มนุษย์เงินเดือน รับงานนอก

มนุษย์เงินเดือน ควรทำอย่างไรเมื่อเทรนด์การทำงานเปลี่ยนไป!

admin

12 Jan 2022 | 1 นาทีอ่าน

มนุษย์เงินเดือน หลาย ๆ คนในที่นี้อาจตั้งข้อสงสัยกับตัวเองว่าเราสามารถทำงานอื่นนอกเหนือจากงานที่ทำประจำอยู่ตอนนี้ได้รึเปล่า ? ในตลอดหลายปีที่ผ่านมาเรามักจะได้ยินอยู่เสมอว่าการเคารพรักบริษัทที่เราทำงานหรือการทำงานหลายที่พร้อมกันนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ อาจจะเนื่องด้วยระยะเวลาการทำงานของแต่ละบริษัทไม่เอื้ออำนวยรวมถึงสัญญาการจ้างงานที่ระบุว่า “ห้ามรับงานนอก” หรือ “ไม่ดำเนินการในสายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง” แต่จริง ๆ แล้วแม้ว่าสัญญาจ้างจะไม่ระบุไว้ตามข้อความข้างต้นก็ตาม คุณก็เลือกที่จะทำงานเพียงที่เดียวเพียงเพราะกลัวว่าจะถูกจับได้และส่งผลกระทบย้อนหลังตามมา

การปรับตัวในหลายประเทศ

รู้หรือไม่ว่าคนอื่น ๆ มีความคิดเห็นอย่างไรกับการทำงานเพียงที่เดียวในช่วงการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ? เป็นที่น่าตกใจอย่างมากที่ประมาณ 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามในสหรัฐอเมริกากล่าวว่า “พวกเขาเคยรับงานนอกและทำงานให้กับบริษัทอื่นในขณะที่ทำงานประจำ” ซึ่งนั่นเป็นวิธีที่พนักงานประจำในแวดวงการเงิน ประกันภัย และเทคโนโลยีเริ่มทำมาตั้งแต่การทำงานระยะไกลจากที่บ้าน (Work From Home) โดยพวกเขาได้รับเงินเดือนมากขึ้นถึง 2 เท่าและตั้งชื่อให้กับเทคนิคดังกล่าวว่า “การทำงานระยะไกลในหลายที่” แต่กฎสำคัญสำหรับการเริ่มต้นนี้คือ “ห้ามบอกใคร” และ “อย่าบ้างานมากเกินไป”

แม้ว่าพนักงานประจำมากถึง 50% จะทำงานหลายที่พร้อมกันแต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการทำงานหลักมากนัก เนื่องจากพวกเขามักจะใช้เวลาไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์สำหรับการทำงานพร้อมกันหลายที่ รวมถึงเลือกที่จะมุ่งเป้าไปที่การทำงานประจำหลักมากกว่า ทั้งนี้ถือเป็นความจำเป็นอันเนื่องมาจากวิกฤติทางการเงินส่วนตัวหลังจากมีประกาศเลิกจ้างพนักงานครั้งใหญ่ในหลายบริษัท ทำให้พนักงานส่วนใหญ่เลือกที่จะมองหางานเสริมเพื่อความอยู่รอด

มนุษย์เงินเดือน กับยุคการทำงานที่เปลี่ยนไป

ไม่ใช่เพียงแค่สหรัฐอเมริกาที่เริ่มต้นการทำงานพร้อมกันหลายที่ แต่แม้กระทั่งประเทศญี่ปุ่นที่คนทั่วโลกมองว่ามีความจงรักภักดี ละเอียดรอบคอบ และซื่อสัตย์ต่อบริษัทมากที่สุด ก็เริ่มหันมาใช้วิธีการเดียวกันเช่นกัน แม้ว่าตลอดที่ผ่านมาบริษัทญี่ปุ่นมากกว่า 85% ไม่ยอมรับการทำงานเสริมอันเนื่องมาจากป้องกันความลับรั่วไหล ป้องกันไม่ให้บริษัทถูกเบียดบังเวลา หลีกเลี่ยงการลดทอนความพร้อมของร่างกายพนักงานและประสิทธิภาพการทำงาน 

ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปและนโยบายของประเทศที่นำด้วยนายกรัฐมนตีชินโซ อาเบะทำให้หลายบริษัทเริ่มเปิดโอกาสให้พนักงานประจำสามารถรับงานนอกได้อย่างอิสระ เช่น พนักงานหญิงในบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าคนหนึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานเป็นนางแบบ บริษัทให้เหตุผลว่า “(พนักงานผู้นี้) เป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่ายิ่งต่อบริษัท ทางบริษัทไม่ต้องการให้พะวงเรื่องการทำความฝันให้เป็นจริงในฐานะนางแบบขณะที่ทำงานประจำอยู่ด้วย” ทั้งนี้เป็นผลมาจากเหตุผล 4 ประการด้วยกัน ได้แก่

  1. พนักงานจะได้รับความรู้และทักษะที่หาไม่ได้ในบริษัทเดิม ถือเป็นการพัฒนาบุคลากร ลดต้นทุนการฝึกอบรมพนักงานให้แก่บริษัทเดิมได้ด้วย
  2. ช่วยส่งเสริมความเป็นตัวของตัวเองและความมั่นใจให้แก่พนักงาน
  3. จะมีพนักงานเก่ง ๆ เข้ามาช่วยงาน ทำให้ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น
  4. พนักงานจะนำความรู้และสายสัมพันธ์ที่ได้จากที่อื่นมาใช้ประโยชน์ในต้นสังกัด ช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

แต่ทั้งนี้ จำเป็นต้องบริหารจัดการเรื่องเวลาและการรั่วไหลของข้อมูลทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

ทำงานประจำอยากรับงานฟรีแลนซ์ ผิดไหม?

หลายคนอาจจะยังกังวลอยู่ว่าการทำงานหลากหลายที่ในต่างประเทศนั้นดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมายและทำมากันอย่างยาวนาน แต่ในประเทศไทยนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้หรือไม่?

การทำงานประจำพร้อมกันหลายแห่งนั้นสามารถกระทำได้หากไม่ผิดกฎของบริษัทแต่อย่างใด โดยหากอิงจากการส่งประกันสังคมตามประมวลกฎหมายพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 47 ได้บัญญัติไว้ว่า “ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้างให้นายจ้างหักค่าจ้างของผู้ประกันตนตามจำนวน ที่ต้องนำส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนและส่วนของนายจ้าง ส่งให้แก่สำนักงานประกันสังคม ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่หักเงินสมทบไว้ ดังนั้น กรณีที่ลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการมากกว่า 1 แห่ง สถานประกอบการทุกแห่งมีหน้าที่หักเงินสมทบและนำส่งกองทุนประกันสังคม” 

ทั้งนี้ตลอดหลายที่ปีที่ผ่านมาท่ามกลางการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ทำให้หลายบริษัทเริ่มทำความเข้าใจพนักงานและบุคคลอื่นมากยิ่งขึ้น โดยได้เริ่มหันมาสนใจที่จะจ้างงานพนักงานประจำที่มีความสามารถและพร้อมทำงานหลายที่ในรูปแบบการทำงานระยะไกล (Remote Work) อีกทั้งบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ก็พร้อมเข้ามาศึกษาโซลูชันดังกล่าวอย่างจริงจัง ซึ่งส่งผลให้ปัจจุบันเริ่มมีการอำนวยความสะดวกต่อพนักงานที่ต้องการทำงานหลายที่มากยิ่งขึ้นและทำให้พนักงานและบริษัทเริ่มที่จะเปิดใจพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่ต้องหลบซ่อน รวมถึงเปิดโอกาสให้พนักงานของตนเองได้พัฒนาความสามารถอย่างเต็มที่เพื่อนำไปพัฒนาบริษัทของตนเอง หรือเรียกได้ว่าเป็นการได้ประโยชน์ร่วมกันแบบ “win-win”

อย่างไรก็ตามสรุปได้ว่าในประเทศไทยการทำงานหลายที่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดแปลกและสามารถที่จะทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด ทั้งนี้ให้พิจารณาจากสัญญาการจ้างงานเป็นหลักว่าผิดกฎบริษัทหรือไม่ และหากคำตอบคือ “ไม่” คุณก็พร้อมแล้วที่จะเพิ่มเงินเดือนให้กับตัวเองมากขึ้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

บทความที่เกี่ยวข้อง

อัปเดต 11 เทรนด์การออกแบบ UX UI ให้โดดเด่น ในปี 2023

ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์มีส่วนสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างมาก จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยี เว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ขึ้นมากมาย

Jo

09 May 2023 | 2 นาทีอ่าน

30 อาชีพเสริม ปี 2566 ที่เหมาะสำหรับมนุษย์เงินเดือนโดยเฉพาะ !

อยากหารายได้เสริม อยากมีรายได้เพิ่มขึ้น “แต่ไม่รู้ว่าตัวเองควรทำอะไร” เป็นปัญหาของใครหลายคนที่ต้องการมองหางานเสริมทำนอกเ

Jo

10 Feb 2023 | 4 นาทีอ่าน

Gig Economy ทิศทางใหม่ของตลาดแรงงานที่บริษัทควรทำความเข้าใจ

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Gig Economy มาหลากหลายช่องทางตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังโควิด-19 ที่ตลา

admin

09 Jun 2022 | 1 นาทีอ่าน