรู้สึกดี สบายใจ และรู้สึกปลอดภัยที่จะอยู่ด้วย
ทั้ง 2 หัวข้อที่ผ่านมาจะถือเป็นการเรียนรู้และบริหารจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง แต่ในหัวข้อที่ 3 และ 4 ที่ทุกคนกำลังจะได้อ่านต่อไปนี้ ถือเป็นการเรียนรู้และจัดการกับความสัมพันธ์ที่ต้องมีคนอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
3. Social-Emotional Awareness
“ปรับตัวเข้าหาคนอื่น ๆ ในสังคม”
เมื่อเรารู้จักตัวเอง รู้จักวิธีที่จะควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องทำความเข้าใจคนอื่น ๆ ในสังคมด้วย
ในหัวข้อ Social-Emotional Awareness นี้จึงเป็น ความฉลาดทางอารมณ์ เรื่องของการเรียนรู้ที่จะเข้าสังคม เริ่มต้นจากการสังเกตท่าที อารมณ์ความรู้สึกของคนอื่น และปรับตัวเราเองให้เข้ากับบริบทในสังคมนั้น ๆ
Tip & Trick
- พยายามทำความเข้าใจคนอื่น
- ฝึกทักษะในการฟัง
- สังเกตภาษากาย
- ใส่ใจในน้ำเสียง
- อยู่กับปัจจุบัน
ข้อดี
- สามารถร่วมงานและใช้ชีวิตกับคนอื่น ๆ ได้อย่างราบรื่น
- สื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เกิดการร่วมแรงช่วยเหลือกันและกัน
4. Relationship Management
“รักษาความสัมพันธ์เชิงบวกเอาไว้”
Step สุดท้ายในการ Completed เรื่อง Emotional Intelligence คือ การเรียนรู้ที่จะบริหารความสัมพันธ์กับผู้อื่น
Tip & Trick
- พยายามทำความรู้จักและทำความเข้าใจคนอื่น
- น้อมรับคำติชมและนำมาปรับปรุงแก้ไข
- แสดงให้คนอื่นเห็นถึงความใส่ใจ
- ไม่นินทาใครลับหลัง
ข้อดี
- เป็นคนที่น่าไว่วางใจ น่าเคารพนับถือ
- เป็นที่รักของคนรอบข้าง
- สามารถที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นและทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น
สรุปความสำคัญของ Emotional Intelligence
ไม่ว่าจะเป็นชีวิตในการทำงานหรือการดำเนินชีวิตประจำวัน เรียกได้ว่า Soft Skills เข้ามามีบทบาทมากกว่า Hard Skills เสียด้วยซ้ำ เพราะถือเป็นทักษะที่ทุกคนจำเป็นต้องมี โดยเฉพาะเรื่องของ ความฉลาดทางอารมณ์ ที่นอกจากจะทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้นแล้ว ยังทำให้เราสามารถที่จะปรับตัวและใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่น ๆ ได้อย่างราบรื่นมากขึ้นอีกด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างกับเนื้อหาที่ทาง Talance นำมาสรุปเล่าให้ฟัง สามารถอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับทักษะนี้ต่อกันได้จากเว็บไซต์ Berkeley Boot Camps และหากเพื่อน ๆ มีแนวทางเกี่ยวกับการสร้างทักษะนี้เพิ่มเติมสามารถคอมเมนต์ไว้ด้านล่างกันได้เลยนะ