Resume Developer

เทคนิคการทำ Resume ให้ได้งานเฉพาะทาง ในสาย Developer

admin

19 Apr 2022 | 4 นาทีอ่าน

ในการรับสมัครพนักงาน ไม่ว่าจะเป็น Full-time / Part-time หรือ Freelance แน่นอนว่าในแต่ละองค์กรจะต้องมีการกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ เพื่อเฟ้นหาคนที่มีศักยภาพเข้ามาทำงานร่วมกัน แต่ถ้าว่าด้วยเรื่องศักยภาพ จะให้แค่มาพูดปากเปล่าว่าเราทำอะไรได้บ้างคงจะไม่เข้าท่า  ทำให้ Resume มีบทบาทสำคัญในการบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการทำงานของเราเพื่อประกอบการพิจารณาสมัครงาน ยิ่งกับงานสาย Developer ที่จำเป็นต้องใช้ความชำนาญและประสบการณ์ เอกสารจำพวกโปรไฟล์ CV พวกนี้ก็ยิ่งสำคัญ

ส่วนมาก Resume ทั่วไปมักมีความยาวไม่เกิน 1-2 หน้ากระดาษ ซึ่งในเนื้อหาก็จะมีการบอกถึงประวัติส่วนบุคคลและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเอาไว้สั้น ๆ เพื่อความสะดวกรวดเร็วของผู้อ่าน ดังนั้นในฐานะผู้สมัครงานจึงควรที่จะเรียนรู้วิธีการเขียน Resume ที่กระชับแต่ครบถ้วน เพื่อให้โปรไฟล์ของเรามีความโดดเด่นต้องตาต้องใจคนอ่าน ทั้งยังทำให้มีโอกาสได้งานเฉพาะทางที่เราต้องการง่ายขึ้นด้วย

วันนี้ Talance เลยนำเทคนิคดี ๆ ในการเขียน Resume สำหรับชาว Developer มาแชร์ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

Resume แต่ละประเภทเป็นแบบไหน

ก่อนอื่นเราจะมาทำความรู้จัก Resume แต่ละแบบก่อน เพราะถึงจะเป็น Resume เหมือนกัน แต่ลักษณะการเขียนและโครงสร้างของแต่ละประเภทมันต่างกัน การเลือกใช้ก็จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของบริษัทที่จัดจ้างและคุณสมบัติของผู้สมัครอีกที (ดังนั้นจะมาเป็น Resume เหมือนกันไม่ได้ !) เราจึงต้องเรียนรู้ว่า Resume แบบไหนที่เหมาะสมกับเรามากที่สุด

Resumeมีทั้งหมด 3 แบบ คือ Reverse-Chronological, Functional และ Hybrid

แบบที่ 1  Reverse-Chronological

ถ้าให้แปลตรง ๆ Reverse-Chronological แปลว่า ย้อนกลับ – ตามลำดับเวลา ซึ่งชื่อของResumeประเภทนี้ก็บอกอยู่แล้วว่าคุณต้องเริ่มด้วยการเอา “ปัจจุบัน” มาวางไว้เป็นอันดับแรกแล้วค่อยไล่เรียงประวัติย้อนหลังไปเรื่อย ๆ แล้วค่อยปิดท้ายด้วยประวัติการศึกษา

รูปแบบของResumeประเภทนี้เป็นรูปแบบมาตรฐานซึ่งResumeส่วนใหญ่มักจะใช้แบบนี้กัน ที่สำคัญคือใช้งานกับ ATS* ได้ง่ายซึ่งจะทำให้คุณได้รับโอกาสในการจ้างงานมากขึ้นเป็นเท่าตัว เพราะการเขียนResumeแบบนี้จะเน้นการบอกรายละเอียดของงาน เช่นประสบการณ์ทำงาน ระยะเวลาทำงาน รายละเอียดงานที่ทำ ฯลฯ ที่ทำให้เห็นถึงความชำนาญ 

รู้หรือไม่ ATS หรือ Applicant Tracking System คือ ระบบที่ทำให้ผู้จัดจ้างสามารถหาคนเก่งที่มีคุณสมบัติตรงใจมาร่วมงานใองค์กร หรือเข้าใจง่าย ๆ ว่าเป็นตัวช่วยสำหรับการจ้างคนด้วยระบบที่สามารถค้นหาผู้มีความสามารถ ประเมินศักยภาพ ติดตามผลงานและการสัมภาษณ์ รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อการจ้างงานที่สมบูรณ์แบบที่สุดนั่นเอง

Resumeประเภทนี้ไม่เหมาะกับคนที่เปลี่ยนงานบ่อยหรือคนที่เว้นว่างจากการทำงานนานเกินไป เพราะคุณจะต้องเขียนประวัติย้อนหลังทั้งหมดลงในResume ซึ่งมันอาจทำให้คุณดูเสียภาพลักษณ์

ตัวอย่าง

Reverse-Chronological

ที่มา : velvetjobs

แบบที่ 2 Functional Resume

Resumeประเภทนี้จะเน้นที่การบอกทักษะหรือ Skills ที่โดดเด่นและจำเป็นต่อการทำงานว่าคุณมีความสามารถอะไร เก่งอะไร ส่วนประวัติการทำงานจะไม่ลงลึกเท่ากับ Reverse-Chronical Resume อาจจะต้องระบุแค่รายละเอียดเล็กน้อยว่าเคยทำงานที่ไหน ตำแหน่งไหน ทำอะไรมาบ้าง ไม่ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ทำงานมากนัก แต่จะเป็นการสรุปถึงทักษะที่ใช้ในการทำงานมากกว่า 

Resumeประเภทนี้เหมาะกับคนที่ไม่มีประสบการณ์หรือไม่ต้องการจะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับงานมาก อาจเพราะบางคนมีความสามารถสูง แต่มีเหตุผลที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องหรือขาดช่วงไป และยังเหมาะกับงานที่ไม่เน้นประสบการณ์แต่เน้นความสามารถเป็นหลัก 

ตัวอย่าง

Functional Resume
ที่มา : novoresume

แบบที่ 3 Hybrid

Hybrid คือการผสมผสาน ดังนั้น Resume รูปแบบนี้คือการผสมกันระหว่าง Reverse-Chronical Resume กับ Functional Resume เข้าด้วยกันนั่นเอง โดยจะเป็นการเอาจุดเด่นของ Resume ทั้งสองแบบมารวมเข้าด้วยกัน คือเอาประวัติการทำงานหรือประสบการณ์และทักษะความสามารถที่ใช้ในงานแต่ละงานมาสรุปและเรียบเรียงเข้าด้วยกัน ทำให้Resumeประเภทนี้สามารถมีความยาว 1- 2 หน้าได้ 

Hybrid Resume เหมาะกับทั้งคนที่เคยผ่านการทำงานมามากมาย แต่อยากจะชูความสามารถของตัวเองให้คนอ่านเห็นอย่างชัดเจนด้วย 

ตัวอย่าง

Hybrid Resume
ที่มา : IHire 

Hybrid Resume
ที่มา : smashingmagazine

รู้จัก Resume ทั้ง 3 แบบแล้ว ที่นี้เราจะมาต่อกันที่เจ้าส่วนประกอบทั้งหลายกัน 

ส่วนประกอบของ Resume มีอะไรบ้าง

โดยทั่วไปแล้ว Resume ของ Developer ต้องมีส่วนประกอบต่อไปนี้

  1. Professional Summary 
  2. Key skills
  3. Professional experience
  4. Education
  5. Additional Information

ต่อไปเราจะพูดถึงเทคนิคการเขียนในแต่ละส่วนว่าจะเขียนยังไงให้ดี ไปดูพร้อม ๆ กันดีกว่า

Professional Summary

หลายคนอาจเกิดคำถามว่า Professional Summery เนี่ยคืออันเดียวกันกับ Resume Objective หรือเปล่า 

คำตอบคือ ไม่ใช่ !

Resume Objective เป็นการเขียนเป้าหมายของเราที่มีต่อการทำงานว่าเราคาดหวังอะไรจากงานนี้ 

ส่วน Professional Summery เป็นการเขียนสรุปสั้น ๆ 4 -5 ประโยค เกี่ยวกับประสบการณ์ทำงาน ทักษะ ผลงานตลอดระยะการทำงาน และสิ่งที่เราจะทำให้บริษัทในวันข้างหน้า (รู้จักกันในอีกชื่อว่า Summery Statement) 

ถ้าคุณสามารถเขียน Professional Summery ให้ดีได้เท่ากับว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะเจ้า Professional Summery จะเป็นส่วนที่ Hook คนอ่านได้มากที่สุด แถมยังเป็นสิ่งที่ทำให้คนอ่านอยากรู้เรื่องของเราจากเนื้อหาใน Resume อีกด้วย

เพราะฉะนั้นอย่าได้ละเลยการเขียน Professional Summery เด็ดขาด มาดูกันว่า Professional Summery ที่ดีเขาเขียนกันยังไง

หัวใจของการเขียน Professional Summery คือคุณต้องรู้ว่าบริษัทที่คุณสมัครต้องการอะไร แล้วคุณจะใช้อะไรเป็น “แรงจูงใจ” ให้พวกเขาสนใจคุณ

ดังนั้นใน 4-5 ประโยคที่คุณจะวางลงไปใน Professional Summery ต้องตอบคำถาม 3 ข้อนี้

  1. คุณเป็นใคร ทำอะไรมาบ้าง ประสบการณ์และความสำเร็จของคุณคืออะไร
  2. คุณมีความสามารถอะไรที่จะเอามาใช้ในงานหรือตำแหน่งที่คุณต้องการ
  3. จากประสบการณ์และความสามารถของคุณ จะมาทำอะไรเพื่อบริษัทได้บ้าง

ที่สำคัญคือต้องเขียนให้คนอ่านอ่านแล้วเข้าใจว่า “ทำไมเขาถึงต้องจ้างคุณ” 

ข้อแนะนำในการเขียน Professional Summery

  1. เขียนเป็นส่วนสุดท้ายของ Resume

อย่างที่บอกไปว่า Professional Summery คือการสรุปประสบการณ์ ทักษะความสามารถ ดังนั้นก็ควรจะเขียนเนื้อหาให้เสร็จก่อนแล้วค่อยนำเนื้อหามาสรุปใน 4-5 ประโยคตามเกณฑ์คำถาม 3 ข้อข้างบน เพราะจะทำให้คุณสามารถเขียนได้อย่างครอบคลุม

  1. ประโยคแรกควรเปิดด้วยคำอธิบายเกี่ยวกับตำแหน่งที่เราสมัครและอายุงานที่เคยทำ เช่น 7+ years Full Stack Web Developing experienced เป็นต้น
  2. นำความสำเร็จและทักษะที่น่าประทับใจกลับมาย้ำลงใน Professional Summery เพื่อสร้าง First impression ให้กับคนอ่าน

ตัวอย่างของการเขียน Professional Summery

5+ years experienced, dynamic and detail-oriented Full Stack Web Developer with a track record of spearheading teams to engineer user-centric solutions for achieving breakthrough efficiency and driving client satisfaction. Highly skilled in end-to-end SDLC and effectively prototyped 20+ product features annually for XYZ to achieve a 25% reduction in costs. Registered unparalleled customer satisfaction levels and received the 2017 Employee of the Year Award for achieving a record-breaking NPS score out of 300+ employees.

Key Skills

ความสามารถของผู้สมัครเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ประกอบการตัดสินใจของผู้สมัคร เราจึงต้องเขียน Key Skills ลงไปใน Resume ด้วย โดย Key Skills คือความสามารถที่เกี่ยวข้องกับสายงานหรือตำแหน่งที่สมัคร สำหรับ Developer นั้น Key Skills ที่ควรใส่ลงไปมี 2 ประเภทด้วยกันคือ Technical Skills และ Managerial Skills

Technical Skills

อย่างแรกคือ Technical Skills ที่จะบอกว่าคุณมีทักษะในการใช้ภาษา Framework Library หรือ Tools อะไร ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ Developer ต้องเขียนลงไปอยู่แล้ว 

แต่รู้หรือไม่ว่าสิ่งสำคัญไม่ใช่แค่การเขียน ๆ ลงไปเท่านั้น

ลองนึกภาพว่าถ้าคุณเป็น HR ผู้สมัครส่ง Rsume มาให้คุณ แล้วร่ายเรียง Technical Skills มาแบบ

Technical Skills 

PHP, JavaScript, Python, Git, HTML, Jenkins, Kendo UI, My SQL  

มันก็ไม่ผิด แต่มันน่าเบื่อ 

ทีนี้มาลองจัดประเภทแล้วเรียบเรียงมาให้เป็นหมวดหมู่กันดีกว่า

Technical Skills 

Web Technologies & Frameworks: Angular 4, HTML5, CSS3.0, Kendo UI, PHP

Scripts/UI: JavaScript, OOJS, JQuery, AJAX, BootStrap

Database and ORM: MySQL

Web Debug Tools: Mozilla Firebug (debugger), Chrome developer tools

Application/Web Server: Apache Tomcat 6

Versioning and other tools: Git, Bitbucket, Jira

Deployment Tools: Docker, Maven, CiCd, Jenkins

เห็นมั้ยว่าทำแบบนี้จะทำให้คนอ่านอ่านง่าย ประหยัดเวลาในการสแกนหาทักษะที่กำลังหาอยู่ ยิ่งบางครั้งคนอ่านต้องการหาทักษะย่อย ของ Developer การจัดหมวหมู่จะทำให้คนอ่านเห็นทักษะของเราชัดเจน เพราะมันน่าจดจำแถมยังแสดงถึงความใส่ใจของเราอีกด้วย 

Managerial Skills

Developer ส่วนใหญ่พอเขียนถึง Technical Skills แล้วก็มักจะกระโดดไป Professional experience กันเลย แต่เชื่อไหมว่า Managerial Skills หรือทักษะการบริหารจัดการ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนของ Soft Skills ที่หลายคนมองข้ามไปเป็นคีย์สำคัญที่จะทำให้คุณเข้าตากรรมการเชียวนะ

ต้องเข้าใจก่อนว่าในการทำงาน บางทีการหาคนที่ “ทำเป็น” มาช่วยดูแลงานอย่างเดียวมันไม่ได้ เพราะฉะนั้นองค์กรหลาย ๆ ที่เลยต้องการคนที่ “ทำเก่ง” มาทำงานด้วย ทำเก่งในที่นี้คือเก่งทั้งทาง Technical ทั้งทางการบริหารงาน เพราะในการทำงานแน่นอนว่าจะต้องมีเหตุการณ์ที่คุณต้องนำทีม และรับผิดชอบโปรเจกต์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นคุณที่ต้องตัดสินใจและบริหาร Workflow ของโปรเจกต์ที่คุณดูแล ดังนั้นคนอ่านจึงอยากได้คนที่จะเข้ามาทำงานแล้วช่วยพัฒนาโปรเจกต์ให้ไปข้างหน้าได้โดยที่เขาไม่ต้องคอยกังวล 

Managerial Skills ถึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมใส่ลงไปใน Resume 

ทั้งนี้ทั้งนั้นการใส่ Managerial Skills ก็ไม่ใช่ว่าจะใส่ ๆ ลงไปได้เหมือนกัน เพราะถ้าคุณใส่ลงไปสั่ว ๆ มันจะดูไม่มีน้ำหนักและไม่น่าเชื่อถือ ท่องไว้เลยว่าถ้าคุณอยากให้คนอ่านเชื่อใน Managerial Skills ของคุณ ก็ต้องทำให้เห็น 

หลายคนคงเกิดคำถามมากมายในใจว่า แล้วมันจะไปทำให้เห็นได้ยังไงในหน้ากระดาษเดียวล่ะ ?

วิธีก็คือ ให้คุณเขียนยกตัวอย่างประสบการณ์หรือความสำเร็จของคุณมาเพื่อพิสูจน์ เช่นถ้าคุณบอกว่าคุณมีความเป็นผู้นำ คุณต้องบอกว่าอะไรทำให้คุณเป็นผู้นำ หรือถ้าคุณบอกว่าคุณเจรจาต่อรองเก่ง คุณต้องเอาผลของการเจรจาของคุณมาโชว์ เช่น สามารถเจรจาลดต้นทุนได้ 15% สามารถนำทีมให้ทำยอดได้ 30% เป็นต้น ยิ่งถ้ามีตัวเลขให้เห็นก็จะสามารถทำให้คนอ่านเห็นภาพมากขึ้น น่าเชื่อถือมากขึ้น

ที่สำคัญคือควรยก Soft Skills ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งนั้นมา เช่น เป็น Front – end Developer ก็อาจจะเป็นการทำงานร่วมกับลูกค้า หรือ Module management ก็ได้ 

Professional Experience

มาถึงตัวชูโรงอย่าง Professional Experience หรือประสบการณ์การทำงาน / ประวัติการทำงาน ที่หลาย ๆ คนรอคอยกันเสียที ซึ่งตรงส่วนนี้สำคัญมากถึงมากที่สุดใน Resume เลยทีเดียว เพราะถ้าเทียบกับบ้านหนึ่งหลัง ในขณะที่ Prefessional Symmery เหมือนห้องรับแขกที่เอาไว้ใช้สร้าง First impression ให้กับคนที่เข้ามาเยี่ยมชม Professional Experience ก็เป็นเหมือนส่วนที่เหลือเกือบทั้งหมดของบ้าน ต่อให้บ้านหลังหนึ่งมีห้องรับแขกที่ดูดี แต่ถ้าเดินเข้าไปส่วนอื่นของบ้านแล้วก็ไม่มีอะไรดูดีอีกเลย บ้านหลังนี้ก็ไม่ใช่บ้านที่ดี การเป็นบ้านที่ดีคือไม่ว่าจะเดินเข้าไปดูห้องไหนส่วนไหน ก็จะต้องเป็นบ้านที่สวยงาม แข็งแรง น่าอยู่ทุกที่ Resume ที่ดีก็เช่นกัน 

การเขียน Professional Experience ที่ดีนอกจากจะทำให้เราดูน่าสนใจแล้วยังทำให้เรามีโอกาสที่จะได้รับงานเฉพาะทางหรืองานที่ตรงกับใจเรามากขึ้นด้วย เราจึงต้องเขียนให้ดูเป็นผู้เชี่ยวชาญ 

สำหรับใครที่อยากรู้วิธีเขียน Professional Experience แบบมืออาชีพ Talance มีวิธี สามารถเข้าไปดูได้ ที่นี่

สำหรับส่วนนี้เราจะมาพูดถึงข้อแนะนำที่จะช่วยให้คุณเขียน Professional Experience ให้ได้รับงานเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น

การเขียน Professional Experience

1. ใช้ข้อมูลจาก Master CV

จะดีมากถ้าคุณทำ Master CV เอาไว้ เพราะ Master CV เป็นสิ่งที่รวบรวมทุกประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน กิจกรรม อาสาสมัคร อะไรทำนองนี้เอาไว้อย่างละอียด ซึ่งเมื่อทำ Master CV เอาไว้ คุณสามารถนำมันกลับมาสแกนดูได้ว่า ในงานที่คุณกำลังจะสมัคร ทางองค์กรต้องการอะไร จะเอา Job description มาเทียบก็ได้ จากนั้นก็ดึงข้อมูลใน Master CV ที่ตรงหรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่บริษัทต้องการมาใส่ใน Resume ประวัติการทำงานของคุณน่าสนใจมากขึ้น โอกาสที่คุณจะได้รับการคัดเลือกก็มากขึ้นเช่นกัน

2. วางโครงสร้างย่อหน้าให้ดี ๆ

บางทีการเอาประสบการณ์ทำงานมาเขียนเรียง ๆ กันเป็นแพแบบที่หลาย ๆ คนเคยเห็นอาจทำให้คนอ่านร้องไห้ออกมาแน่ ๆ  คิดดูว่าถ้าคุณเป็น HR ที่ต้องนั่งอ่าน Resume หลายสิบถึงร้อยฉบับ ต้องมานั่งอ่านกองทัพตัวหนังสือแบบนี้ก็อาจทำให้เบื่อจนไม่สามารถโฟกัสจุดที่เจ้าของ Resume อยากให้โฟกัสจริง ๆ ได้ ดังนั้นการจัดโครงสร้างให้เป็น หัวข้อใหญ่ – หัวข้อย่อย จะทำให้อ่านง่าย และสามารถสร้างจุดโฟกัสได้ดี เช่น

Team Management & Leadership

  • Spearheading a team of ~20 to conceptualize and effectively implement the Mark for Upload feature for the company
  •  Commissioning the development of Logging Framework across all platforms including iOS, Android & Windows.

Library Management & Process Optimization

  • Conceptualizing and developing a library for the company to reduce additional costs involved in using third-party libraries
  •  Developing client-side libraries across both iOS and Android to enable usage of the offline sync feature for the app developer
  • Proposing a common network layer for all network calls to be used by the product to effectively optimize SDK size.

Key Achievements

  •  Envisioned & developed the common network layer for Android to accomplish a reduction in the SDK size by ~20%
  • Achieved the ‘Team Excellence Award’ & played a critical role in applying for a patent based on the logging library.

เห็นไหม ? แค่เปลี่ยนโครงสร้างง่าย ๆ ก็ทำให้ Resume ของคุณน่าอ่านขึ้นมาทันตาเห็น คุณสามารถเน้นส่วนที่สำคัญด้วยการทำตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ก็ได้ 

3. เรียบเรียงให้เห็นภาพความสำเร็จ

พอพูดถึงประสบการณ์ / ประวัติการทำงาน คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าเป็นการพูดถึงแค่ประสบการณ์ว่าเคยทำอะไร ที่ไหนมาบ้าง รับผิดชอบอะไรบ้าง แต่จริง ๆ แล้วสิ่งที่ HR อยากเห็นคือ Accomplishment หรือ ความสำเร็จของเรามากกว่า ดังนั้นเวลาเขียน Professional Experience แนะนำว่าควรจะเขียนให้เห็นภาพความสำเร็จ สำหรับใครที่นึกภาพไม่ออกว่าจะต้องเขียนยังไง เรามาดูสูตรลับกัน

A + P + R = A

Action Verb + Project + Result = Accomplishment

สูตรนี้จะเป็นตัวนำทางให้เราได้รู้ว่า จะเล่าประสบการณ์ทำงานยังไงให้เห็นถึงความสำเร็จ โดยให้เริ่มจากการใช้ Action Verb เพื่อบอกว่าเราทำอะไร ตามด้วย Project และ Result หรือ ผลของ Project

ตัวอย่างเช่น

Spearheaded a team of 5 Junior Developers to effectively execute 11 projects with 100% on-time delivery while achieving a cost-reduction of 20% and registering CSAT levels of 4.88/5.00

การเขียนประสบการณ์ทำงานแบบนี้จะทำให้เรื่องราวของเราดูเป็นเหตุเป็นผลและน่าเชื่อถือมากกว่าการกล่าวขึ้นมาลอย ๆ เพราะเชื่อเถอะว่าแบบนั้นใคร ๆ ก็ทำได้

สำหรับ Developer น้องใหม่ จะเขียน  Professional Experience ยังไงให้ดูน่าสนใจ

เรื่องน่าหัวจะปวดของเหล่า Developer จบใหม่คือไม่รู้ว่าจะเอาอะไรมาเขียนในประวัติการทำงานดี ยิ่งถ้าไม่เคยมีปนะสบการณ์ทำงานหรือการแข่งขันอะไรมาก่อนเลยยิ่งไม่ต้องพูดถึง แต่ไม่ต้องห่วง ก่อนอื่นลองตั้งสติก่อนแล้วคิดย้อนไปว่าในช่วงชีวิตวัยเรียนของเรา ผ่านอะไรมาบ้าง มีโปรเจกต์ที่เคยทำไหม เคยร่วมกิจกรรมพบปะหรืออบรมอะไรไหม สิ่งเหล่านี้เราก็สามารถเอามาเขียนได้ แค่อาจจะต้องใช้ลีลาการเขียนพลิกแพลงมันให้ดูน่าสนใจขึ้นมาหน่อย เช่น

FREELANCE PROJECTS:

  • Developed a webapp portal for an e-travel firm to increase the client’s sales by 48%,
  • Enabled the Smiles Dental Clinic to measure patient satisfaction scores through an online form. Assisted in boosting CSAT levels by 7 points within 2 months,
  • Independently developed a website for the local Baseball league championship to increase streaming sales by 50%,
  • Created a webapp to facilitate easy donations through Facebook & Whatsapp for Friendicoes Shelter for the Homeless. Raised donation levels by 45% & helped rehabilitate 25 people from the street.

เพียงเท่านี้เราก็จะหลุดพ้นจากวังวนแห่งการสมัครงานหาประสบการณ์เพื่อเป็น “คนมีประสบการณ์” ที่ใคร ๆ ก็ต้องการเสียที

ประวัติการศึกษาเป็นสิ่งที่คนมักจะไม่ค่อยเห็นความสำคัญ และไม่ได้มองว่ามันจำเป็น 
ที่มา : reddit

Education

ประวัติการศึกษาเป็นสิ่งที่คนมักจะไม่ค่อยเห็นความสำคัญ และไม่ได้มองว่ามันจำเป็น 

จริงอยู่ที่ประวัติการศึกษาอาจไม่ได้สลักสำคัญเท่ากับประสบการณ์การทำงานหรือทักษะความสามารถ แต่มันก็ไม่ได้ไม่สำคัญซะขนาดนั้น 

ลองนึกดูว่าในระหว่างที่เรียนอยู่ไม่ว่าจะระดับชั้นมัธยมหรือมหาวิทยาลัย มีกิจกรรมอะไรบ้างที่สร้างประสบการณ์และทักษะให้กับเรามาจนถึงวันนี้ ถ้ามีก็ไม่ผิดที่จะใส่ลงไปบ้าง เพื่อทำให้ Resume มีเรื่องราวของเราเพิ่มเติม แถมยังเป็นตัวเสริมให้เนื้อหาอื่น ๆ ดูมีน้ำหนักมากขึ้นด้วย

ตัวอย่าง

BA — Computer Science

University of Syracuse, 2013-2016

  • Utilized a deep-rooted passion for cloud technologies by contributing to the open-source AWS Project for New York University
  • Wrote a column on ‘Is AI the Industrial Revolution of the 21st Century’ for the college magazine
  • Developed the Salesforce Contacts mobile app to streamline operations & performed Jasmine Unit Tests in the TDD process
  • Deployed the MVVM Architecture for boosting ability to build scalable apps & optimized usage of Pagina

ในตัวอย่างข้างบนมีการเขียนประสบการณ์ระหว่างเรียนว่าทำอะไรมาบ้าง ซึ่งอย่างที่บอกไปว่าถ้ามันเกี่ยวข้องกับประสบการณ์และทักษะของคุณก็สามารถใส่เสริมเข้ามาได้เช่นกัน 

Additional Information

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดคือ Additional Information หรือข้อมูลเพิ่มเติมที่จะเขียนลงใน Resume นอกจากเนื้อหาหลัก ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมนอกเวลา รางวัล ชื่อเสียง งานอดิเรกหรือความสนใจ รวมถึง Developer Profile social และ Portfolio ด้วย

สิ่งเหล่านี้คุณสามารถใส่ลงไปได้เพื่อที่จะทำให้คนอ่านเห็นว่าคุณรักในสิ่งที่ทำอยู่มากแค่ไหน โดยการเอามาสร้างให้เป็นเรื่องน่าสนใจและเกี่ยวข้องกับงาน 

สรุป

การทำ Resume ให้ได้งานเฉพาะทางสำหรับสาย Dev นอกจากจะต้องทำ Resume ให้น่าสนใจและดู Professional แล้ว ยังต้องคำนึงถึงความต้องการของคนอ่านที่ต้องการจ้างงานแบบเฉพาะทางด้วย Developer จึงต้องทำ Resume ที่ทำให้คนอ่านเห็นว่าคุณคือคนที่ตอบโจทย์ ไม่ว่าจะเป็นการเขียน Professional Summery ให้คนอ่านรู้สึกว่าเราคือคนที่ใช่ เขียน Key Skills ให้ง่ายต่อการสแกนและน่าจดจำ รวมถึงเขียน Professional Experience ให้ดูมีความเชี่ยวชาญในการทำงานสายนั้น องค์ประกอบเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ Resume ของเราน่าสนใจ และเป็นเส้นทางสู่การรับงานเฉพาะทางที่ดี

Talance หวังว่าเทคนิคการทำ Resume ของเราในวันนี้จะเป็นประโยชน์กับใครหลายคน ขอให้โชคดีและมีความสุขกับการทำงานในสาย Developer นะ

แหล่งอ้างอิง : smashingmagazine

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขข้อสงสัยทำไมหลายคนเลือกใช้ Recruitment Agency ในเมื่อหางานเองได้

“ ถ้าต้องการหางานใหม่ต้องใช้เวลานานแค่ไหน ? “ คำถามที่ผู้หางานหลายคนคิดกับตัวเอง แน่นอนว่าการค้นหางานที่เหมาะกับตัวเองเป

Jo

15 Mar 2024 | 1 นาทีอ่าน

แนะนำ 7 ทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงาน ถ้าอยากก้าวหน้าในอนาคต

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น ทำให้พนักงานต้องเรี

Jo

05 Mar 2024 | 1 นาทีอ่าน

เริ่มงานใหม่อย่างไร ? ให้ประสบความสำเร็จ!!!

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับการเริ่มงานใหม่ของทุกคนด้วยนะคะ แน่นอนว่าการเริ่มงานใหม่ก็เหมือนกับการเริ่มต้นใหม่ ต้องเจอ

Jo

15 Feb 2024 | 1 นาทีอ่าน

ทำไมกระบวนการ Onboarding ที่มีประสิทธิภาพถึงสำคัญกว่าที่คุณคิด

เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่า ไม่ว่าวิธีการทำงานจะเปลี่ยนไปขนาดไหน จะเป็นการทำงานแบบ Hybrid หรือ Flexible Work การมีพนักงานใหม่เข

Jo

23 Jan 2024 | 1 นาทีอ่าน

เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง! แนะนำตัวในการสัมภาษณ์งานยังไง ให้ HR อยากสัมภาษณ์ต่อ

การสัมภาษณ์งานเป็นเหมือนด่านเเรกที่เราต้องเผชิญเมื่อเข้าสู่ชีวิตการทำงาน การที่จะเป็นผู้ถูกเลือกหรือไม่ขึ้นอยู่กับขั้นตอ