7 ข้อผิดพลาดในการเป็นฟรีแลนซ์

7 ข้อผิดพลาดในการเป็นฟรีแลนซ์ ที่ทำให้เราไม่ก้าวหน้าเสียที

admin

07 Jun 2021 | 1 นาทีอ่าน

ข้อผิดพลาดในการเป็นฟรีแลนซ์ คืออะไร ? แล้วทำไมคนเป็นฟรีแลนซ์ควรให้ความสำคัญ ? เมื่อพูดถึงการทำงานฟรีแลนซ์ ภาพลักษณ์อันดับแรกที่มักถูกนึกถึงคือความอิสระในการเป็นนายตัวเอง ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานที่หลายคนใฝ่ฝัน ยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่ตัดสินใจรับงานฟรีแลนซ์เพราะความยืดหยุ่นในหน้าที่การงาน กระนั้นงานฟรีแลนซ์อาจไม่ได้ง่ายเหมือนที่คิด เพราะการบริหารจัดการงานด้วยตัวเองนั้นต้องพึ่งทั้งกำลังกาย กำลังใจ และประสบการณ์ ทำให้ฟรีแลนซ์มือใหม่ที่ไม่เคยทำในสายงานนี้มาก่อนหลงทิศหลงทางไปบ้าง จนกลายมาเป็นข้อผิดพลาดในการเป็นฟรีแลนซ์ อันส่งผลให้เกิดอุปสรรคในการเป็นฟรีแลนซ์ ดังนั้นเพื่อช่วยเหลือฟรีแลนซ์ที่เพิ่งเริ่มต้นออกเดินทาง และผู้ที่กำลังตัดสินใจเกี่ยวกับการรับงานฟรีแลนซ์ ที่กำลังต้องการแนวทางสำหรับการริเริ่ม เรามี ข้อผิดพลาดในการเป็นฟรีแลนซ์ ที่คุณควรรู้มาแชร์

การทำงานฟรีแลนซ์ในระยะเริ่มต้น ความขาดประสบการณ์ของฟรีแลนซ์มือใหม่อาจทำให้การทำงานมีข้อผิดพลาดที่อาจคาดไม่ถึง 7 ข้อผิดพลาดในการทำงานฟรีแลนซ์ ต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณได้รู้ว่าการเป็นฟรีแลนซ์มักต้องเจอกับปัญหาแบบไหน และจะแก้ไขอย่างไร เพื่อป้องกันการเกิด อุปสรรคในการเป็นฟรีแลนซ์ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย !

1. กำหนดค่าแรงต่ำเกินไป

เมื่อได้เริ่มต้นทำงานฟรีแลนซ์ หลายคนมักมีความกังวลในเรื่อง “โอกาส” และ “ความน่าสนใจ” ของตัวเอง โดยมองว่าสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับจำนวนลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการ เรื่องนี้มีผลกับการกำหนดค่าแรงของเหล่าฟรีแลนซ์อยู่บ่อยครั้ง เพราะความคิดที่ว่าคนส่วนใหญ่มักสนใจของถูก จึงทำให้ไม่กล้ากำหนดราคาสูง แม้งานที่ตัวเองรับมาจะใช้ทั้งเวลา กำลัง และงบประมาณเป็นจำนวนมาก แต่เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้า จึงจำเป็นต้องกดราคาค่าแรงของตัวเองให้ต่ำลง

การกำหนดค่าแรงต่ำเกินไปอาจทำให้ได้รับความสนใจมากขึ้น แต่หากใช้วิธีนี้บ่อยเกินไปก็จะทำให้เกิดผลเสียระยะยาวตามมา คือนอกจากจะเสียโอกาสในการสร้างรายได้เพื่อนำมาค้ำจุนธุรกิจแล้ว ยังเป็นการลดทอนความเชื่อมั่นในผลงานของตัวเองซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการพัฒนาและประสิทธิภาพในการทำงานครั้งต่อ ๆ ไป

ในความเป็นจริง แม้ของราคาถูกจะดึงดูดความสนใจของผู้คนได้ในทีแรก แต่เมื่อมองในมุมของลูกค้าเองก็ต้องไม่ลืมว่าผลงานที่มีคุณภาพนั้นย่อมแลกมาด้วยความทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ และเวลา ซึ่งไม่คุ้มค่าหากต้องแลกกับค่าตอบแทนอันน้อยนิด การคำนึงในประสิทธิภาพของฟรีแลนซ์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญกว่าราคามาก ลูกค้ามักจะมองหาฟรีแลนซ์ที่ทำงานได้ดีมากกว่าฟรีแลนซ์ที่ทำงานให้ในราคาถูก ดังนั้นอย่ากลัวที่จะกำหนดราคาให้เหมาะสมและคุ้มค่ากับการผลิตผลงานของคุณ

2. ไม่เลือกกลุ่มลูกค้า

ในการทำงานฟรีแลนซ์ การเลือกกลุ่มลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญที่หลายคนมองข้าม เพราะคิดเพียงว่าการมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการนั้นเพียงพอแล้วสำหรับการประกอบอาชีพ นับว่าเป็นความคิดที่ผิดสำหรับการเป็นฟรีแลนซ์มาก เนื่องจากการผลิตผลงานให้ลูกค้าจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารกันเป็นระยะเพื่อติดตามความคืบหน้า ซึ่งก็เหมือนกับการทำงานร่วมกันระยะในระยะหนึ่งนั่นแหละ โดยเฉพาะบางกรณีที่ไม่ใช่แค่ผลิตชิ้นงานส่ง แต่เป็นการจ้างเข้าไปร่วมงานกับทีมของลูกค้าเพื่อช่วยทำโปรเจกต์ให้สำเร็จลุล่วง  การเลือกลูกค้าจึงคล้าย ๆ กับการเลือกเพื่อนร่วมงานไปในตัว หากได้ร่วมงานกับคนที่มีกิจวัตรการทำงาน หรือนิสัยที่เข้ากันได้ ก็จะทำให้การทำงานผ่านพ้นไปได้ด้วยดี แต่หากเพื่อนร่วมงานกลับเป็นคนที่ทำให้คุณไม่อยากทำงานด้วย จุดนั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้การทำงานของคุณขาดเสถียรภาพ และอาจไม่บรรลุเป้าหมายได้ตามที่คาดหวัง

ฟรีแลนซ์ควรเลือกกลุ่มลูกค้าที่ไม่เพียงแต่มีนิสัยที่เข้ากันได้ดี แต่ต้องรับฟังและเคารพคุณในฐานะเพื่อนร่วมงาน ทั้งนี้ก็เพื่อการสื่อสารและการร่วมงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานของคุณมีคุณภาพมากขึ้น อีกทั้งยังได้รับประสบการณ์ดี ๆ ในการทำงานอันจะทำให้ตัวฟรีแลนซ์เกิดการพัฒนาตนเองควบคู่ไปด้วย

3. จัดการเวลาไม่ได้

การทำงานฟรีแลนซ์ คือการเป็นนายตัวเอง ปัจจัยสำคัญสำหรับการงานจึงขึ้นอยู่กับตัวเองทั้งหมด ตั้งแต่การเงิน รูปแบบงาน กลุ่มลูกค้า สถานที่ รวมไปถึงเวลาในการทำงานที่ฟรีแลนซ์ต้องบริหารเอง อย่างไรก็ดีปัญหาเรื่องการจัดการเวลา ก็ยังคงเป็นปัญหาที่พบมากในหมู่สายอาชีพฟรีแลนซ์ เนื่องจากการทำงานที่ไร้ขอบเขตด้านสภาพแวดล้อม ทำให้เส้นกั้นระหว่าง “เวลาพัก” และ “เวลาทำงาน” จางลงไปจนทำให้ไม่มีการแบ่งเวลาทั้งสองฝั่งออกจากกันอย่างชัดเจน ฟรีแลนซ์บางคนยังคงทำงานต่อไปในช่วงเวลาพักผ่อน ส่วนบางคนก็พักผ่อนไปเรื่อย ๆ เพราะคิดว่าจะทำงานเมื่อไหร่ก็ได้จนเกิดการผัดวันประกันพรุ่ง เมื่อขาดความสามารถในการจัดการเวลา ปัญหาที่ตามมาคือชีวิตที่ขาดสมดุล ซึ่งสามารถส่งผลกระทบกับทั้งชีวิตครอบครัว ความสัมพันธ์ สุขภาพกาย สุขภาพจิต และกำลังใจในการทำงานได้

ความสำเร็จในหน้าที่การงานอาจมีเรื่องของความ Productive เป็นแนวทาง แต่ก็ใช่ว่า Work Life Balance จะไม่สำคัญ เพราะการมีสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จเช่นกัน ดังนั้นการเป็นฟรีแลนซ์ควรให้ความสำคัญกับการจัดการเวลาของตัวเองเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังต้องแบ่งเวลางานกับเวลาพักผ่อนให้ชัดเจนและสมดุล เพื่อการเป็นฟรีแลนซ์ที่มีความสุข

4. แสดงความสามารถไม่เต็มที่

เมื่อต้องทำงานกับลูกค้า ฟรีแลนซ์หลายคนเลือกที่จะทำตามการตัดสินใจของลูกค้าทั้งหมด จริงอยู่ที่หากมองตามหลักการแล้วมันคือการทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า แต่ในทางปฏิบัติ ตัวฟรีแลนซ์และลูกค้าต้องทำงานร่วมกัน ในขณะที่ลูกค้าคือคนกำหนดรูปแบบ ตัวแปร และปัจจัยต่าง ๆ ฟรีแลนซ์จะเป็นคนใช้ความรู้ ความชำนาญ ในการช่วยพัฒนา ดังนั้นการทำงานกับลูกค้า ฟรีแลนซ์ต้องมีความคิดริเริ่มเพื่อสร้างโปรเจกต์ แต่หากฟรีแลนซ์รอเพียงคำสั่งและทำตามใจของลูกค้า โดยไม่มีการสื่อสาร แนะนำ ช่วยปรับปรุงจุดบกพร่องของโปรเจกต์ นอกเสียจากจะไม่ได้ใช้ความคิดริเริ่มในการพัฒนาตัวเองและการทำงานแล้ว ยังทำให้สูญเสียความเชื่อมั่นในอาชีพการงานจากลูกค้าอีกด้วย

คิดในมุมมองใหม่ว่าการทำงานฟรีแลนซ์คือการร่วมงานกับลูกค้า และกล้าเสนอไอเดียใหม่ ๆ เพื่อแนะนำหรือปรับปรุงแก้ไขจุดที่ลูกค้ามองไม่เห็น ซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุดต่อลูกค้า การทำให้ลูกค้าประทับใจที่ร่วมงานกับคุณ จะเป็นประโยชน์กับฟรีแลนซ์มากในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นและทักษะการแก้ปัญหาให้ตัวเองได้อีกด้วย

5. สื่อสารกับลูกค้าน้อยก็ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการเป็นฟรีแลนซ์ได้

การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานฟรีแลนซ์ เพราะการทำงานร่วมกันระหว่างรีแลนซ์และลูกค้านั้น ต้องการความเข้าใจตรงกันเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังมีฟรีแลนซ์หลายคนที่เข้าใจผิดเรื่องการร่วมงานกับลูกค้าว่า ลูกค้าทุกคนเข้าใจว่าการทำงานกับฟรีแลนซ์ต้องทำอย่างไร หรือเข้าใจว่าแค่ฟังบรีฟจากลูกค้า ทำงาน แล้วส่งงานเป็นอันจบ ซึ่งในความเป็นจริงหากขาดการติดต่อสื่อสารระหว่างทั้งสองฝ่าย จะทำให้การทำงานขาดทั้งเสถียรภาพ และประสิทธิภาพเพราะความเข้าใจระหว่างสองฝ่ายคลาดเคลื่อนกัน ฝ่ายฟรีแลนซ์ไม่เข้าใจ ไม่มีไอเดีย ก็อาจทำงานออกมาได้ไม่ดี ฝั่งลูกค้าก็ไม่ถูกใจ ดังนั้นจึงไม่ควรคิดว่าลูกค้าเข้าใจคุณอยู่แล้ว หรือคุณรู้จุดประสงค์ของลูกค้าดีอยู่แล้ว

การสื่อสารนั้นจำเป็นตั้งแต่ขั้นตอนแรก คือการจ้างงาน ทั้งสองฝ่ายต้องสื่อสารกันให้เข้าใจว่า ลูกค้าต้องการอะไร ฟรีแลนซ์ทำอะไรให้ได้ ข้อตกลงระหว่างการทำงานคืออะไร เวลาที่จะติดต่อกันควรเป็นเวลาไหน ช่องทางการติดต่อสื่อสารและการส่งงานต้องเป็นอย่างไร ระหว่างการร่วมงานก็ต้องมีการติดต่อกันเป็นระยะ ๆ เพื่อติดตามงาน ตรวจทานความถูกต้อง ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของงาน หรือแม้แต่ตอนส่งมอบงานก็ยังต้องมีการสื่อสารเพื่อแนะนำการใช้งานและติดตามผลตอบรับจากลูกค้า ด้วยเหตุนี้ฟรีแลนซ์จึงควรติดต่อสื่อสารกับลูกค้าให้สม่ำเสมอ เพราะทุกการสื่อสารจำเป็นต่อการทำงานร่วมกัน

6. ไม่รักษา Connection กับลูกค้าเก่า

“ลูกค้าที่ดีที่สุดในอนาคตคือลูกค้าเก่า” นั่นเป็นเพราะการเคยร่วมงานกันทำให้ฟรีแลนซ์รู้เกี่ยวกับทิศทางความต้องการ ลักษณะงานที่ลูกค้าเก่ากำลังสนใจ ส่วนตัวลูกค้าก็จะรู้ว่าฟรีแลนซ์คนนี้มีประสิทธิภาพด้านไหน สไตล์การทำงานเป็นอย่างไร ยิ่งหากลูกค้าประทับใจการทำงานร่วมกับคุณขึ้นมา ก็จะยิ่งมีโอกาสที่จะได้กลับมาทำงานร่วมกันหรือถูกเอาไปแนะนำต่อ แต่ฟรีแลนซ์หลายคนกลับมองข้ามลูกค้าเหล่านี้และสนใจแต่การหาลูกค้าใหม่ ๆ จนไม่ได้กลับมาใส่ใจกับลูกค้าเก่า ทั้ง ๆ ที่โอกาสในการทำงานที่ดีอยู่ตรงหน้าแล้ว

ความใส่ใจในการติดตามความต้องการของลูกค้าหลังจบงานนั้น จะพิสูจน์ให้เห็นว่าคุณเข้าใจในการทำงานกับลูกค้ามากกว่าใคร เพราะคุณมองเห็นลักษณะความต้องการและเป้าหมายของเขามาแล้ว คุณจึงเหมาะสมที่สุดในการช่วยเหลือลูกค้าให้บรรลุเป้าหมาย แม้ลูกค้าอาจยังไม่ต้องการความช่วยเหลือก็ขอให้อย่าเพิ่งตัดใจ ลองทิ้งข้อมูลติดต่อเอาไว้ก่อนเพื่อเปิดทางให้กับการติดต่อเสมอ

7. ไม่เปลี่ยนนิสัยที่เป็นอุปสรรคในการเป็นฟรีแลนซ์

การเริ่มต้นบางครั้งอาจไม่ง่าย และการประสบความสำเร็จก็ย่อมต้องใช้เวลา แต่บางนิสัยที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานมักทำให้ฟรีแลนซ์หลายคนยอมแพ้ไปก่อน เนื่องจากสภาพแวดล้อมในวงการทำงานที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง เช่นขาดความกระตือรือร้น ไม่มีระเบียบวินัย ดูถูกตัวเอง ซึ่งนับเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะบางคนมีประสิทธิภาพในการทำงานอย่างล้นเหลือ แต่ไม่สามารถปรับตัวต่อการทำงานในสายอาชีพนี้ได้

อุปนิสัยเหล่านี้แก้ได้ที่ Mind set คือหากคุณเกิดสับสนว่าตัวเองมีดีแค่ไหนสำหรับการทำงาน ให้คุณหยุดเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น แล้วมองย้อนไปถึงวันแรกที่คุณเริ่มทำงานฟรีแลนซ์ว่า กว่าจะถึงวันนี้คุณทำอะไรมาแล้วบ้าง ที่ผ่านมาคุณได้อะไรมาเพิ่ม คุณพัฒนาตัวเองไปมากแค่ไหน แล้วชื่นชมความเติบโตของตัวเอง ดีกว่าการที่คุณพยายามกดดันตัวเองว่าต้องทำให้ดีกว่าคนอื่นจนเกิดภาวะหมดไฟ เมื่อเปลี่ยนมุมมองในการทำงานแล้วคุณจะเคารพตัวเองและมีความสุขกับงานมากขึ้น ส่งผลให้อุปนิสัยที่ขัดขวางการเจริญเติบโตนั้นค่อย ๆ หายไปได้ในที่สุด

7 ข้อผิดพลาดที่กล่าวมานี้ อาจยังไม่ใช่ทั้งหมดที่เป็นปัญหาสำหรับคนทำงานฟรีแลนซ์ แต่ก็เป็นข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ เพราะความเข้าใจผิดเกี่ยวกับรูปแบบและลักษณะของงานฟรีแลนซ์ที่หลายคนมองว่าเป็นงานอิสระ จนสามารถทำอะไรก็ได้ในเมื่อการตัดสินใจทั้งหมดขึ้นอยู่กับตัวเอง แต่เพราะเป็นแบบนั้นก็ยิ่งต้องวางแผนการทำงานให้รัดกุมและเชื่อมั่นในตัวเองให้มาก จึงจะทำให้การประกอบอาชีพฟรีแลนซ์ของคุณมีเสถียรภาพและประสบความสำเร็จในที่สุด ดังนั้นเราเชื่อว่าหากคุณรู้ปัญหาทั้ง 7 ข้อนี้แล้ว คุณจะสามารถมองเห็นเส้นทางในการประกอบอาชีพฟรีแลนซ์ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

สรุป

การทำงานฟรีแลนซ์เป็นงานที่ต้องพึ่งพาตัวเองสูง ผู้ประกอบการต้องบริหารทุกอย่างด้วยตัวเองทั้งหมด จึงมีบางครั้งที่ทำให้ฟรีแลนซ์มือใหม่ที่เพิ่งเข้ามาสัมผัสสายงานนี้ยังมึนงงหลงทางไปบ้าง เพราะยังขาดประสบการณ์ละความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานฟรีแลนซ์จริง ๆ ข้อผิดพลาดในการเป็นฟรีแลนซ์ ทั้ง 7 ประการนี้ คือสิ่งที่มักเกิดขึ้นในการทำงานฟรีแลนซ์ ซึ่งผู้ตัดสินใจจะผันตัวมาทำงานหรือกลุ่มฟรีแลนซ์หน้าใหม่ควรรู้ เพื่อนำไปปรับใช้เป็นแนวทางการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปอีก

เราหวังว่าเนื้อหาดังกล่าวนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจโลกของฟรีแลนซ์มากขึ้น ทำให้คุณสามารถก้าวไปถึงความสำเร็จในหน้าที่การงานของคุณได้ และไม่เกิดอุปสรรคที่มาขัดขวางการเป็นฟรีแลนซ์ของคุณ ขอเพียงเชื่อมั่นในตนเองและมุ่งหมายในการพัฒนาศักยภาพ เราก็จะเชื่อและพร้อมที่จะพัฒนาไปกับคุณ

นอกจากความเชื่อที่เรามีในตัวคุณ วันนี้ Talance ยังเปิดโอกาสให้ Freelance เข้ามาร่วมงานกับเราด้วย ถ้าคุณพร้อมที่จะเปิดประสบการณ์ใหม่ไปกับเรา อย่าลังเลที่จะสมัครเป็นทาเลนต์ที่นี่เลย! สมัครเป็นทาเลนต์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บทความที่เกี่ยวข้อง

อยากลาออก แต่เจ้านายรั้งไว้ด้วย Counter Offer แบบนี้ควรรับไหม ?

Counter Offer คืออะไร ? ข้อเสนอที่บริษัทปรับให้ เช่นเงินเดือนสวัสดิการต่างๆที่เคยมีให้เพิ่มขึ้นจากเท่าเดิม มีไว้ไม่ให้พน

Jo

08 Sep 2023 | 1 นาทีอ่าน

แจ้งลาออก ต้องบอกล่วงหน้านานแค่ไหน ?

พนักงานหลายๆคนอาจกำลังสงสัยว่าทำไมการลาออกจะต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน แล้วมันต้องแจ้งล่วงหน้ากี่วันจะสามารถลาออกได้ หรือจร

Jo

04 Sep 2023 | 1 นาทีอ่าน

ทำงานยังไงให้เพิ่ม Productivity ได้ตลอดวัน! พร้อมเคล็ดลับ

ลักษณะการทำงานในปัจจุบันต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วและมีความต้องการสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีประสิทธิภาพของการทำงานเป็นกุญแจ

Jo

22 Jun 2023 | 1 นาทีอ่าน

ทำความรู้จัก user acceptance test (UAT) ทำไมการทดสอบกับผู้ใช้จึงสำคัญ

เมื่อมีการพัฒนาโปรดักต์ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ก็ตาม มีขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ป

Jo

15 May 2023 | 1 นาทีอ่าน

สัญญาฟรีแลนซ์ เรื่องที่ IT Freelancer ควรรู้ ก่อนเริ่มงาน

การทำงานฟรีแลนซ์สาย IT เป็นงานที่อิสระและมีรายได้เข้ามาเยอะ แต่หากคุณไม่มีสัญญา หรือดูรายละเอียดการทำสัญญาระหว่างคุณกับล

Jo

19 Mar 2023 | 1 นาทีอ่าน

Update ! ส่องรายได้ Freelance สาย IT

ส่องรายได้ฟรีแลนซ์ สาย IT ❗️มาดูกันว่ารายได้ของแต่ละสายเป็นอย่างไร 🧐 งานสาย IT เป็นงานที่มีความต้องการในตลาดแรงงานค่อนข้