Freelance Contract

สัญญาฟรีแลนซ์ เรื่องที่ IT Freelancer ควรรู้ ก่อนเริ่มงาน

Jo

19 Mar 2023 | 1 นาทีอ่าน

การทำงานฟรีแลนซ์สาย IT เป็นงานที่อิสระและมีรายได้เข้ามาเยอะ แต่หากคุณไม่มีสัญญา หรือดูรายละเอียดการทำสัญญาระหว่างคุณกับลูกค้าให้ดีแล้วล่ะก็ รับรองได้เลยว่า คุณจะต้องปวดหัวอย่างแน่นอน 

เชื่อว่าฟรีแลนซ์บางคน อาจจะเคยเจอเหตุการณ์ที่ผู้ว่าจ้างจ่ายไม่ครบ หรือเอางานไปแล้วหนีไปไม่จ่ายสักบาท แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ หลายคนเลยแก้ด้วยการเก็บเงินมัดจำก่อนเริ่มงาน

ทางแก้ที่จะช่วยให้ฟรีแลนซ์สาย IT แบบเราได้รับค่าจ้าง 100% และลูกค้าไม่หอบงานหนีไป ก็คือ การเขียนใบสัญญานั่นเอง!

สัญญาคืออะไร?

สัญญา คือเอกสารที่ระบุเนื้อหาเกี่ยวกับการจ้างงานระหว่างผู้ว่าจ้างและฟรีแลนซ์ จะมีรายละเอียดอยู่หลายอย่าง เช่น ระยะเวลาการทำงาน จำนวนเงินที่ต้องง่าย ปัญหาอื่นๆ เช่นทำงานล่าช้าหรือยกเลิกจ้างงาน ซึ่งการเขียนระบุในใบสัญญาควรเขียนให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการโดนโกง (ทั้งจากฝ่ายผู้จ้างและผู้ถูกจ้าง)

การเขียนสัญญาให้รัดกุมจะทำให้เราทำงานได้สบายใจมากขึ้น และยังทำให้ดู Professional มากขึ้นอีกด้วย

สิ่งที่ควรมีในสัญญา 

ข้อมูลที่ฟรีแลนซ์สาย IT จะต้องระบุไว้ในสัญญานั้นคือรายละเอียดทั้งหมดที่ได้ทำการตกลงเจรจากันเอาไว้ รวมไปถึงรายละเอียดต่างๆของทางลูกค้า เพื่อให้สามารถติดตามตัวได้เร็วขึ้นหากมีการผิดสัญญาเกิดขึ้น

ใบสัญญาจ้างงานที่ดี ควรจะประกอบด้วยอะไรบ้าง? มาดูกันเลย

1.ชื่อสัญญา

ชื่อสัญญา ควรมีชื่อที่เห็นแล้วรู้ทันทีว่าเป็นสัญญาเกี่ยวกับอะไร และควรระบุให้เฉพาะเจาะจงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น สัญญาจ้างการออกแบบเว็บไซต์ของคุณ …. , สัญญาจ้างการพัฒนาโปรแกรมของคุณ …. เป็นต้น

2.ขอบเขตการทำงาน / รูปแบบการส่งงาน และจำนวนครั้งที่แก้งานได้ เขียนให้ชัดเจน

ควรระบุรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับเนื้องาน โดยทำสัญญาให้ชัดเจนไปเลยว่า ค่าจ้างจำนวนเท่านี้ เราจะทำงานให้ประมาณไหน และ ส่งงานให้แบบไหน รวมถึงแก้งานได้กี่ครั้ง ยกตัวอย่างเช่น พัฒนา E-Commercel Application บนมือถือ ทั้งระบบ iOS และ Android สัญญาจ้างแบบมีกำหนดระยะเวลาของโปรเจกต์  3 เดือน โดยจะมีรายงานความคืบหน้าเป็นระยะทุกสัปดาห์ 50,000 บาท/เดือน สามารถแก้ไขงานได้สูงสุดจำนวน …. ครั้ง
หากแก้ไขเพิ่มจากจำนวนที่บอกไว้ในสัญญา จะคิดครั้งละ …. บาท และการแก้ไขแต่ละครั้งจะเสร็จในเวลา …. วัน
พอทำแบบนี้แล้วลูกค้าก็ไม่สามารถสั่งแก้บ่อย ๆ ต้องคิดก่อนแก้เสมอ ซึ่งเราก็จะแก้งานโดยไม่รู้สึกเสียเวลาเราด้วย เพราะกำหนดจำนวนครั้งการแก้ไขไว้แล้ว

3.กำหนดการจ่ายเงินและค่าเสียหายหากยกเลิกงาน

ควรจะระบุในสัญญาให้แน่ชัดว่าจะจ่ายเงินแบบไหน จ่ายหมดตอนจบงานทีเดียว หรือมีการมัดจำไว้ก่อน
เช่นมัดจำ 30% เมื่องานเสร็จจะจ่ายอีก 70% ให้ที่เหลือเป็นต้น รวมไปถึงรอบการจ่ายเงิน งวดไหนกำหนดส่งเมื่อไร จ่ายเงินแต่ละงวดเมื่อใด และควรระบุสถานที่เซ็นสัญญา หากเกิดการฟ้องร้องจะได้รู้ว่าต้องแจ้งความและขึ้นศาลที่ไหน และอย่าลืมหากลูกค้าต้องการยกเลิกงานควรกำหนดค่าเสียหายให้เรียบร้อยในสัญญา เป็นอันรับทราบร่วมกัน ที่สำคัญอย่าลืมทำสัญญาไว้ 2 ฉบับ โดยไว้ที่ลูกค้า 1 ฉบับและที่ตัวคุณเอง 1 ฉบับ จะได้มั่นใจได้มากขึ้นว่าไม่ถูกโกงแน่นอน

4.แจ้งลิขสิทธิ์ของผลงาน และผู้รับผิดชอบเรื่องลิขสิทธิ์

เรื่องลิขสิทธิ์ชาวฟรีแลนซ์สาย IT ควรคำนึงอย่างมาก 

เมื่อโปรแกรมเมอร์อิสระสร้างสรรค์เทคโนโลยีหรือชิ้นงานเสร็จออกมาแล้ว ผลงานเหล่านั้นก็จะกลายเป็นทรัพย์สินทางปัญญา โดยสิ่งที่สำคัญในการรักษาทรัพย์สินทางปัญญานั่นก็คือการจดลิขสิทธิ์นั่นเอง

ซึ่งปัญหาก็คือหลายๆคนอาจสงสัยว่า โค้ดที่เราเขียนขึ้น สิทธิ์ในโค้ดจะตกเป็นของใคร 

1.ลิขสิทธิ์ในซอร์สโค้ด ในส่วนนี้ทางกฏหมายถือว่า ซอร์สโค้ด เป็น “ทรัพย์สินทางปัญญา” โดยได้รับความคุ้มครองเทียบเท่ากับงานวรรณกรรม ซึ่งผู้ที่สร้างสรรค์มันขึ้นมา (Programmer) เป็นผู้มีสิทธิ์โดยชอบตามกฏหมาย โดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน ซึ่งจะทำให้เจ้าของสิทธิ์สามารถนำงานอันมีลิขสิทธิ์ไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้เต็มที่มากขึ้น

2.แนวคิดในการทำงานของซอฟต์แวร์ ตลอดจนขั้นตอนการทำงาน และคุณสมบัติต่างๆของซอฟต์แวร์ ไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งมีความหมายว่า สามารถออกแบบขั้นตอนการทำงานต่างๆของเว็บไซต์ให้เหมือนกับคู่แข่งได้ ตราบเท่าที่เราเขียนซอร์สโค้ดนั้นขึ้นมาด้วยตัวเอง

3.ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นตามคำสั่งเฉพาะของผู้ว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์นั้น รวมถึง สามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายความลับทางการค้าด้วย แต่กฏหมายก็อนุญาติให้ทำความตกลงกันระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างในลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นั้นได้ (อธิบายเพิ่มเติมหมายถึงซอร์สโค้ด ส่วนที่เป็นความลับสำคัญทางการค้าของผู้ว่าจ้างที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ยกตัวอย่าง เช่น งานด้านธนาคาร เป็นต้น)

4.ในกรณีที่มีความตกลงจะต้องส่งมอบซอร์สโค้ด (ในโปรแกรมบางประเภท ที่ต้องมีการ Compile ก่อนที่จะนำไปใช้งาน เช่น exe การว่าจ้างเขียนโปรแกรมจะหมายถึง การส่งมอบเฉพาะตัวโปรแกรมที่ Compile แล้วเท่านั้น โดยไม่รวมซอร์สโค้ด) ให้ผู้ว่าจ้างด้วยแล้ว ควรตกลงกันให้ชัดเจนด้วยว่า การส่งมอบซอร์สโค้ด เพื่อวัตถุประสงค์ใด เช่น เพื่อวัตถุประสงค์ในความเป็นเจ้าของซอร์โค้ดนั้นจริงๆ (ซึ่งผู้รับจ้างจะไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อได้เลย) หรือเพียงเพื่อการปรับปรุง แก้ไขในอนาคต

และนี่เป็นเรื่องพื้นฐานที่ Programmer ทุกคนควรรู้  ยังไงขอให้ฟรีแลนซ์สาย​ IT ทุกคน อย่าลืมในเรื่องของการตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ว่าเจ้าของลิขสิทธิ์จะเป็นของใคร
อ่านข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดลิขสิทธิ์ได้ที่ : ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

5. ปรับเมื่อผู้ว่าจ้างบรีฟหรือฟีคแบคงานล่าช้า

ในกรณีที่เราส่งงานไปเรียบร้อยแล้ว และจะต้องได้รับ Feedback เพื่อส่งตามกำหนดสัญญา แต่ผู้ว่าจ้างไม่ยอมตอบกลับ ทำให้งานล่าช้า ควรกำหนดในสัญญาว่า ลูกค้าต้องให้ Feedback ภายใน …. วัน หากผู้ว่าจ้างส่งไม่ทันในเวลาที่กำหนด จะมีการปรับสัปดาห์ละ …. บาท
การทำแบบนี้ทำให้ลูกค้าจะช่วยเราทำงานให้เสร็จในเวลาที่กำหนด ซึ่งเป็นผลดีกับทั้งฝ่ายเราและฝ่ายลูกค้าด้วย

6.ระบุบริการหลังการขายในสัญญาให้ชัดเจน

หากไม่อยากเจอปัญหา การทำเว็บไซต์ที่เสร็จไประยะเวลา 1 ปีแล้ว แต่มีลูกค้าติดต่อมาให้แก้บั๊ก

ควรเขียนในสัญญาให้ชัดเจน เช่น ซัพพอร์ทแก้บั๊กให้ฟรีในระยะเวลากี่เดือนหลังงานเสร็จ ถ้าหลังจากนี้จะต้องมีการเสียค่าบริการเพิ่มเติมจำนวน …. บาท เป็นต้น

สัญญา NDA ที่ฟรีแลนซ์ไม่ควรลืม!

NDA (Non-disclosure Agreement) หรือ สัญญารักษาความลับ คือ สัญญาทางกฎหมายที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์จะดำเนินธุรกิจร่วมกัน โดยตกลงว่าจะไม่เปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลที่สามอันเป็นข้อมูลที่ได้รับความคุ้มครองโดยเฉพาะตามสัญญานี้ ซึ่งสัญญา NDA ออกแบบมาเพื่อปกป้องข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับกรรมสิทธิ์ที่อาจมีการแลกเปลี่ยนกันของทั้งสองฝ่ายนั่นเอง
อ่านข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดสัญญา NDA ได้ที่ : สัญญา NDA กับการจ้าง Freelance Developer สำคัญแค่ไหน

สรุป

และทั้งหมดนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องระบุไว้ให้ละเอียดใน สัญญาจ้างงานฟรีแลนซ์ ฉบับชาว IT เพื่อป้องกันการเสียผลประโยชน์ของตัวคุณเองที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ป้องกันไว้เสียแต่เนิ่นๆ จึงควรทำเอกสารสัญญาการจ้างงานขึ้นมาเป็นลายลักษณ์อักษร

หากคุณไม่อยากที่จะต้องมาจัดการกับเอกสารต่างๆเหล่านี้ คุณสามารถสมัครเป็นฟรีแลนซ์กับเรา เพื่อก้าวเข้าไปกับแพลตฟอร์มสำหรับชาว IT ที่จะช่วยดูแลเอกสารที่ยุ่งยากให้คุณทั้งหมด ช่วยให้คุณทำงานได้อย่างหมดกังวล และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมัครได้แล้ว ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

อยากลาออก แต่เจ้านายรั้งไว้ด้วย Counter Offer แบบนี้ควรรับไหม ?

Counter Offer คืออะไร ? ข้อเสนอที่บริษัทปรับให้ เช่นเงินเดือนสวัสดิการต่างๆที่เคยมีให้เพิ่มขึ้นจากเท่าเดิม มีไว้ไม่ให้พน

Jo

08 Sep 2023 | 1 นาทีอ่าน

แจ้งลาออก ต้องบอกล่วงหน้านานแค่ไหน ?

พนักงานหลายๆคนอาจกำลังสงสัยว่าทำไมการลาออกจะต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน แล้วมันต้องแจ้งล่วงหน้ากี่วันจะสามารถลาออกได้ หรือจร

Jo

04 Sep 2023 | 1 นาทีอ่าน

ทำงานยังไงให้เพิ่ม Productivity ได้ตลอดวัน! พร้อมเคล็ดลับ

ลักษณะการทำงานในปัจจุบันต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วและมีความต้องการสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีประสิทธิภาพของการทำงานเป็นกุญแจ

Jo

22 Jun 2023 | 1 นาทีอ่าน

ทำความรู้จัก user acceptance test (UAT) ทำไมการทดสอบกับผู้ใช้จึงสำคัญ

เมื่อมีการพัฒนาโปรดักต์ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ก็ตาม มีขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ป

Jo

15 May 2023 | 1 นาทีอ่าน

Update ! ส่องรายได้ Freelance สาย IT

ส่องรายได้ฟรีแลนซ์ สาย IT ❗️มาดูกันว่ารายได้ของแต่ละสายเป็นอย่างไร 🧐 งานสาย IT เป็นงานที่มีความต้องการในตลาดแรงงานค่อนข้

Jo

13 Mar 2023 | 1 นาทีอ่าน

10 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเป็นฟรีแลนซ์ (ฉบับสมบูรณ์)

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเป็นฟรีแลนซ์มีอะไรบ้าง ? ปัจจุบันอาชีพอิสระหรือที่เราเรียกกันว่า “ฟรีแลนซ์” เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับ